เพื่อนๆเคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าทำไมห้องน้ำโรงแรมที่เราไปพักถึงไม่มีเครื่องติดผนังให้เห็นหน้าค่าตา แบบที่เราใช้กันปกติตามบ้านเรือน แต่น้ำที่ออกมาดันร้อนได้ซะอย่างงั้น

เพราะสิ่งที่ทำความร้อนให้กับน้ำโรงแรมคือ “เครื่องทำน้ำร้อน” ไงล่ะครับ แล้วเพื่อน ๆ รู้มั้ยครับว่ามันต่างจากเครื่องทำน้ำอุ่นยังไง  ชื่อก็คล้าย ๆ กัน นี่ถ้าไม่ได้มาเป็นสถาปนิกต้องนึกว่าเป็นเครื่องเดียวกันแน่ ๆ เลย ฉะนั้นไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ผมแอบบอกก่อนเลยว่า ใครอ่านจบมีโค้ดส่วนลดให้เก็บไปใช้ลดราคากันจุก ๆ ไปเลย ได้ความรู้แล้วยังได้เซฟเงินในกระเป๋าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ อีกด้วยนะครับ

ความแตกต่างระหว่างเครื่องทำน้ำร้อนกับเครื่องทำน้ำอุ่น

ต้องเข้าใจก่อนเลยครับว่าเครื่องทำน้ำร้อนกับเครื่องทำน้ำอุ่นเนี่ย การทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นคือคุณสมบัติข้อเดียวที่มีเหมือนกัน แต่กระบวนการทำงาน และกระบวนการติดตั้งแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยอยากรู้แล้วใช่มั้ยล่ะครับว่าสองอย่างนี้มันแตกต่างกันยังไง

เครื่องทำน้ำอุ่น

เครื่องทำน้ำอุ่นเป็นตัวกลางเปลี่ยนน้ำให้มีความร้อนขึ้นด้วยฮีทเตอร์ และปล่อยกระแสน้ำออกมา เพื่อให้น้ำเย็นถูกเปลี่ยนเป็นน้ำอุ่นในระหว่างใช้งาน โดยต่อตรงติดโชว์ตัวเครื่องได้เลย มีขั้นตอนการติดตั้งที่ง่าย สามารถปรับอุณหภูมิได้ที่ตัวเครื่องตามต้องการ ใช้งานได้สะดวก จึงสามารถพบเห็นได้ตามหอพักและบ้านที่มีห้องน้ำและจุดจ่ายน้ำไม่มากนัก มีการควบคุมความปลอดภัยโดยการต่อสายดินและติดตั้งระบบตัดไฟโดยตรง

การทำงานของเครื่องทำน้ำอุ่นนี้เริ่มจากน้ำเย็นไหลเข้าเครื่อง เมื่อน้ำผ่านเข้าไปในเครื่องก็จะมีกระบวนการทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น น้ำอุ่นที่ออกมาจากตัวเครื่องถูกต่อเข้าฝักบัวโดยตรง

เครื่องทำน้ำร้อน

เครื่องทำน้ำร้อนจะแตกต่างจากเครื่องทำน้ำอุ่นตรงที่อุณหภูมิของน้ำที่ออกมาจะสูงกว่า นิยมใช้มากกับสถานที่ที่โฟกัสในเรื่องของความงามภายในห้องน้ำ โดยสามารถติดตั้งซ่อนเครื่องทำน้ำร้อนไว้ในที่ลับตา เพราะตัวเครื่องทำน้ำร้อนจะใช้เพียงตัวเดียวแต่สามารถที่จะกระจายระบบการทำงานไปยังก๊อกน้ำต่าง ๆ ให้น้ำเกิดความร้อนได้อย่างเป็นระบบ จึงนิยมใช้กับบ้านที่ห้องน้ำหลายห้อง หอพัก อพาร์ตเมนท์ หรือ โรงแรม ตัวอย่างเช่น อพาร์ตเมนท์ในต่างประเทศ จะนิยมติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนหนึ่งตัวสำหรับทั้งอาคารเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

เครื่องทำน้ำร้อนจะมีวิธีการทำงานที่แตกต่างออกไป น้ำเย็นที่ไหลเข้าตัวเครื่องจะถูกทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนกลายเป็นน้ำร้อน ที่อุณหภูมิสูงกว่าเครื่องทำน้ำอุ่น น้ำร้อนที่ออกมาจากเครื่องจะต้องผ่านก๊อกผสมน้ำก่อน ไม่ต่อตรงเข้าฝักบัวในทันที ซึ่งจะสามารถควบคุมระดับความร้อนของน้ำได้ที่ก๊อก โดยผู้ใช้งานเป็นคนบาลานซ์ปริมาณน้ำเย็นและน้ำร้อนผสมกัน ก่อนจะออกมาสู่ภายนอก โดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับตัวเครื่องเลย

ในเเง่ของการใช้พลังงานจึงใช้พลังงานและกินไฟมากกว่า บางเครื่องใช้พลังงานมากกว่า 10,000 วัตต์เลยทีเดียว ยิ่งจำนวนวัตต์มากน้ำร้อนที่ผลิตก็จะผลิตได้เร็วมากขึ้น ในเวลาเท่ากันเครื่องทำน้ำร้อนที่จำนวนวัตต์สูงกว่า น้ำที่ออกมาก็จะร้อนเร็วกว่าเครื่องที่จำนวนวัตต์น้อย ทั้งนี้ก็จะกินไฟมากกว่าด้วยเช่นกันครับ

ประเภทของเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อน

โดย เครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อน จะแบ่งเป็น 2 ชนิด ที่แตกต่างกันทางเทคนิคและอุปกรณ์ภายใน ดังต่อไปนี้ครับ

  • ชนิดผ่านร้อน – หลักการของระบบนี้คือน้ำที่ไหลเข้ามาจะผ่านท่อหรือขดลวดทองเเดงที่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่ ทำให้น้ำร้อนที่ไหลผ่านปริมาณไม่มากจึงทำให้น้ำร้อนได้เร็ว ตัวเครื่องนี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็จะมีข้อเสียตรงที่ท่อไม่ใช่ท่อใหญ่มาก อาจจะเกิดการอุดตันภายในท่อได้จากหินปูน และอาจทำให้น้ำอาจจะไหลออกมาได้ไม่สม่ำเสมอ
  • ชนิดหม้อต้ม – น้ำจะไหลเข้ามายังหม้อต้มซึ่งอาจจะทำจากทองเเดงหรือวัสดุสังเคราะห์ และทำให้ร้อน จึงจะต้องใช้เวลาในการทำน้ำให้ร้อนก่อนที่จะใช้งานได้ ซึ่งหม้อต้มที่ทำจากทองแดงก็จะมีข้อดีที่ทนความร้อนได้ดี ใช้งานได้นานกว่า แต่ก็อาจจะมีตะกรันน้ำได้ ดังนั้นต้องคอยหมั่นเช็คจุดกรองน้ำก่อนที่น้ำจะเข้าไปในหม้อด้วยครับ ส่วนหม้อทำความร้อนจากวัสดุสังเคราะห์มักจะทำมากจากพลาสติกที่มีคุณภาพสูง นิยมใช้แบบหม้อต้มในโรงแรมใหญ่ ๆ หรืออพาร์ตเมนท์ในต่างประเทศ

พอจะเข้าใจหลักการของเครื่องทั้งสองแบบแล้วใช่ไหมครับ งั้นเรามาสรุปข้อแตกต่างระหว่างเครื่องทำน้ำอุ่นกับเครื่องทำน้ำร้อนไปพร้อม ๆ กันเลยครับ

  • การติดตั้ง – เครื่องทำน้ำร้อนจะต้องมีการคิดและวางแผนตั้งแต่ในขั้นตอนการออกแบบว่าจะใช้งานน้ำบริเวณไหนบ้าง และจึงเดินท่อแยกตั้งแต่ก่อสร้างเลย หากจะมาติดตั้งเองทีหลังก็สามารถทำได้แต่จะค่อนข้างวุ่นวายครับ ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นก็จะง่ายและสะดวกกว่ามาก สามารถซื้อมาติดตั้งในตำแหน่งที่เตรียมท่อไว้ได้เลย
  • การใช้งาน – เครื่องทำน้ำร้อนสามารถติดตั้งเพียงหนึ่งเครื่องเเละต่อออกไปใช้งานได้หลายจุด เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ ฝักบัวอาบน้ำ เป็นต้น ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นจะใช้งานได้ 1 จุดติดตั้งต่อ 1 เครื่องเท่านั้น
  • ความร้อนของน้ำ – เครื่องทำน้ำร้อนจะได้น้ำที่ค่อนข้างเสถียรและน้ำที่ออกมาก็จะมีความแรงที่มากกว่าเครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากความดันน้ำมากกว่า น้ำร้อนจะเกิดจากการผสมของผู้ใช้งานเอง ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นจะสามารถปรับอุณหภูมิได้ที่ตัวเครื่องครับ

วิธีการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อน

ซึ่งการจะเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น-เครื่องทำน้ำร้อนตัวหนึ่งเนี่ย เราต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ครับ

  • กำลังไฟ

เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานของเครื่องทำน้ำอุ่น ก่อนเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น เพื่อนๆควรตรวจดูกำลังไฟในบ้าน โดยให้สังเกตที่มิเตอร์ไฟ ตัวอย่างเช่น หากที่บ้านของเพื่อนๆใช้มิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 5 (15) ก็ควรใช้จะเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 3,500 วัตต์ หากที่บ้านใช้มิเตอร์ไฟฟ้าใน ขนาด 15 (45) เพื่อนๆควรใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่กำลังไฟไม่เกิน 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์ ครับ

  • ประเภทของหม้อต้ม

เป็นวัสดุที่ใช้ในการทำหม้อต้มคืออีกส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว เพราะหม้อต้มของเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นมีหลายประเภท หากต้องการเน้นอายุการใช้งาน ก็ควรเลือก “หม้อต้มทองแดง” มีข้อดีคือ ทนทานจากความร้อนจากแรงดันของน้ำ แต่ข้อเสียคือ จะมีราคาที่สูง หากต้องการเครื่องที่ทำความร้อนเร็ว การประหยัดพลังงานมากกว่าและมีราคาถูก ก็ควรเลือก “หม้อต้มแบบพลาสติก” ซึ่งจะมีจุดเด่นในเรื่องของการลดการเกิดตะกรันตะกอนครับ

  • การประหยัดพลังงาน

เครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อน เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟ จึงควรเลือกซื้อเครื่องที่ได้รับมาตรฐานและประหยัดไฟเบอร์ 5 นอกจากนี้ยังควรมองหาเทคโนโลยีที่จะช่วยประหยัดการใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น เช่น เทคโนโลยี Eco mode ที่จะช่วยในช่วยประหยัดพลังงานระหว่างการอาบน้ำ

  • ความปลอดภัย

น้ำกับไฟฟ้าเป็นสิ่งที่อันตรายถึงชีวิตเลยใช่ไหมครับ ดังนั้นการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น-เครื่องทำน้ำร้อน ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นลำดับต้น ๆ นอกเหนือจากการติดตั้งสายดิน ผู้ใช้งานควรมองหาเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีระบบตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เมื่อมีไฟฟ้ารั่ว หรือมีขนาดเกิน ELSD (Earth Leakage Safety Device) หรือ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker), ระบบตัดการทำงานของเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของน้ำที่สูงเกินขนาด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพิเศษจาก “STIEBEL ELTRON” Double Action Auto Thermostat ซึ่งจะตัดการทำงานซึ่ง 2 ระดับอุณหภูมิด้วยกัน คือ 55 และ 75 องศาเซลเซียส เพื่อความปลอดภัย

นอกจากนี้ จะมีมาตรฐานป้องกันไม่ให้น้ำเข้าเครื่อง (International Protection Rating) IP 24 และ IP 25 อีกด้วยครับ แม้กระทั่งความปลอดภัยที่เล็กๆ น้อยๆ เช่น ตัวของเครื่องควรมาพร้อมยางที่ป้องกันน้ำเข้าทางช่องร้อยสายไฟ สายไฟทุกเส้นควรจะได้มาตรฐานและมีระบบป้องกันหม้อทำความร้อนไหม้ ระบบ Automatic Flow Switch on/off Control ช่วยควบคุมเครื่องให้ทำงานเฉพาะเวลาที่มีน้ำไหลผ่านเท่านั้น ก็เป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงเช่นกันครับ

  • การบริการหลังการขายและการรับประกัน

ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนที่มีการประกันที่ครอบคลุม มีศูนย์ซ่อมที่สามารถติดต่อได้ง่ายและทั่วประเทศ มีเบอร์โทรศัพท์โดยตรงสำหรับ call center หรือพนักงานที่สามารถให้คำตอบและข้อมูลแก่ลูกค้าได้อย่างถูกต้องและมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ ซึ่งแบรนด์ STIEBEL ELTRON แบรนด์คุณภาพอันดับหนึ่งจากเยอรมนี ก็เป็นหนึ่งในนั้น

อ่านจบ แจกฟรี CODE ส่วนลดจาก STIEBEL ELTRON

ได้ความรู้กันไปเต็มๆแล้ว ตามที่สัญญาไว้ครับ สำหรับเพื่อนๆที่สนใจสินค้าของ STIEBEL ELTRON สามารถกรอก CODE STIEBIMO เมื่อสั่งซื้อสินค้าจาก https://bit.ly/33qoj1j รับเลยส่วนลด 8% เมื่อซื้อสินค้าขั้นต่ำ 5,000 บาท (หมายเหตุส่วนลดสูงสุดเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุ) ได้เลยครับ ขอบคุณที่อ่านกันมาจนจบครับผม

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม http://bit.ly/bim-3cjBsPw

ขอบคุณภาพ infographic จาก www.werenewaplace.com

ขอบคุณข้อมูลจาก www.hardwarehouse.co.th และ www.thinkofliving.com