ดูเหมือนปัจจุบัน กระบวนการ BIM จะสามารถช่วยงานอาคารสูงได้อย่างดี
ผมนิยามการทำงานด้วย BIM เสมือนการสร้างอาคารจริงในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะไปสร้างจริง ในตอนนี้มีวิศวกรเข้ามาช่วยสร้างโมเดล งานระบบต่างๆ ก็ดูเหมือนจะบ่งบอกปัญหาได้มากยิ่งขึ้น
มีการนำกระบวนการ 3D coordination เข้ามาใช้อย่างหลากหลายในช่วงออกแบบก่อสร้าง โดยประโยชน์หลักๆ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก่อนไปสร้าง
ใช้เวลาเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่เน้นการ Combine แบบมากขึ้น ทำให้งาน ที่จะ นำไปก่อสร้าง มีคุณภาพมากขึ้น ความคาดหวังคือ ลดเรื่องปวดหัว ลดการช้ำของงานจากการแก้ไข มีหลายคนช่วยกันคิดบนงานเดียวกัน ไม่เหมือนเดิม ที่ บางงาน ผู้รับเหมาต้องแอบบ่นว่า ส่งแบบมาเหมือนไม่ได้คุย (sync) กัน บางงานก็เป็นการช่วยให้ทีมพัฒนาโครงการ ให้สามารถรักษาสัญญา กับลูกค้า ได้มากขึ้น เช่น ระดับความสูงของฝ้าห้องพัก เรามักเจอบ่อย
วัตถุประสงค์หลักของการเขียนบทความนี้เพื่อสื่อการนำไปใช้ ในแง่ของกระบวนการ BIM ที่เกี่ยวข้องกับอาคารสูง หลักๆ จะเป็นส่วนที่ผมมีความเชี่ยวชาญ เหตุผลที่เชี่ยวชาญ เพราะทำบ่อย และคิดว่าประสบการณ์ที่มีอาจช่วยเป็นเครื่องปรุงให้หลายๆ คนในการทำงานปัจจุบันได้
ส่วนมากทีมพัฒนาโครงการที่ทำงานกับเราจะชอบกระบวนการนี้ มากกว่า ไม่ชอบ สาระคือ อย่างน้อยๆ ก็ได้รู้ปัญหา ผมขอเรียกว่าระเบิดเวลาขนาดย่อมๆ หลายลูก แล้วกัน อาคารสูงทำกันทีก็นาน หลายปีเหมือนกัน หลายคนที่ได้โอกาสทำ ก็อยากเห็นมันสำเร็จตรงหน้าทั้งนั้น ในระยะเวลาแบบนี้ทีมพัฒนาถ้าไม่ย้ายไปไหนเสียก่อน เค้าก็คือหมายเลขแรกที่จะต้องเผชิญกับปัญหา จากเริ่มออกแบบ สู่การก่อสร้าง ไปจนถึงส่งมอบ ถ้าแบบที่จะนำไปก่อสร้าง ไม่ได้คุยกันมาดีดี อย่างนั้นก็ระเบิดเวลา งบประมาณมหาศาลที่ใช้ ไหนจะความกดดันที่เกิดระหว่างทางอีก
เค้าเลยชอบ ได้คุยกัน ได้แก้ก่อน แก้บนกระดาษ บนจอ ดีกว่า แก้ตอนปูนมันหล่อไปแล้ว ประเด็นคือ ผู้ออกแบบเหมือนเอาแบบมาสร้างให้ดูก่อนที่จะสร้างจริง ก็ดีมากๆ ตอนนี้หลายที่ก็เริ่มผลักดันมากขึ้น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำส่วนใหญ่ก็มีการใช้มาไม่ต่ำกว่า 2 ปีกันแล้วทั้งนั้น บางที่ก็ชูให้เป็น Policy ของบริษัท
การเจอปัญหาของการก่อสร้างก่อนเป็นเรื่องที่ดีมากก็จริง แต่ก็มักจะมีคำถามตามมาเสมอถึงความคุ้มค่าในด้านการลงทุนใช้งาน BIM เข้ามาในโครงการ หวังว่าปัญหาเหล่านี้คงจะจบในเร็ววัน เมื่อทุกฝ่ายใช้ BIM อย่างเป็นปกติ
ปัญหาอีกประการสำคัญสำหรับการทำงานอาคารขนาดใหญ่ด้วย BIM นั้น มีเรื่องเกี่ยวกับทรัพยากรเข้ามาเกี่ยว นอกเหนือจากเวลาประชุมที่เบียดการทำงาน กลุ่ม BIM Manager, BIM Modeler ก็มีผลอีกเช่นกัน เราพบว่าปัญหาหลักที่มักจะเกิดขึ้นคือ การจัดจ้างจากภายนอก (Outsource) เพื่อมาทำงานในโครงการ ทำให้การสื่อสารจาก Design มาถึงตัว BIM Model นั้น มีขั้นตอนเพิ่มขึ้นอีกจากที่เคยใช้เวลาเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว ก็ใช้เพิ่มขึ้นอีก และความผิดพลาดของโมเดล กว่าหนึ่งในห้า ก็มาจากการสื่อสารที่ผิดพลาดกันเองภายใน Designer บริษัทนั้นๆ นั่นเอง ด้วย สไตล์การทำงานของ Outsource แต่ละเจ้า มีความแตกต่างของการสร้างโมเดลในแต่ละขั้นตอน ทำให้บางส่วนของจุดมุ่งหมายของ BIM (BIM Goals) ที่โครงการคาดหวังอาจไม่ได้ดั่งใจ อย่างน้อยที่เห็นกันบ่อยก็คงเป็นเรื่องการถอดปริมาณ จากโมเดล
อาคารสูง มักจะมีสามส่วนที่มักจะเกิดประเด็น จากประสบการณ์ของผม ลองแยกมาได้ง่ายๆ ดังนี้
- ส่วนที่ซ้ำกัน เช่น ห้องพักที่เหมือนกัน หรือพื้นที่ที่ซ้ำๆกัน
- ส่วนที่ซับซ้อน และไม่ค่อยซ้ำกับอะไร ในอาคาร เช่น Transfer floor ของงานระบบ พื้นที่ส่วนกลาง
- ส่วนต่อบริเวณที่ซ้ำกันกับอย่างอื่น เช่น สวนเหนือห้องพัก พื้นที่ส่วนกลางใต้ห้องพัก
อะไรที่ง่ายๆ เหล่านี้จะช่วยเราวางแผนการตรวจสอบโมเดลทั้งหมดได้ง่ายขึ้นมาก และติดตามได้ดีขึ้น อย่างที่หลายๆ ทีมเริ่มมีการวาง Zoning ในการจะ Clash detection ในแต่ละครั้ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการจำกัดวงของ Issues ที่จะเกิดขึ้น ยังเป็นการแบ่งเบาภาระคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น Hardware หลักแต่ละครั้ง Model เบา ทุกอย่างก็ไวขึ้น หลายๆ ฝ่าย Set Clash Matrix ไว้ดีดี ก็เคลียร์อะไรได้ดีมากขึ้น
BIM Manager ที่ดีมักจะมีการชี้นำแนวทาง แนะแนวเกี่ยวกับการแบ่งส่วนของโมเดล ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Link เรื่องการแยกส่วน Element worksharring ก็จะดี แต่ก็ต้องปรับไปตามสถานการณ์โครงการเช่นกัน อย่างที่เคยเห็นก็คือการคิดเผื่อทีมอื่นๆ ที่ร่วมงานทั้งหมดด้วย เพราะถ้ามันยากไป คนอื่นๆ ก็จะลำบากไปด้วย
ระยะเวลา ประมาณ 5-9 เดือนเป็นระยะเวลาการ Combine BIM ช่วง Preconstruction ที่เหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
ความซับซ้อนของโครงการ ได้รับความร่วมมือจากแต่ละฝ่ายที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Designer, Construction manager, และแผนกอื่นๆ ก็เป็นส่วนสำคัญ ที่น่าจะจำเป็นที่สุด คือ การตัดสินใจที่ดี อย่างมีแนวทาง เป็นรูปเป็นร่างจากเจ้าของโครงการ
สรุปสั้น
BIM ที่ผมรู้จักสำหรับอาคารสูงในไทย ตั้งแต่แรกๆ ก็ร่วมสิบปีในปีนี้ ยังพัฒนาต่อไป ยังมีอีกหลายอย่างให้เล่นมากมาย มีหลายเครื่องมือเข้ามาเพิ่มมาก การเดินทางยังคงอีกไกลสำหรับวงการนี้ เพราะอาคารก็มีแนวโนมที่ผุดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง มีการนำเอาเครื่องมือมาใช้พัฒนากันเรื่อยๆ คุณไม่ใช่คนใหม่ที่เข้ามา และใน Digital ecosystem นี้ ไม่มีอะไรช้าเกินไป เพราะสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ขอให้สนุกกับ BIM ยินดีต้อนรับทุกคนครับ