ดาดฟ้าคืออีกหนึ่งพื้นที่อเนกประสงค์ประจำบ้านของใครหลายคน ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ หรือ ตึกแถว ที่นอกจากจะเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์แล้ว พื้นที่ดาดฟ้ายังมอบความโปร่งโล่งสบายและบรรยากาศที่ดีจากมุมสูงให้แก่ผู้ใช้งาน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักแนวทางจัดการพื้นที่บนดาดฟ้าให้โดนใจ และอยู่นาน ทนทานคู่บ้านพักอาศัยของคุณ

หลากไอเดียจัดพื้นที่บนดาดฟ้าสำหรับเมืองร้อนเช่นบ้านเรา

เนรมิตดาดฟ้าของคุณให้เป็นมุมโปรด ด้วยหลากไอเดียการปรับปรุงพื้นที่ดาดฟ้าที่เรารวบรวมมาให้

  • สวนผักลอยฟ้า ผักหลายชนิดเป็นไม้ล้มลุก ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากในการเพาะปลูก เพียงแค่กั้นดิน หรือวางกระถาง ก็เนรมิตดาดฟ้าเป็นแหล่งอาหารออร์แกนิกใกล้ตัวได้แล้ว

สวนผักลอยฟ้า (รูปประกอบ : Giovanni Nardi)
  • สวนลอยแนวตั้ง (Vertical Garden) อุปกรณ์อย่าง กระถางแขวน ผนังผ้า แผ่นผนังเขียว บล็อกปลูกต้นไม้ แผ่นผนังเขียว สำหรับไม้ล้มลุก พืชคลุมดิน และเสาระแนงสำหรับไม้เลื้อย จัดวางอย่างสร้างสรรค์บนดาดฟ้า ก็เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้อาคารของคุณได้อย่างประหยัดพื้นที่

สวนลอยแนวตั้ง Vertical Garden  (รูปประกอบ : PatioScapes)
  • ดาดฟ้าหญ้าเทียม จำลองสนามหญ้าหน้าบ้านมาไว้เบื้องบน อาจเพิ่มลูกเล่นด้วยสวนหิน แผ่นทางเดิน และรูปปั้นประดับ
  • พื้นที่ออกกำลังกาย อุปกรณ์ออกกำลังกายบางอย่างอาจไม่เหมาะกับวางไว้กลางบ้าน ดาดฟ้าจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสร้างมุมออกกำลังกายของคุณที่ได้อยู่นอกอาคาร
  • ดาดฟ้าสารพัดประโยชน์ แบ่งพื้นที่ดาดฟ้าของคุณด้วยฉากกั้นเป็นสัดส่วน และจัดวางเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานที่คุณต้องการ ให้คุณได้ทำกิจกรรมนอกบ้านโดยไม่ต้องก้าวออกจากบ้าน

แบ่งพื้นที่ดาดฟ้าของคุณด้วยฉากกั้นเป็นสัดส่วน (รูปประกอบ : Nguyen Thai Thach)

 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ปัญหาที่พบบ่อย และแนวทางป้องกันแก้ไข

เมื่อปรับปรุงพื้นที่ดาดฟ้า

พื้นที่ว่างบนดาดฟ้าไม่เหมือนพื้นที่บนพื้นดิน หรือพื้นที่ในอาคาร เพราะลักษณะทางกายภาพที่ทั้งอยู่สูง และตากแดดตากฝน ซึ่งตามมาด้วยสารพัดปัญหา ทั้งน้ำขัง น้ำรั่วซึม หรือความร้อนสะสม ทำให้มีหลายสิ่งที่ต้องคำนึง หากจะปรับปรุงพื้นที่ดาดฟ้าให้ใช้งานได้หลากหลาย อาทิ

1. ความแข็งแรง

การใช้พื้นที่ดาดฟ้าให้เกิดประโยชน์นั้นตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบนอาคาร อาคารจึงต้องมีความแข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักเพิ่มเติมได้

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • ตรวจสอบว่าอาคารสามารถรับน้ำหนักได้เท่าไร และวัตถุประสงค์ในการใช้งานพื้นที่ดาดฟ้านั้นควรมีน้ำหนักเท่าไร เช่น โครงสร้างดาดฟ้าเพื่อทำสวนจะต้องรับน้ำหนักได้ 1-2 ตัน /ตรม. สำหรับรองรับน้ำหนักของต้นไม้ ดิน ของตกแต่งสวน และน้ำที่ใช้รดต้นไม้
  • สำหรับอาคารใหม่ สามารถปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้านเพื่อออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสมกับการใช้งานพื้นที่ดาดฟ้าได้เลย
  • สำหรับอาคารเก่า ควรปรึกษาวิศวกรในการตัดสินใจใช้โครงสร้างเดิม หรือเพิ่มโครงสร้าง หากการใช้งานดาดฟ้านั้นมีความซับซ้อน หรือมีน้ำหนักมาก

สำหรับอาคารใหม่ สามารถปรึกษาบริษัทรับสร้างบ้านเพื่ออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสม

กับการใช้งานพื้นที่ดาดฟ้าได้เลย

2. รอยร้าวของอาคาร

อาคารที่ผ่านการใช้งานมาซักระยะจะเริ่มมีปัญหารอยแตกร้าวบริเวณพื้นดาดฟ้าและรอยต่อระหว่างพื้นและผนัง รวมถึงปูนเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ซึ่งจะทำให้น้ำรั่วซึมเข้าสู่อาคาร สร้างความเสียหายแก่ฝ้าเพดาน สิ่งของภายในอาคาร เกิดเชื้อราภายใน และกระทบต่อโครงสร้างอาคารได้

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • ซ่อมแซมรอยร้าวให้เรียบร้อยก่อนปรับปรุงพื้นที่ดาดฟ้า
  • ทาวัสดุกันรั่วซึมเพื่อเพิ่มลดการสะสมความชื้นในผิวคอนกรีต การเลือกใช้วัสดุกันซึมที่มีความยืดหยุ่นสูงจะป้องกันการรั่วซึมจากรอยแตกร้าวในอนาคต ลดปัญหาที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร
  • ใช้วัสดุกันรั่วซึมที่ทนต่อน้ำขังแบบสะสมได้นาน
  • วัสดุกันรั่วซึมต้องมีแรงยึดเกาะสูง ป้องกันการหลุดร่อนจากอุณหภูมิและความชื้น

ปัญหารอยแตกร้าวบนดาดฟ้า และน้ำขังทำให้น้ำซึมเข้าอาคาร

3. การกระจายน้ำหนัก 

ดาดฟ้าต้องแบกรับน้ำหนักทั้งน้ำหนักคงที่ (Dead load) เช่นผนัง กำแพง ส่วนหลังคาเสริม วัสดุปูพื้น และน้ำหนักบรรทุกจร (Live load) เช่น เครื่องออกกำลังกาย ม้านั่ง กระถางต้นไม้ หากส่วนใดส่วนหนึ่งรับน้ำหนักมากเกินไปก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • จัดวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้ตรงกับแนวเสาและคาน สิ่งของที่มีน้ำหนักปานกลางควรวางใกล้กับแนวคาน เพื่อให้เสาและคานช่วยรับน้ำหนัก และป้องกันเพดานถล่ม
  • เลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีน้ำหนักน้อย

4. การระบายน้ำ

พื้นที่ดาดฟ้าต้องรองรับปริมาณน้ำทั้งน้ำฝน และน้ำจากการใช้งาน เช่น รดน้ำต้นไม้ การซักล้าง การระบายน้ำที่ไม่ดีจะนำไปสู่ปัญหาน้ำขัง รั่วซึม และส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • การติดตั้งรูระบายน้ำทั้งด้านในและด้านขอบของพื้นดาดฟ้า อย่างน้อย 2 จุด
  • การติดตั้งรางน้ำฝน และท่อส่งน้ำเพื่อระบายน้ำลงท่อน้ำทิ้ง
  • ทำพื้นดาดฟ้าให้ลาดเอียงไปในทิศทางของรูระบายน้ำ
  • เลือกใช้ตะแกรงปิดรูระบายน้ำเพื่อป้องกันสิ่งอุดตัน
  • ใช้วัสดุกันรั่วซึมที่ทนต่อน้ำขังแบบสะสมได้นาน

เลือกใช้วัสดุกันรั่วซึมที่ทนต่อน้ำขังแบบสะสมได้นาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึม

5. ระบบไฟฟ้า 

เพื่อให้สามารถใช้งานดาดฟ้าได้ตลอดเวลา การติดตั้งระบบไฟฟ้าบนดาดฟ้าจึงจำเป็น

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • เนื่องจากดาดฟ้าถือเป็นพื้นที่นอกอาคาร จึงควรเลือกสวิตช์และปลั๊กไฟสำหรับใช้ภายนอกที่มีฝาครอบป้องกันน้ำ
  • ติดตั้งเบรกเกอร์เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร 
  • สายไฟติดตั้งในพื้นที่ที่อยู่เหนือระดับน้ำไหลผ่าน โดยร้อยใส่ท่อเพื่อป้องกันความร้อน ความชื้น และสัตว์

6.สภาพภูมิอากาศ 

สำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น ปริมาณฝนมาก ลมแรง อย่างประเทศไทย พื้นที่ดาดฟ้าถือเป็นพื้นที่หน้าด่านที่ต้องรับความท้าทายจากสภาพอากาศโดยตรง

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • ลมแรงบนที่สูง ควรหลีกเลี่ยงการเลือกวางสิ่งของที่เสี่ยงต่อการล้มหากโดนลมพัด สิ่งของที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป สิ่งของที่ไม่เหมาะสมกับการติดตั้งภายนอกอาคาร
  • ความร้อนจากแดด เลือกใช้วัสดุปกปิดผิวที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดี และใช้วัสดุปูพื้นทับพื้นซีเมนต์เพื่อลดความร้อนที่สัมผัสพื้นดาดฟ้า และยังช่วยลดความร้อนสะสมในตัวอาคารได้อีกด้วย
  • น้ำฝน จากที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุกันรั่วซึม และระบบระบายน้ำ
  • ความชื้น ปกป้องดาดฟ้าจากความชื้นด้วยวัสดุกันซึมที่ดี เพื่อป้องกันความชื้นซึมเข้าไปในผนังคอนกรีต จนทำให้ผนังหลุดร่อน หรือซึมเข้าตัวอาคารจนสร้างความเสียหายให้ฝ้าเพดาน

พื้นที่ดาดฟ้า นับแสงแดดโดยตรง จึงควรใช้วัสดุที่สะท้อนความร้อนช่วยลดการสะสมของอุณหภูมิในอาคาร

7. ต้นไม้บนดาดฟ้า

สวนลอยฟ้าอาจเป็นพื้นที่สีเขียวกลางบ้านที่คุณโปรดปราน แต่ขณะเดียวกัน การเลือกต้นไม้ผิดก็ทำชีวิตเปลี่ยนได้

แนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหา

  • เลี่ยงการปลูกต้นไม้ที่ไม่ทนแดด เพราะดาดฟ้าเป็นพื้นที่ที่ตากแดดตลอดวัน
  • เลี่ยงการปลูกต้นไม้ใหญ่ที่รากไม้อาจสร้างปัญหาต่อโครงสร้างอาคาร

รู้จักตัวช่วยเพื่อสร้างดาดฟ้าปลอดปัญหาน้ำซึม

การปรับปรุงพื้นที่ดาดฟ้าอาจมีหลายสิ่งที่ต้องคำนึงดังตัวอย่างข้างต้น แต่ปัญหาหลักอย่างน้ำรั่วซึมจะหมดไป ด้วย นิปปอนเพนต์ รูฟซีล (Nippon Paint Roofseal) อะคริลิกกันรั่วซึมตัวท็อปที่ดีที่สุดจากนิปปอนเพนต์ สามารถเป็นตัวช่วยให้กับดาดฟ้าของคุณได้อย่างแน่นอน

  • ป้องกันน้ารั่วซึม 100% ยาวนานกว่า 5 ปี*
  • ทนการขังน้ำได้นานถึง 60 วัน โดยที่ฟิล์มสีไม่ลอกล่อน บวมพอง 
  • ความยืดหยุ่นสูงกว่าวัสดุกันซึมทั่วไปถึง 6.7 เท่า ช่วยปกปิดรอยแตกร้าวสูงถึง 2 มิลลิเมตร และป้องกันการรั่วซึมในอนาคต
  • แรงยึดเกาะสูงกว่ามาตรฐานอุตสาหกรรมถึง 180% จึงทาได้หลากหลายพื้นผิว
  • สะท้อนความร้อนจากแสงแดดถึง 93% ลดความร้อนสะสมบนพื้นผิวดาดฟ้าและตัวอาคารได้ จึงช่วยคุณประหยัดไฟฟ้าจากการใช้พลังงานที่น้อยลง
  • มีหลากสี ทั้ง สีเทาเข้ม สีขาว สีเขียว สีเทาอ่อน ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม
  • เนื้ออะคริลิกเข้มข้นสูง กันน้ำได้สนิท ด้วยการทาอะคริลิกกันรั่วซึมเพียง 2 ครั้ง
  • เนื้อเนียน ทาด้วยลูกกลิ้งได้ง่าย ให้คุณสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพได้โดยประหยัดค่าใช้จ่ายและแรงงาน
  • กลิ่นวัสดุกันซึมไม่ฉุน ความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

การวางแผนและเตรียมพื้นที่ดาดฟ้าอย่างเหมาะสม รวมถึงเลือกใช้ตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจากหลากปัจจัยข้างต้นไปได้มาก ทำให้คุณมีความสุขกับมุมโปรดบนดาดฟ้าได้ยาวนาน สามารถทำความรู้จักกับตัวช่วยดี ๆ สำหรับดาดฟ้าได้ที่ https://bit.ly/3Oy8E72

 

และสร้างสรรค์ดาดฟ้าของคุณ ด้วย 3D Model จาก BIM Object เลือกดาวน์โหลดเลยที่ https://www.bimobject.com/th