นวัตกรรมขึ้นรูปสามมิติด้วยการฉีดพ่นจากหัวปรินต์ หรือ 3D Printing นั้น ถือเป็นเทคนิคใหม่จาก CPAC ที่สามารถลดทอนข้อจำกัดในการผลิตและก่อสร้างแบบเดิม ทั้งด้านดีไซน์ ต้นทุน และระยะเวลาการผลิต ด้วยการควบคุมการขึ้นรูปจากระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำตรงตามต้นฉบับ ลดต้นทุนจากการสูญเสีย และที่สำคัญคือการผลิตที่รวดเร็วกว่าการก่ออิฐฉาบปูนเพื่อก่อสร้างอาคาร หรือการหล่อโมลด์เพื่อขึ้นรูปวัตถุขนาดเล็กจำนวนน้อยชิ้น ทำให้ 3D Printing กลายเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะมาเขย่าวงการผลิตและก่อสร้างให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

ผลผลิตด้วยเทคนิค 3D Printing นั้น มีตั้งแต่วัตถุขนาดเล็ก อาทิ ส่วนประกอบตกแต่งงานสถาปัตยกรรม เฟอร์นิเจอร์ ประติมากรรม ปะการังเทียม ไปจนถึงอาคารปลูกสร้างขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะอาคารชั้นเดียวหรือหลายชั้น ส่วนมากการฉีดขึ้นรูปสามมิตินี้จะเน้นใช้ในการขึ้นรูปทรงอิสระ หรือ Parametric design แต่ด้วยคุณสมบัติด้านความรวดเร็วและแม่นยำในการขึ้นรูป เทคนิคนี้จึงถูกนำมาใช้ในการขึ้นรูปวัตถุทรงเรขาคณิต หรือต้นแบบชิ้นงาน (Mock-up) ก่อนการผลิตในระบบอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน

นวัตกรรมขึ้นรูปสามมิติด้วยการฉีดพ่นจากหัวปรินต์ หรือ 3D Printing

อาคารที่สร้างด้วยเทคนิค 3D Printing

ต่อยอดเทคนิค 3D Printing จากอาคารสู่เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เก๋

ถึงแม้ว่าภาพจำของชิ้นงานจากเทคนิค 3D Printing จะเป็นงานสถาปัตยกรรม แต่การขึ้นรูปโดยวิธีนี้ก็สามารถนำมาใช้ผลิตวัตถุที่มีขนาดเล็กลงมา เช่น เฟอร์นิเจอร์ ได้เช่นกัน และด้วยขนาดที่เล็กลงนี้ ข้อจำกัดและต้นทุนจึงน้อยกว่า ทำให้นักออกแบบสามารถทดลองงานออกแบบที่มีลูกเล่นได้มากกว่า

ลองมาดูส่วนหนึ่งของงานออกแบบ Street Furniture ที่ผลิตโดย CPAC 3D Printing Solution จากงาน Bangkok Design Week 2023 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

  • ‘Flow’ by CPAC Green Solution X Salt and Pepper Studio

ลายเส้นโค้งมนที่ซับซ้อนคดเคี้ยวแต่ลื่นไหล เห็นเป็นเลเยอร์ไม่ว่าจะมองจากหน้าตั้งหรือหน้าตัด ชุดเฟอร์นิเจอร์นี้เป็นผลงานออกแบบของคุณพิพิธ โค้วสุวรรณ จาก Salt and Pepper Studio ผู้ออกแบบได้เนรมิตชิ้นงานหลายชิ้นที่มีรูปลักษณ์อันลงตัวในหนึ่งชิ้นงาน แต่เมื่อมาบรรจบกับอีกชิ้นงานแล้วกลับลงตัวยิ่งกว่า ไม่ว่าชิ้นงานรูปทรงแตกต่างหลากชิ้นจะถูกนำมาต่อประสานอย่างไร ก็ดูต่อเนื่องเชื่อมโยงไหลลื่น (Flow)

ม้านั่ง โต๊ะ เก้าอี้ คือหลากชิ้นงานหน้าตาฟังก์ชันแตกต่างกันภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Flow’ ที่ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานทีละชิ้น หรือนำมาประกอบร่วมกันปรับรูปแบบตามบริบทของสถานที่ และการใช้งานได้อย่างหลากหลายและไม่จำเจ เพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตามรูปแบบการจัดวาง สร้างพื้นที่สาธารณะที่รวมเอาการใช้สอยคู่กับสิ่งประดับตกแต่ง

“บางทีก็ลืมไปว่าเราเริ่มต้นจากตรงไหน และกำลังจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน” คือคำกล่าวถึงแนวคิดการออกแบบจากเจ้าของผลงาน

‘Flow’ by CPAC Green Solution X Salt and Pepper Studio

  • ‘ย้วย’ by CPAC Green Solution X FATTSTUDIO ARCHITECT

เพราะภาพจำของงานจากเทคนิค 3D Printing คือรูปทรงอิสระ และในความอิสระนั้นเองที่สองนักออกแบบ คุณวัทธิกร โกศลกิตย์ และ คุณสุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี จาก FATTSTUDIO ARCHITECT ได้นำมาทดลองเทคนิคการขึ้นรูปแนวใหม่ ที่ผสานความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม สุนทรียศาสตร์ และการใช้งานเข้าด้วยกัน

เมื่อมองเก้าอี้นี้จากด้านบน จะเห็นส่วนโค้งเว้าของเส้นกรอบดอกไม้ อันเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ผู้ออกแบบทดลองหาข้อจำกัดในการผลิตโดยตั้งค่าให้หัวปรินต์ฉีดขึ้นรูปเก้าอี้จากหน้าตัดเล็กไปใหญ่ ปรับการซ้อนเลเยอร์ให้หมุนบิดเหลื่อมกัน จนได้เก้าอี้รูปทรงย้วยอ่อนหวานน่ารัก

และผลงานอีกชิ้นคือม้านั่งยาว ด้วยแนวคิดว่าของใช้ในที่สาธารณะควรตอบรับการใช้งานและความต้องการที่หลากหลาย ฟากนึงของม้านั่งจึงมีหน้าตัดแบบเก้าอี้พนักพิง แล้วค่อยๆปรับการพ่นเลเยอร์ขึ้นรูปไล่ไปจนมีหน้าตัดแบบเก้าอี้ไร้พนัก ทำให้ได้ม้านั่งยาวรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ขนาดกว้าง 70 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตรนี้ ที่ตอบโจทย์การนั่งทุกรูปแบบ

(ภาพประกอบ : Dsign Something)

‘ย้วย’ by CPAC Green Solution X FATTSTUDIO ARCHITECT

  • สีสวยสด ขึ้นรูปทีเดียวก็สวยจบด้วย 3D Printing

Scarlet Sage คือสีแดงที่จะมาแรงในปี 2023 สะท้อนพลัง ความหลงใหล และยังเป็นสีที่อยู่บนงาน Street Furniture ข้างต้น ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของเทคนิค 3D Printing ที่ปัจจุบัน CPAC Green Solution สามารถผสมสีลงในคอนกรีต และฉีดขึ้นรูปออกมาเป็นงานสำเร็จที่มีสีสันสวยสดโดนใจ โดยไม่ต้องทำผิวใหม่ให้ยุ่งยาก จึงช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนในการผลิตชิ้นงาน

การผลิตที่เป็นมิตรต่อโลก

นวัตกรรม 3D Printing นี้ ไม่เพียงแต่ปลดล็อกข้อจำกัดในงานก่อสร้าง ทั้งด้านงานออกแบบ ระยะเวลา ต้นทุน และความแม่นยำในการผลิต แต่อีกจุดแข็งของเทคนิคการขึ้นรูปสามมิตินี้คือกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

มาดูกันว่าทำไม 3D Printing ถึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของทุกคนที่รักษ์โลก และต้องการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีที่สุด โดยสร้างผลกระทบให้กับโลกน้อยที่สุด

  • กระบวนการขึ้นรูปถูกควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ จึงแม่นยำ ได้ผลลัพธ์ตรงตามการออกแบบ เมื่อความผิดพลาดลดลง การใช้ทรัพยากรก็ลดลง
  • ปริมาณวัตถุดิบในการผลิตถูกคำนวณอย่างแม่นยำ และถูกใช้เพียงเท่าที่จำเป็นโดยไม่เหลือขยะจากกระบวนการผลิต
  • ไม่เกิดฝุ่นฟุ้งกระจายในกระบวนการขึ้นรูป หน้างานจึงสะอาดเรียบร้อย
  • การปล่อยคาร์บอนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับกระบวนการก่อสร้างทั่วไปที่ใช้เวลานาน รวมทั้งการขนส่งวัตถุดิบตลอดระยะเวลาก่อสร้าง
  • การก่อสร้างอาคารด้วยเทคนิค 3D Printing สามารถฉีดขึ้นรูปให้มีช่องว่างในผนัง (Air Pocket) ซึ่งใช้วัตถุดิบในการขึ้นรูปน้อยกว่าการก่อสร้างที่มีผนังตัน และยังลดความร้อน กันเสียง กันไฟได้ดีกว่า จึงช่วยประหยัดต้นทุนการจัดการอาคาร และในเมืองหนาว สามารถนำเศษฟางหรือเปลือกข้าวมาบรรจุลงใน Air Pocket เพื่อเป็นฉนวนเก็บความร้อนทดแทนการใช้ฮีตเตอร์ได้ด้วย
  • วัตถุดิบในการขึ้นรูปไม่ได้จำกัดแค่เพียงคอนกรีต แต่ยังสามารถนำมาประยุกต์กับวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว
  • นวัตกรรมการผลิตล่าสุด สามารถใส่สีผสมลงในคอนกรีตเพื่อขึ้นรูปชิ้นงานที่มีสี ลดขั้นตอนการทำผิวลงได้

ที่ CPAC Green Solution กำลังพัฒนาเทคนิคการขึ้นรูปที่ลดปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อตอบเทรนด์ Low-carbon

กระบวนการขึ้นรูปด้วยเทคนิค 3D Printing ไม่ทำให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย หน้างานจึงสะอาดเรียบร้อย

(ภาพประกอบ : Dezeen)

Tecla บ้านที่สร้างจากดินเหนียว และขึ้นรูปด้วยเทคนิค 3D Printing ในประเทศอิตาลี

(ภาพประกอบ : Dezeen)

อาจกล่าวได้ว่า หากคุณกำลังมองหาเทคนิคการผลิตที่เป็นมิตรต่อทั้งนักออกแบบ สถาปนิก วิศวกร เจ้าของโครงการ และธรรมชาติรอบตัว 3D Printing คือทางเลือกที่คุณไม่ควรมองข้าม ผู้สนใจสามารถทำความรู้จัก CPAC 3D Printing Solution เพิ่มเติม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Inbox คลิก! m.me/cpacthailand หรือติดต่อ CPAC Contact Center โทร. 02-555-5555

เพราะสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เราจึงอยากชวนคุณมาสัมผัสสิ่งปลูกสร้างจาก 3D Printing ด้วยตัวคุณเองที่บูธ CPAC Green Solution ในงานสถาปนิก’66 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในวันที่ 25-30 เมษายนนี้ คุณจะได้พบกับ CPAC 3D Café จุดเช็คอินในงานที่ไม่เพียงให้คุณได้ฟินกับดีไซน์ แต่ยังได้ไอเดียใหม่เพื่องานออกแบบก่อสร้างที่เหนือกว่า ลงทะเบียนร่วมงานล่วงหน้า คลิก