ปัจจุบัน การก่อสร้างอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นบนไซต์งานอีกต่อไป แต่พัฒนามาสู่การผลิตระบบอุตสาหกรรม หรือ Precast Concrete System ที่ส่วนประกอบของอาคารถูกขึ้นรูปมาจากโรงงาน สามารถควบคุมคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ลดความผิดพลาดจากการใช้แรงงานคน และเมื่อชิ้นงานสำเร็จรูปส่วนใหญ่ถูกผลิตมาจากโรงงานแล้ว การจัดการหน้างานจึงเหลือเพียงไม่กี่ขั้นตอน ควบคุมเวลาดำเนินการและงบประมาณได้ จึงนับว่าเป็นนวัตกรรมที่มาพลิกโฉมวงการก่อสร้าง ทั้งยังเป็นมิตรกับเจ้าของโครงการรายย่อยให้เข้าถึงเทคโนโลยีคุณภาพสูงมาตรฐานสากล

และหากสถาปนิกต้องการออกแบบอาคารเพื่อก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีนี้ จะต้องทราบอะไรบ้าง บทความนี้กำลังจะพาคุณไปรู้จัก

งานสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับการก่อสร้างด้วย Precast Concrete System

เพราะเทคโนโลยี Precast Concrete System ต่างจากการก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป (Conventional) จึงไม่ได้เหมาะสมกับการออกแบบอาคารทุกประเภท รูปแบบอาคารที่เหมาะแก่การก่อสร้างด้วยนวัตกรรมนี้ ได้แก่

  • งานก่อสร้างโครงการบ้านพักอาศัย (Housing)  ด้วยรูปแบบอาคารที่ใกล้เคียงกันเป็นจำนวนมากในแต่ละโครงการ จึงเหมาะกับการก่อสร้างด้วย Precast Concrete System มากที่สุด เพราะโครงสร้างคล้ายกัน ทำให้ต้นทุนต่ำ
  • งานอาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น (Low-rise Building) อาทิ คอนโดมีเนียม อพาร์ทเมนต์
  • งานก่อสร้างผนังอาคารภายนอก (Façade)

ตัวอย่างโครงการบ้านพักอาศัยที่มีหน้าตาใกล้เคียงกัน ซึ่งสร้างด้วย  Precast Concrete System

โครงการ S GATE กรุงเทพ – ปทุมธานี

ตัวอย่างอาคาร Low-rise Building ที่สร้างด้วย  Precast Concrete System

โครงการ อยู่ดี กินดี อพาร์ตเมนต์ จังหวัดสมุทรปราการ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อออกแบบอาคารเพื่อก่อสร้างด้วย Precast Concrete System

ถึงแม้เทคโนโลยี Precast Concrete System จะมีข้อดีหลายอย่างที่ทำให้การก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัดที่สถาปนิกควรทำความเข้าใจก่อนออกแบบอาคารเพื่อก่อสร้างโดยใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่

1.Floor Plan หรือ Layout หากสถาปนิกออกแบบให้แนวผนังของแต่ละชั้นในอาคารตรงกัน จะช่วยลดต้นทุนในการออกแบบโครงสร้างเป็นอย่างมาก โดยอย่างน้อย Floor plan ของอาคารในแต่ละชั้นควรมีความตรงกันอย่างน้อย 80% ขึ้นไป เพื่อให้สามารถถ่ายแรงของแต่ละชั้นลงที่ผนังอันเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างในการรับแรงได้โดยตรง เนื่องจากอาคารที่ก่อสร้างด้วยกรรมวิธีนี้จะไม่มีเสา

Floor Plan หรือแนวผนังแต่ละชั้น ควรตรงกันอย่างน้อย 80%

2.การลดระดับของพื้นอาคาร เช่น ระเบียง ห้องน้ำ ปกติสามารถลดได้ 1-2 ระดับ แต่เพื่อให้การผลิตด้วยเทคโนโลยี Precast Concrete System ทำได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงไป การผลิตจะถูกกำหนดให้ลดระดับได้เพียง 1 ระดับ และลดไม่เกิน 5 เซนติเมต

3.ความสูงระหว่างชั้น (Floor to floor) ไม่เกิน 3 เมตร เพื่อการขนส่งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปโดยบรรจุใน Rack และขนส่งด้วยรถบรรทุกอย่างปลอดภัย ไม่ไปติดหรือเกี่ยวสิ่งกีดขวางระหว่างการขนส่ง เช่น สายไฟ

ข้อจำกัดในการขนส่ง ทำให้ความสูงระหว่างชั้น สูงได้มากที่สุดที่ 3 เมตร เท่านั้น

4.ช่องเปิดที่ผนังโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป ไม่สามารถออกแบบเป็นช่องเปิดแนวกว้างได้ สถาปนิกจำเป็นต้องออกแบบให้มีขาแคบขนาดราว 20 – 30 เซนติเมตร ระหว่างช่องเปิดแต่ละช่อง เพื่อให้ผนังสามารถถ่ายแรงจากพื้นชั้นบนลงมายังพื้นชั้นล่างได้

ช่องเปิดสำหรับการก่อสร้างด้วย  Precast Concrete System ต้องมีขาแคบขนาดราว 20 – 30 เซนติเมตร

ระหว่างช่องเปิดแต่ละช่อง เพื่อให้ผนังสามารถถ่ายแรงจากพื้นชั้นบนลงมายังพื้นชั้นล่างได้

5.พื้นยื่น สถาปนิกสามารถออกแบบโครงสร้างพื้นยื่นบนอาคารได้ แต่จำกัดที่ไม่เกิน 1.5 เมตร หากมีระยะเกินกว่านั้น จะจำเป็นต้องมีโครงสร้างมารองรับเพิ่ม

6.ขนาดของแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป จริงอยู่ว่าการออกแบบสถาปัตยกรรมอาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขนาดสูงสุดที่สามารถผลิตแผ่นคอนกรีตได้ เพราะวิศวกรจะต้องคำนวณจำนวนและขนาดของแผ่นคอนกรีตให้เหมาะสมต่อการติดตั้งทีหลัง แต่หากสถาปนิกมีวัตถุประสงค์อื่นในการออกแบบ จึงควรทราบข้อมูลขนาดสูงสุด ดังนี้

โดยขนาดสูงสุด เกิดจากข้อจำกัดเรื่องขนาด Pallet ที่ใช้หล่อคอนกรีต ขนาด Rack ที่ใช้เพื่อจัดเก็บแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป และข้อจำกัดด้านความสูงของชิ้นงานเมื่อขนส่งด้วยรถบรรทุก

จุดเด่นของเทคโนโลยี Precast Concrete System ในงานสถาปัตย์

1.แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปให้ผิวสัมผัสเรียบเนียนในระดับที่การก่อฉาบหน้างานไม่สามารถทำได้ จึงง่ายต่อการตกแต่งผิว ไม่ว่าสถาปนิกต้องการออกแบบพื้นผิวผนังอาคารอย่างไร ก็สามารถเริ่มทำจากพื้นผิวของคอนกรีตสำเร็จรูปเลย ไม่ต้องเสียเวลาปิดผิว หรือเก็บรายละเอียด

แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปถูกผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรม จึงมีผิวสัมผัสเรียบ

2.เจ้าของโครงการลงทุนกับการออกแบบสถาปัตย์ได้มากขึ้น เพราะเทคโนโลยีนี้ช่วยลดต้นทุนแรงงานในการก่อสร้าง หรือจัดการโครงสร้างวิศวกรรม จึงมีงบประมาณเหลือให้กับความสวยงามมากขึ้น 

3.ออกแบบอาคารโดยไม่ต้องมีเสามาเป็นข้อจำกัด ทำให้พื้นที่ใช้สอยภายในก็กว้างขวางขึ้น และสถาปนิกมีอิสระในการออกแบบมากขึ้น

การก่อสร้างโดยเทคโนโลยี Precast Concrete System ทำให้ไม่ต้องใช้เสา จึงมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

4.ออกแบบอาคารได้ยืดหยุ่นและหลากหลาย สามารถใส่รายละเอียดทางสถาปัตยกรรมที่ละเอียดอ่อน ไม่ได้จำกัดเพียงงานสถาปัตยกรรมที่เป็น Modular หรือแบบกล่อง

ตัวอย่างบ้านในโครงการ Victoria ที่สามารถออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมลงไปในงาน Precast

ตัวอย่างอาคารในโครงการ Toscana Valley ที่สามารถออกแบบรายละเอียดทางสถาปัตยกรรม

ลงไปในงาน Precast

นอกจากคุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี Precast Concrete System ที่ช่วยให้สถาปนิกนำเสนอและปิดงานออกแบบได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังมีข้อดีอีกหลายประการที่ทำให้นวัตกรรมนี้คืออีกหนึ่งตัวเลือกแห่งอนาคต สำหรับผู้ที่สนใจประหยัดต้นทุน และได้งานก่อสร้างในมาตรฐานสากล อาทิ

  • เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะกระบวนการผลิตส่วนมากดำเนินการในโรงงาน ทำให้เหลือการจัดการหน้างานน้อย ลดขยะและมลภาวะจากการก่อสร้างหน้าไซต์งานได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบอิฐฉาบปูนทั่วไป

ารก่อสร้างหน้างานเหลือเพียงการติดตั้งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ทำให้ไซต์งานสะอาดกว่าการก่ออิฐฉาบปูนถึง 50%

  • ขั้นตอนการก่อสร้างส่วนมากถูกควบคุมด้วยระบบโรงงาน เหลือเพียงการใช้แรงงานในการติดตั้งหน้างานไม่กี่ขั้นตอน เมื่อใช้แรงงานจำนวนน้อยลง ความผิดพลาดจากกำลังคนก็น้อยลง จึงใช้เวลาก่อสร้างน้อยลง ทำให้ส่งมอบงานได้เร็วขึ้น ต้นทุนก็ลดลงไปด้วย

ใช้แรงงานคนในการติดตั้งหน้างานไม่กี่ขั้นตอน ความผิดพลาดจากกำลังคนก็น้อยลง

จึงใช้เวลาก่อสร้างน้อยลง ทำให้ส่งมอบงานได้เร็วขึ้น

 

  • การติดตั้งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปหน้างาน ใช้วัสดุพิเศษในการประสาน มีความแน่นหนา ป้องกันน้ำรั่วซึมได้มากกว่าการก่ออิฐฉาบปูน
  • ผู้บริโภคมั่นใจในเทคโนโลยี Precast Concrete System ที่ได้มาตรฐานประเทศเยอรมนี พร้อมด้วยตัวแทนที่น่าเชื่อถืออย่าง CPAC จึงช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้โครงการก่อสร้าง

สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีการผลิตจากเยอรมนี

จะเห็นว่า เทคโนโลยี Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution คืออีกหนึ่งนวัตกรรมที่ทำให้งานของสถาปนิกราบรื่น และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น และหากคุณกำลังออกแบบอาคาร และสนใจนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้กับแบบอาคารของคุณ ที่ CPAC เรามีทีมงานที่ปรึกษามืออาชีพ เพื่อให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การออกแบบ ปรับแบบให้สอดคล้องกับการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป จัดทำแบบโครงสร้าง การประกอบและติดตั้งชิ้นงาน การแก้ปัญหาในการก่อสร้าง ช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่คุณต้องการ

ทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก CPAC พร้อมให้ความช่วยเหลือให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่ต้องการ

สนใจสอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ คลิก! m.me/cpacthailand หรือติดต่อ CPAC Contact Center โทร. 02-555-5555

สนใจดาวน์โหลดโมเดล 3D จากทาง CPAC ฟรี ! ได้ที่ https://www.bimobject.com/th/cpac