Timber Construction คืออะไร
Timber Construction คือแนวคิดในการใช้ไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้างโครงสร้างอาคาร โดยในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ในอดีตหลายภาคส่วนจะพยายามลดการใช้ไม้ เนื่องจากเป็นการผลาญทรัพยากรธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันมีการปลูกป่าทดแทน รวมถึงมีพื้นที่ในการปลูกไม้เพื่อใช้งาน ทำให้ความกังวลในส่วนนั้นถูกบรรเทาไประดับหนึ่ง
นอกจากนั้น เนื่องจากไม้มีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมที่ต่ำกว่าคอนกรีต อีกทั้งยังมีคาร์บอนแฝงในวัสดุ (Embodied Carbon) ต่ำกว่า ทำให้ไม้ตรงกับเป้าหมาย Net Zero Emission ที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์
แน่นอนว่าไม้เพียงอย่างเดียวอาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมากจนเกินไป ทำให้มีแนวคิดในการสร้างไม้แบบใหม่ ผสมผสานวัสดุไม้เข้ากับวัสดุอื่น ทำให้มีความคงทนต่อการใช้งานมากขึ้น สามารถใช้งานได้ในระยะยาวไม่แพ้คอนกรีตหรือวัสดุก่อสร้างใดๆ
รูปแบบของ Timber Construction
การก่อสร้างด้วยไม้ไม่ได้มีรูปแบบที่ถูกแบ่งออกตายตัวนัก การเรียกและระบุรูปแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ต้องการแบ่งเสียมากกว่า ซึ่งหากมองในแง่มุมของการก่อสร้างทั่วไปก็จะสามารถแบ่งรูปแบบได้ดังนี้
- Timber Panel Construction
Timber Panel Construction คือการใช้งานไม้ในรูปแบบของการปิดผิว ผนัง อาจประกอบด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น ไม้อัด ไม้เทียม ยิปซัม รวมถึงการใช้ฉนวนกันความร้อนร่วมเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การใช้งาน Timber Panel ส่วนมากจะประกอบเสร็จจากโรงงานและสามารถติดตั้งได้ทันทีหน้างาน - Timber Frame Construction
Timber Frame Construction เป็นการใช้ไม้แทนโครงสร้างภายในอาคาร เช่น เสา คาน ที่จะทำให้โครงสร้างหลักมีความยืดหยุ่นคล้ายกับคอนกรีตเสริมเหล็ก - Solid Timber Construction
Solid Timber Construction จะเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้ไม้เนื้อแข็งในการก่อสร้าง ร่วมกับไม้เนื้ออ่อนบางส่วน ทำให้ได้มาซึ่งโครงสร้างที่แน่นหนา แต่ทว่ายังคงความยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับการออกแบบการก่อสร้าง - Wood Hybrid Construction
Wood Hybrid Construction คือการใช้ไม้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบการทำงาน เช่น เป็นฐานในการปูพื้นก่อนก่อนการวางเหล็กและเทคคอนกรีต หรือเป็นการประกอบกับกระจกเพื่อทำโครงสร้างภายนอก ทำให้ได้มาซึ่งการก่อสร้างแบบผสมที่มีความสวยงาม และสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย
บทบาทของ Timber Construction ต่อการก่อสร้างยุคใหม่
อ้างอิงจาก Verified Market Research ในปี 2021 การใช้ไม้ในรูปแบบของ Timber Frame Construction มีมูลค่าการตลาดรวมทั้งโลกอยู่ที่ 887.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (31,824 ล้านบาท) และคาดว่าจะเติบโตถึง 1,630.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (58,471 ล้านบาท) ทำให้เห็นได้ชัดเลยว่าแนวคิดนี้มีการประยุกต์ใช้ในระยะยาวแน่นอน
นั่นเป็นสาเหตุให้ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เริ่มมีการนำไม้กลับมาใช้งานเป็นวัสดุหลักอีกทั้ง ทั้งในแง่ของการนำมาเป็นฐาน โครงสร้างหลัก ไปจนถึงการตกแต่งอาคาร
เช่น 25 KING STREET อาคารสำนักงานที่ทำด้วยไม้จากออสเตรเลีย ที่มีความสูงราว 45 เมตร บริเวณฐานถูกปูด้วยคอนกรีตสองชั้น ทำให้ได้มาซึ่งตัวอาคารที่มีความแข็งแรง สวยงาม
Niijima Forest โบสถ์ไม้ ที่ถูกออกมาในรูปแบบของอาคารทรงสี่เหลี่ยม ที่ประกอบด้วยการตกแต่งแบบธรรมชาติ และเทคโนโลยี ภูมิปัญญาการประกอบสิ่งก่อสร้างจากทางญี่ปุ่น ที่ทำให้อาคารมีความยืดหยุ่น รองรับน้ำหนักได้ดี สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ระดับหนึ่ง
แน่นอนว่ายังมีสิ่งก่อสร้างอีกมากมายที่ทำด้วยแนวคิด Timber Construction ที่ยังต้องติดตามต่อไปว่ายังมีอาคารที่น่าอัศจรรย์ใจที่ใดอีกบ้างที่ทำมาในรูปแบบนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Timber Construction
ข้อดี
Timber Construction ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในกรรมวิธีการก่อสร้างที่ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว ตัววัสดุค่อนข้างหาง่าย ประกอบง่าย สามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งการก่อสร้างเล็กๆ ไปจนถึงการสร้างตึกสูง
ข้อด้อย
การเตรียมวัสดุ และการบำรุงรักษา Timber Construction อาจมีความยุ่งยากกว่าการใช้คอนกรีต และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน การใช้งานไม้ในการก่อสร้างตึกขนาดใหญ่ ยังคงมีข้อจำกัดอยู่มาก ทำให้ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมยิ่งขึ้น
ตัวอย่างโมเดลน่าสนใจ
BIMobject หนึ่งในเว็บไซต์รวบรวมงานออกแบบ 3 มิติได้รวบรวมโมเดล 3 มิติ สำหรับงานไม้ที่น่าสนใจมาแล้ว โดยมีตัวอย่างดังนี้
Vanachai Woodsmith Co-Working Space
Co-Working Space ที่เน้นการตกแต่งด้วยวัสดุไม้จากวนชัย วู๊ดสมิทธ สามารถปรับให้รองรับการทำงานได้หลายรูปแบบ ตกแต่งด้วยแผ่นไม้ Vanachai Wood Based Panel OSB2-MR-E2 เสริมสีสันด้วย Vanachai ไม้พื้นไส้ HDF ปิดวีเนียร์ สร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานของคุณให้ดียิ่งขึ้น
สามารถดาวน์โหลดโมเดลวัสดุได้ที่ https://www.bimobject.com/th/vanachai-woodsmith/product/co-working-space
Vanachai Woodsmith Natural Stairs
บันไดไม้โครงสร้างเหล็กจากแบรนด์ วนชัย วู๊ดสมิทธ หนึ่งในตัวช่วยสำคัญสำหรับคนที่ต้องการการก่อสร้างแบบ Timber Construction ไปจนถึงการตกแต่งด้วยไม้คุณภาพสูง สร้างบรรยากาศเปิดโล่ง ผ่อนคลาย แต่ยังคงความแข็งแรงด้วยวัสดุที่รองรับน้ำหนักได้เป็นเยี่ยม
สามารถดาวน์โหลดโมเดลวัสดุได้ที่ https://www.bimobject.com/th/vanachai-woodsmith/product/natural-stairs
Red-I™ Joists, 9-1/2″ to 32″ Joist Depth
วัสดุงานไม้สำหรับก่อสร้างที่สามารถรองรับน้ำหนักได้สุง ทนต่อแรงบิดงอ และแรงกระทำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายพื้นที่
สามารถดาวน์โหลดโมเดลวัสดุได้ที่ https://www.bimobject.com/th/redbuilt/product/redbuilt-0001
Wood based panel 16 mm: LivingBoard P5
พาแนลไม้ความคงทนสูง ผลิตจากวัสดุที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับอาคารที่ใส่ใจอัตราการปล่อยคาร์บอนไดอออกไซต์ มีความสวยงาม อีกทั้งยังได้รับรางวัล Cradle to Cradle Certified® Silver สำหรับการส่งเสริม Circular economy system อีกด้วย
สามารถดาวน์โหลดโมเดลวัสดุได้ที่ https://www.bimobject.com/th/pfleiderer-deutschland/product/livingboard-p5-16-mm
สรุป
ชัดเจนเลยว่า Timber Construction เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรง และมีโอกาสถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในอนาคต ทั้งในประเทศไทย และในระดับโลก หากนักออกแบบท่านใดสนใจการออกแบบด้วย Timber Construction และสนใจโมเดลของสิ่งที่เกี่ยวข้อง ทางเรามีเว็บไซต์ที่รวบรวมโมเดลไว้มากกว่า 2,000 แบรนด์ มีข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน วางขายจริง สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ BIMobject Thailand
แหล่งอ้างอิง
https://rmi.org/embodied-carbon-101/
https://risc.in.th/th/knowledge/timber-construction-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-net-zero-emission-2050
https://www.youtube.com/watch?v=ieBVNgMkcpw
https://www.linkedin.com/pulse/timber-frame-construction-market-size-exploring/
https://www.woodworks.org/resources/key-design-considerations-for-mass-timber-projects/
https://www.constructiondive.com/news/mass-timber-101-understanding-the-emerging-building-type/443476/