ในปีนี้เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่ส่งผลให้หลายภาคส่วนต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่ออยู่รอด ทั้งจากวิกฤติโรคระบาด ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ไม่อาจปล่อยให้คู่แข่งแซงหน้า “วัสดุก่อสร้าง” ก็เช่นกัน

ในส่วนของอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั้น ก็ได้มีนวัตกรรมใหม่ๆที่ต่อยอดจากของเดิม หรือพัฒนามาเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก จนเกิดเป็นเทรนด์แห่งอนาคต ที่จะช่วยอำนวยความสะดวก หรือลดภาระให้กับทั้งคนในสายงานก่อสร้าง ผู้ใช้งาน หรือโลกใบนี้

มาดูกันว่า 7 เทรนด์ “วัสดุก่อสร้าง” ที่จะกลายเป็นเทรนด์ในวงการก่อสร้างนั้นสำหรับปี 2022 นั้นมีอะไรบ้าง

การก่อสร้างที่เป็นมิตรกับโลก สิ่งแวดล้อม และมนุษย์

ผ่านมาอีกปี กระแสของน้องเกรตา ทุนเบิร์ก กับประเด็น Climate change ไม่ได้แผ่วลงเลย ล่าสุดจากการประชุม COP26 หรือการประชุมสมัชชาประเทศครั้งที่ 26 ก็ยังมีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน ให้แต่ละประเทศพัทธมิตรลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2030 อันเนื่องมาจากปัญหาโลกร้อน จากการปล่อยมลพิษของเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊ส จากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นแล้ว เรื่องสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนึ่งในเทรนด์ที่สำคัญในแวดวงก่อสร้าง มีโครงการหรือนวัตกรรมหลายอย่างก็ถูกสร้างสรรค์พัฒนามาเพื่อกู้โลก และ Go Green อาทิ

การรีโนเวทอาคารเก่า เพื่อสร้างพื้นที่ใช้งานใหม่ เช่น “Not Just Library” ห้องสมุดที่ถูกรีโนเวทมาจากโรงอาบน้ำเก่า ในกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ที่ยังคงโครงสร้างเฉกเช่นโรงอาบน้ำ และการใช้งานเปลี่ยนไป หรือ ​​“LocHal Public Library” ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเดิมเคยเป็นโรงเก็บหัวรถจักรก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ได้พื้นที่สาธารณะที่เกิดประโยชน์ พร้อมกับสร้างจุดขายเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ โดยไม่ต้องปลดปล่อยคาร์บอนมากเท่าการทุบทิ้งและก่อสร้างอาคารขึ้นมาใหม่

“Not Just Library” ห้องสมุดที่ถูกรีโนเวทมาจากโรงอาบน้ำเก่า ในกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน
(ขอบคุณภาพจาก Not Just Library)

ใช้วัสดุก่อสร้างสายกรีน เช่น คอนกรีตรักษ์โลกซีแพค มีส่วนผสมของเถ้าลอยถ่านหินทดแทนการใช้ปูนซีเมนต์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) ลงได้อย่างน้อย 17 kg/m3 เมื่อเทียบกับคอนกรีตมาตรฐานซีแพคที่กำลังอัดเทียบเท่ากัน ซึ่งวัสดุนี้ได้รับตรา SCG Green Choice ฉลากที่รับรองคุณสมบัติความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น เป็นมิตรมากขึ้น ลดการใช้คาร์บอนมากขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น แถมยังลดโลกร้อน ดูสินค้าที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice ที่นี่

SCG Green Choice ฉลากที่รับรองคุณสมบัติความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดี

การก่อสร้างคือการคืนชีพ

ในกระบวนการก่อสร้างปกติ มักเกิดขยะเหลือทิ้งจำนวนมาก ทั้งเศษหินปูนส่วนเกินจากการก่อสร้าง ไปจนถึง วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ของวุสดุต่างๆ เช่น ถังสี ถุงปูน หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ เศษขยะเหล่านี้ก็คงไปจบลงที่หลุมฝังกลบปะปนกับขยะในครัวเรือน และใช้เวลาย่อยสลายเป็นร้อยปี

แต่ในยุคที่การรักษ์โลกไม่ควรเป็นแค่เทรนด์ จะเห็นว่าผู้ผลิตหลายรายพยายามแสดงความรับผิดชอบ ปรับเอาเศษขยะจากกระบวนการก่อสร้างมาคืนชีพใหม่ เป็นสินค้าที่ใช้ประโยชน์ได้จริง (Upcycle)

กระเป๋า ‘คิดจากถุง’ สินค้าแนวแฟชั่นจาก SCG ที่ต่อยอดจากความพยายามจัดการบรรจุภัณฑ์เหลือทิ้งไม่ให้เป็นเพียงขยะรอการทำลาย นำมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าแฟชัน-ไลฟ์สไตล์รักษ์โลก ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เป็นแนวทางการทำงานของเอสซีจีเพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

กระเป๋า ‘คิดจากถุง’ สินค้าแนวแฟชั่นรักษ์โลกจาก SCG

K-Briq เป็นอิฐบล๊อคที่มีส่วนประกอบ 90% จากการรีไซเคิลขยะจากงานก่อสร้าง ใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมงในการผลิต ปลดปล่อยคาร์บอนเพียง 1 ใน 10 ของอิฐบล๊อคธรรมดา โดยมีรูปร่าง น้ำหนัก และการใช้งานที่เหมือนกัน

K-Briq
(ขอบคุณภาพจาก designmuseum.org)

เศษขยะพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เป็นดังลูกเมียน้อยเพราะย่อยสลายก็ยากมากรีไซเคิลก็ไม่คุ้ม จึงมีคนหัวใสนำวัสดุก่อสร้างเหล่านี้มาอัดแน่นรวมกันในขวดพลาสติก เป็น Eco Bricks วัสดุทดแทนอิฐที่ Upcycle จากขยะล้วนๆ คุณสมบัติแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาสร้างอาคารให้อยู่ทนนานหรือผลิตเฟอร์นิเจอร์ใช้งาน ลดทำขยะทั้งต้นทุนการก่อสร้าง

โครงการสร้างน้องเรียนจาก Eco Bricks โดยมูลนิธิ Hug It Forward เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศกัวเตมาลา
(ขอบคุณภาพจาก Hug It Forward)

การก่อสร้างที่ลดการสร้างขยะ

‘เผื่อเหลือดีกว่าเผื่อขาด’ เป็นสำนวนยอดฮิตติดปาก เพราะไม่ว่าการดำเนินการอะไรก็ต้องสะดุดเมื่อของไม่พอ ทำให้การวางแผนต้องบวกเพิ่มปริมาณวัตถุดิบนู่นนี่เพื่อลดปัญหากลายเป็นเรื่องธรรมดา หากใช้วัตถุดิบที่สั่งเผื่อมาพอดี ก็เรียกว่ารอบคอบ แต่หากสั่งมาเหลือใช้คงน่าเสียดายที่ต้องปล่อยให้วัตถุดิบเหล่านั้นกลายเป็นขยะ หากโชคดีนำไปหมุนเวียนใช้กับโครงการอื่นได้ ก็เสียเพียงค่าขนส่ง ค่าพื้นที่เก็บสินค้า และค่าเสื่อม

ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้แผนการก่อสร้างถูกคำนวณด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และประมาณการจำนวนวัตถุดิบในแต่ละขั้นตอน ช่วยให้การสั่งสินค้าเผื่อเหลือ เป็นสิ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป

Building Information Modeling หรือ BIM คือเทคโนโลยีใหม่ที่ผสานการใช้งานของสถาปนิก วิศวกร และเจ้าของโครงการเข้าด้วยกัน สถาปนิกสามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้โดยคำนึงถึงความสวยงาม พร้อมกันกับที่วิศวกรสามารถวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนการก่อสร้าง ประเมินความเป็นไปได้ของงานโครงสร้างและงานระบบ ไปจนถึงสร้างแบบจำลองเสมือนได้อย่างแม่นยำ หากแบบก่อสร้างมีการแก้ไข โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะประมวลผลข้อมูลและอัปเดตรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เจ้าของโครงการจึงสามารถคำนวณจำนวนวัสดุ ประมาณราคา คุมงบประมาณและระยะเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนและเวลาจากความผิดพลาดด้วยฝีมือมนุษย์ รวมถึงลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง

BIM หรือ Building Information Modeling เทคโนโลยีสร้างแบบจำลองเสมือนของอาคารอย่างแม่นยำ เพื่อวางแผนก่อสร้างแบบครบวงจร ลดปัญหาการคำนวณจำนวนวัสดุผิดพลาด จึงลดปริมาณของเหลือจากการก่อสร้าง

การก่อสร้างฉับไวในรูปแบบโดดเด่น

3D Printing คือนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า ในวงการก่อสร้าง หากใครยังไม่ได้ลองใช้ คงไล่ตามคู่แข่งไม่ทัน เพราะอาคารที่ขึ้นรูปจากเครื่องปรินต์สามมิตินี้นั้น สถาปนิกสามารถปลดปล่อยจินตนาการออกมากับรูปทรงอิสระได้เต็มที่ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยเสาคานแบบการก่อสร้างทั่วไป แถมยังก่อสร้างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ต้นทุนต่ำ และไม่มีขยะเหลือทิ้งจากกระบวนการก่อสร้าง จึงเป็นเทรนด์การก่อสร้างยุคใหม่ที่จะมาปลดล๊อคข้อจำกัดของงานก่อสร้าง

CPAC 3D Printing Solution ได้พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ โดยสามารถขึ้นรูปวัตถุขนาดเล็ก เช่น เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงอาคารขนาดใหญ่ โดยให้บริการทั้งการขึ้นรูป หรือวิจัยพัฒนาวัตถุดิบเพื่อการขึ้นรูปสำหรับลูกค้าที่มีเครื่องปริ๊นสามมิติอยู่แล้ว ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจสร้างอาคารที่มีรูปแบบ Free form ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing จำนวนมาก และ CPAC Green Solution กำลังพัฒนาการขึ้นรูปโดยลดปริมาณปูนเพื่อตอบเทรนด์ Low-carbon ด้วย

 

อาคารที่ขึ้นรูปด้วย CPAC 3D Printing Solution

ด้วยต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลง องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Habitat for Humanity จึงเลือกก่อสร้างบ้านด้วย 3D Printing เมื่อบ้านราคาถูกลง ก็สร้างบ้านได้หลายหลังมากขึ้น คนก็มีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านมากขึ้น ตรงกับพันธกิจขององค์กรที่ต้องการช่วยให้คนมีบ้านเป็นของตัวเอง

บ้านที่สร้างจาก 3D Printing โดย Habitat for Humanity ใน Williamsburg สหรัฐอเมริกา
ใช้เวลาเพียง 28 ชั่วโมงในการขึ้นรูป
(ขอบคุณภาพจาก 13newsnow.com)

สูงสุดกลับคืนสู่สามัญ เมื่อเทรนด์การสร้างอาคารจากวัสดุที่เป็นมิตรถูกนำมาใช้กับอาคารทั่วไป การขึ้นรูปอาคารด้วย 3D Printing ก็ทำได้เช่นกัน โดยพัฒนาเอาวัสดุจากธรรมชาติเข้ามาใช้เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนที่เป็นพิษ เช่น Tecla บ้านที่สร้างจากดินเหนียว และขึ้นรูปด้วย 3D Printing ในประเทศอิตาลี

Tecla บ้านที่สร้างจากดินเหนียว และขึ้นรูปด้วย 3D Printing ในประเทศอิตาลี
(ขอบคุณภาพจาก dezeen.com)

การก่อสร้างกับ New Normal

นวัตกรรมใหม่กลายเป็นของธรรมดาเมื่อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับอีกอุตสาหกรรมเช่นวงการก่อสร้าง ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นมหาศาล และยังตอบโจทย์ยุค New Normal ที่ลดการใช้แรงงานคน ลดการสัมผัส ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคอีกด้วย

Drone นวัตกรรมที่กำลังมาแรง ด้วยประโยชน์จากการบันทึกภาพหรือสำรวจในมุมมองหรือตำแหน่งที่คนเข้าไม่ถึง จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในงานก่อสร้าง ตั้งแต่การเก็บข้อมูลสำรวจพื้นที่ซึ่งดำเนินการได้ทั่วถึงและประหยัดเวลากว่าการใช้แรงงานคน ข้อมูลที่ได้รับง่ายต่อการวางแผนการก่อสร้าง ควบคุมคุณภาพ และติดตามความคืบหน้าจนจบกระบวนการ สำหรับประเทศไทยได้มีการนำโดรนเข้ามาใช้วางแผนและควบคุมการก่อสร้างแล้วเช่นกัน เช่น CPAC Drone Solution มีทีมงานเฉพาะทางที่มีใบประกอบการบินโดรน และโดรนหลากหลายรุ่นเพื่อใช้งานตามความวัตถุประสงค์และสภาพหน้างานพิเศษ พร้อมทีมวิเคราะห์ข้อมูลด้วย BIM อย่างครบวงจร

การใช้โดรนเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่ ช่วยประหยัดเวลาและกำลังคน

Augmented Reality (AR) ผสานเอาโลกเสมือนเข้าสู่หน้างานจริง จำลองให้เห็นงานออกแบบบนหน้างานจริง วัดขนาดวัตถุโดยไม่ต้องสัมผัส ไปจนถึงจำลองสถานการณ์เพื่อฝึกอบรมอย่างปลอดภัย

Robotic การนำเอาหุ่นยนต์เข้ามาทดแทนแรงงานคนในบางส่วนงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรืองานที่เป็นอันตราย เช่น ทาสี ยกของหนัก ติดตั้งผนัง เป็นต้น

การก่อสร้างจากชิ้นส่วนสำเร็จรูป

การผลิตชิ้นส่วนก่อสร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน เพื่อนำมาประกอบร่างในไซต์จริง หรือ Modular Construction กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในวงการก่อสร้าง ทำให้ประหยัดเวลาและต้นทุน ลดแรงงาน ลดความผิดพลาดจากแรงงานคน รวมถึงลดขยะที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างหน้างาน และที่สำคัญ และได้มาตรฐานเดียวกัน เพราะชิ้นส่วนประกอบทั้งหมดถูกควบคุมคุณภาพมาจากโรงงาน

CPAC Precast Concrete System ผลิตด้วยเทคโนโลยี Circulating Line System จากประเทศเยอรมนี โดย Pallet จะเคลื่อนไปตาม Station ต่างๆ ภายในโรงงานโดยอัตโนมัติ ชิ้นงานแต่ละชิ้นจึงมีความสม่ำเสมอได้มาตรฐาน ทั้งเรื่องขนาด รูปร่าง และพื้นผิว และสามารถผลิตชิ้นงานจำนวนมาก ในต้นทุนที่ต่ำลง ทำให้ผู้ประกอบการทุกรายที่มีโครงการก่อสร้างอาคารแนวราบ หรือ Low-rise Building สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงในระดับสากล

ภาพแสดงการติดตั้งผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่หน้างานก่อสร้าง
(ที่มา https://cpac.bv2dapp.com/th/product/268)

การก่อสร้างอย่างปลอดภัย

การระบาดของโควิค 19 ไม่เพียงเพิ่มความตระหนักเรื่องการแพร่กระจายของไวรัสเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงมาตรการด้านความปลอดภัยอื่นๆในการก่อสร้าง ซึ่งถึงว่าเป็นงานที่คนงานต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอยู่ตลอดเวลา เทคโนโลยีหลายอย่างที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมความปลอดภัยในไซต์งานก่อสร้าง

อุปกรณ์สวมสำหรับงานก่อสร้าง (Construction Wearables) มีคุณสมบัติหลักในการมอร์นิเตอร์สัญญาณอันตราย ตรวจจับการปะทะ และติดตามคนงาน อุปกรณ์นี้ช่วยลดอัตราการบาดเจ็บถึงเสียชีวิต และลดอัตราการตก ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสามของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดในไซต์งานก่อสร้าง ตัวอย่างของอุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่

  • Smart Hard Hat จับคลื่นสมองและปลุกผู้สวมใส่ก่อนเกิดการหลับใน
  • AR Safety Goggles แจ้งเตือนผู้สวมใส่ไม่ให้ตกจากขอบพื้นที่
  • Smart Monitor สัมผัสการรั่วไหลของแก๊ส และแจ้งเตือน
  • Smart Watch ผู้สวมใส่เห็นประสิทธิภาพของร่างกาย ป้องกันการทำงานหักโหม
  • Power Gloves ถุงมือที่เพิ่มความแข็งแรงและความคล่องแคล่วแก่ผู้สวมใส่
  • Smart Boots มีเซ็นเซอร์ตรวจจับและแจ้งเตือนก่อนการชนปะทะ
  • Headsets ลดมลภาวะทางเสียง

Environmental Sensors ตรวจจับคลื่นเสียง ความร้อน ลม ในไซต์งานก่อสร้าง และแจ้งเตือนเมื่อถึงจุดอันตราย เพื่ออพยพคนงานและสิ่งของมีค่าได้ทันเวลา

จะเห็นว่าในปี 2021 ที่ผ่านมา วงการก่อสร้างได้เกิดการปรับตัวครั้งสำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่นำไปสู่ความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น CPAC ในฐานะผู้นำด้านวัสดุก่อสร้าง ได้นำเทรนด์ต่างๆทั่วโลกเข้ามาค้นคว้าวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://linchpinseo.com/trends-the-construction-industry/
https://fluix.io/blog/top-construction-industry-trends
https://www.aceworkgear.com/6-key-construction-trends-2022/
https://www.bigrentz.com/blog/construction-trends#modular-and-offsite-construction
https://www.asme.org/topics-resources/content/11-construction-industry-trends-for-2022
https://www.greenmatters.com/p/habitat-for-humanity-3d-printed-house
https://www.13newsnow.com/article/news/local/virginia/williamsburg/habitat-for-humanity-3d-printed-home-williamsburg/291-2176e83d-9f83-44d2-916b-a017b41d4210