ถึงจะได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และถูกทาบทามให้เป็นที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำหลายแห่ง อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้อาจารย์ทรงพล ยมนาค ไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

ถ้าพูดถึงบุคลากรวงการ BIM ในประเทศไทย น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อของอาจารย์ทรงพล ยมนาค สถาปนิกผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบและก่อสร้างไทยตั้งแต่ยุคปากกา ROTRING เขียนแบบ จนกระทั่งยุคของการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

หลังจบการศึกษาในปี 2520 อาจารย์ทรงพลคร่ำหวอดในวงการสถาปนิก ทำงานมาตั้งแต่บริษัทออกแบบสารพัดออกแบบในยุคที่งานออกแบบเฟื่องฟู ย้ายมาทำงานด้านบริหารโครงการ และมาทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง กับเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และเป้าหมายที่อยากจะมีวิธีการทำงานอะไรที่สามารถทำได้ดีขึ้นกว่าเดิม

สมัยนั้นการทำงานออกแบบเป็นอย่างไร

ในยุคแรกๆอย่างที่เราเคยได้ยินกัน ต้องเขียนมือ เขียนปากกาปากกา ROTRING สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ดินสอ ยางลบ Adjust scale ต้องเป็นเครื่องมือที่แม่นยำ ละเอียด และก็ต้องมี ไม้ที ไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร เอียงไม่ได้ ถ้าเอียงก็เพี้ยนหมด ความแม่นของไม้ทีใช้ข้างโต๊ะเป็นตัวกำกับ ยุคต่อมาเป็น Slide T มีเชือก รอก เลื่อน ตัว Lettering ต้องใช้มือเขียน ภาษาไทยต้องคัดลายมือ เขียนให้คนอ่านออก ต้องเขียนเป็นระเบียบ มีสไตล์เขียนแบบ ไม่งั้นคนอ่านไม่ออก ก็จบ ตอนหลังก็จะมี RELOY เป็นไม้บรรทัด มีเข็ม เขียนด้วยปากกา ROTRING ตัวหนังสือก็จะสวยงาม แต่ว่าต้องเขียนทีละตัว ต้องอาศัยความพากเพียร ค่อยๆเลื่อนเขียนทีละตัว ใช้หมึก ใช้ ROTRING ใช้หมึกหยอด เรียกว่าคุณต้องมีเครื่องมือทำมาหาหกินพวกนี้ประกอบ (หัวเราะ) ไหนจะกระดาษที่เขียนแบบ จะเป็นกระดาษอะไร ขนาดวามหนาเท่าไหร่ ต้องไปถ่ายพิมพ์เขียว ถึงจะออกมาเป็นแบบก่อสร้างได้

ตั้งแต่ปี 2515-2526 เราอยู่บนสภาพแวดล้อมของการเขียนแบบด้วยมือ อาศัยกระดาษ ขูดพิมพ์เขียวเพื่อแก้แบบ เราต้องมีใบมีดโกนเอาไว้ขูดแบบ พร้อมขูดแบบตลอดเวลา กระดาษไขก็ต้องมีความหนา พอให้คุณขูดได้ กระดาษไขมีผลต่อการทำงานเยอะแยะมากเลย ถ้าคุณเหงื่อออกกระดาษก็จะบวม เทคนิคพวกนี้ก็คงจะลืมไปหมดแล้ว

“คนทำแบบช่วงแรกจะเหนื่อยมาก” เพราะต้องเริ่มตั้งแต่พื้นฐานขึ้นมาเลย สิ่งที่คุณจะทำงานจะบันทึกมาเป็นแบบได้ยังไง ยิ่งถ้าทำละเอียดมาก ก็ต้องมีแบบขยายเป็นชุดขยาย พวกนี้ต้องมี Dimension ใส่ลงไป

การเข้ามาของ CAD ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยน?

ก็ไม่เชิง จะเขียนแบบด้วยอิเล็กทรอนิกส์เลย การเขียนแบบมือก็ไฟต์กันอยู่ซักพักนึง แต่สุดท้ายก็ต้องใช้ เพราะใช้กันหมดแล้ว การปรับตัวไปที่ CAD เราใช้เวลา ส่วนดีไซน์เบื้องต้นเราใช้มือ ส่วนโปรดักชั่นเป็น CAD อุปสรรคสำคัญคือต้องใช้ คอมพิวเตอร์ราคาแพง ซอฟต์แวร์ และปรินเตอร์

ค่อยๆพัฒนาไปเรื่อยๆ ค่อยๆเข้ามาแทนการ Sketch มือเล็กน้อย แล้วก็กลายเป็น CAD ทั้งหมด ยุคต่อมา ยิ่งงานออกแบบมีเยอะ การแข่งขันมีเยอะก็ต้องทำ CAD ทั้งหมด “เจ้าของงานบอกว่าถ้าไม่ใช้ CAD ไม่จ้าง โปรเจคใหญ่ๆถ้าเขียนมือผมไม่เชื่อ” พูดงี้เลยก็มี

หัวใจคือทำยังไงให้คนอื่นเข้าใจงานออกแบบของคุณ?

ใช่ “ตราบใดก็ตามที่เราไม่สามารถทำให้คนอื่นเข้าใจงานออกแบบของเราได้ ผมถือว่าเรายังไม่ประสบความสำเร็จ” พอหลุดจากวงจรเรา เช่นผู้รับเหมา หรือ เจ้าของงาน ทำยังไงให้เข้าใจงานคุณ เขียนตีฟ มันตรงกับแบบคุณรึป่าว แล้วสร้างได้รึป่าว การเขียนภาพ 3 มิติ ทำไงก็ได้ให้มันหรู แล้วเอางานนี้ไปโชว์ ข้อมูลต่างๆ งานออกแบบซับซ้อนก็ยิ่งซับซ้อน ถ้าคุยกับงานโครงสร้าง และงานระบบ เราก็ต้องอธิบายทุกอย่าง

การเขียน Shop drawing ต้อง Combine กับคนอื่นด้วยนะ แต่ดราฟท์ต้องมีประสบการณ์มากๆเลยนะ ถ้า ดราฟท์ทั่วๆไป ต้องมาถามเราว่าอันนี้เอาไง ก็เหนื่อย

แล้วอะไรทำให้เริ่มศึกษาเรื่อง BIM อย่างจริงจัง

ทำงานด้วย CAD มาระยะนึงก็มองหาว่า เรามีอะไรมาแก้ปัญหานี้ได้ solve ภาระต่างๆที่เล่าให้ฟังได้ คนทำงานไม่ต้องหลับ ไม่ต้องนอน เพราะงานมันหนักตลอด ในยุคแรกเราไม่รู้จัก BIM หรอก ก็ทดลองหลายๆอย่าง หาไปเรื่อยๆ

ประมาณปี 2543 จริงๆก่อน 43 เริ่มมี BIM แล้วหล่ะ เพราะคอมพิวเตอร์มันค่อนข้างดีขึ้น แต่กก่อนคุณมีตัง 40,000-50,000 บาทก็ยังทำ 3D ให้ Smooth ไม่ได้ ยุคแรก CAD ใช้เงินเป็น 1,000,000 บาทเลยนะ ต้องซื้อทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์รุ่นโบราณแล้วก็ช้า ยุคหลังเริ่มมีซอฟต์แวร์ที่ดี คอมพิวเตอร์เร็วขึ้น Gen ภาพ 3 มิติได้ คอมพิวเตอร์ที่ Spec ดีขึ้นเนี่ยแหละ เป็นจุดพลิกวงการ

ก่อนปี 2453 BIM คืออะไร หาไม่ได้ สุดท้ายต้องหาจากเมืองนอกแล้วแหละ ต้องซื้อตำรามาอ่าน ก็อ่านตำราไป ขณะที่เราทำงานไปด้วย เราเห็นว่ามีความเป็นมาของมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในยุคแรกหลายคนบอกว่าอีกนานกว่าจะมา เขายังไม่สนใจหรอก เรือง BIM

เรียกว่า รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง ได้ไหม

มันเป็นความเสี่ยง เราไปแอบเรียน นั่งเรียนรู้ ลองค้นคว้าเอง ทำผิดทำถูก ก็ไม่รู้แหละ ลองเสี่ยงทำไป เราต้องไปซื้อตำราเล่มหนาๆมานั่งศึกษา (หัวเราะ) “สิ่งที่เราทำอาจจะล้มเหลว หรืออาจจะเอามาใช้ไม่ได้ก็ได้” คุณต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหน ถ้าคุณเป็นเต็กแล้วทำอะไรไม่ได้เลยมันจะดีหรอ ต้องไปหาดราฟท์แมนเรามองเห็นเลยว่าดราฟ์แมนต้องโต โตแล้วต้องไปทำงานด้านอื่น เด็กรุ่นใหม่ก็ไม่อยากเป็นดราฟ์แมทแล้ว เพราะเหนื่อย เรามองเห็นว่าโอกาสเป็นแนวนี้ วันนั้นไม่รู้หรอกว่าคิดถูกหรือคิดผิด ใช้เสี่ยงเอา ถ้าคิดผิดก็ต้องยอมรับความล้มเหลว ถ้าถูกก็มีชีวิตต่อไปได้ ตอนนั้นก็อายุ 40 กว่าแล้ว

ผมเริ่มหาคำตอบเรื่อง BIM ไปเรื่อยๆ ยุคนั้นคนขายบอกว่า Revit = BIM แต่เราบอกว่าไม่ใช่ BIM คือ Process แต่พออีกค่าย ArchiCAD = BIM แล้วสุดท้ายยังไง จนเราเริ่มได้คำตอบ แต่คนอื่นไม่เข้าใจ เราก็ไม่ได้เสียเวลาไปอธิบายให้เขาฟัง พอถึงจุดนึง BIM ก็เริ่มแพร่หลายขึ้น เริ่มมีการวิจัย มี Paper ออกมา พอเราเรียนรู้ได้ มันไม่ใช่เรื่องเครื่องมือเขียนแบบแล้วหล่ะ เป็นเรื่องใหญ่ ต่อยอดอะไรได้อีกมากมาย

พอมาใช้ BIM จริงๆแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

เริ่มทดสอบกับงานขนาดใหญ่เลย ตอนนั้นรับจากดีไซนเนอร์มา ดีไซน์เนอร์อยากได้อะไร ต้องการส่งแบบเป็นอะไรที่เขาต้องการ ทุกขบวนการอยากรับยังไง เราทำหมด ถามว่าเป็นยังไงหรอ “เจ๊ง” (หัวเราะ) ถ้าคิดเป็นตัวเงินใครจะไปทำ ได้เงินน้อย ต้องพิมพ์แบบ A0 ไม่ต่ำกว่า 300 แผ่น ตัดสินใจทำคนเดียว ถือว่าทำคนเดียว ขาดทุนคนเดียว

“แต่ผมถือว่างานเป็นครู” คนจ้างไม่ได้พูดว่าต้องใช้ BIM แต่บอกว่าต้องส่งแบบ CAD ไม่ต่ำกว่าเท่านี้แบบ ในแบบต้องมีภาพ 3 มิติเท่านี้รูป และมี Animation ทำ BOQ ออกมา ทุกอย่างต้องออกมาในงบเล็กๆ งานแรกก็ขาดทุนเลย แต่ว่าถือว่าได้พื้นฐานตรงนี้ออกมา ได้ Case study ออกมา วันที่ส่งงานนั่งพิมพ์แบบถึงเช้า ก็ส่งทันนะ (หัวเราะ)

จากล้มลุกคลุกคลานก็เริ่มมั่นคงและต่อยอด

พอเรารู้ก็เริ่มพัฒนาเรื่อยๆซอฟต์แวร์เป็น Tool แต่ว่า Concept ของ BIM คือ Process แล้วใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่กลไกสำคัญคือ “คน” ถึงแม้มีเครื่องมือวิเศษที่สุด แต่ถ้าคนไม่รู้วิธีการดำเนินการก็ไม่รู้ขั้นตอนในการทำงาน อันนี้เรื่องใหญ่

เราต้องสร้างทีมให้ทีมทำงานได้

เราพยายามหาคำตอบทีละขั้น ทีมที่เราสร้างเริ่มทำงานได้ แต่ก็เจอปัญหาใหม่ “ถ้าวันใดวันนึงที่เราไม่ได้รับผิดชอบแล้ว ทีมก็จะแตกสลาย” มันเป็นแบบนี้ตลอด บริษัทก็จะบอกว่าอย่าไปสอนเลย เดี๋ยวพอเป็นแล้วเขาก็ไม่อยู่ ก็ลาออกไป บริษัทก็ไม่ได้คน มีของแล้วก็ไปหาที่อื่นทำดีกว่า

สำคัญกว่า “ทำเป็น” คือต้อง “ยั่งยืน”

เดี๋ยวนี้ใครๆก็สอนทำ BIM เต็มไปหมด คุณหาเรียนได้ง่ายๆ แต่มากกว่าไปสอนใช้งาน แต่ทำยังไงให้ทำงาน เป็นทีม ให้สามารถ Operate ได้อย่างยั่งยืน เป็นเรื่องยาก แล้วก็เป็นเรื่องที่ไม่มีคำตอบ มันต้องค่อยๆปรับ แต่เมื่อเราเข้าใจเรื่องพวกนี้ เราก็สามารถเตรียมทรัพยากร เพื่อให้เรา Implement BIM กับองค์กรแต่ละประเภทได้ คือ

“ไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่มีองค์ประกอบที่เราต้องคำนึงถึงหลายๆด้าน ไม่ใช่ว่าเขียนโปรแกรมแล้ว Implement” ได้ คนคือความสำคัญ การทำคนให้ Change ต้องทำไง ต้องทำไงให้คนมีทัศนคติแบบนี้ ต้องทำยังไง ที่สำคัญคือนโยบายองค์กร ทำไงให้ผู้บริหารเกิดความยั่งยืนได้

แน่นอนว่าผู้บริหารต้องการผลลัพธ์ แต่ไม่รู้ว่าวิธีการทำยังไงให้ได้ผลลัพตามนี้ เราเดินไปบอกว่าให้เขา Support BIM คืออะไร เขาไม่อยากรู้ แต่ว่าเขาจะถามย้อนกลับมาผมจะได้อะไร แล้วคุณจะทำได้ออกมาหรือเปล่า โดนท้าทายกับเรื่องพวกนี้ ทำยังไงขั้นตอนในการเดิน ควรจะเดินยังไง วางอะไรบ้าง ต้องเตรียมอะไร ป้องกันอะไร ทำยังไงจะ Keep คนพวกนี้ ที่เป็น BIM Champion จะทำยังไงให้เขาอยู่ได้ยังไง และสุดท้ายที่สำคัญ องค์กรคุณจะเป็น Digital คุณต้องทำไงบ้าง เพราะ BIM มันเกี่ยวกับดิจิทัลและเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง ที่เป็น Data centric

สร้างยังไงให้ยั่งยืนคือความท้าทาย เป็นอนาคตของวิชาชีพ ถ้าเราสอน Software tool ต้องเรียนทุกปี ไม่จบซักที เดี๋ยวก็ออกใหม่แล้ว มีคำสั่งนู่นนี่มา คุณต้องอยู่ตลอดไปหรอ

เราต้องทำให้เขารู้ว่ามันมีประโยชน์กับเขา การ Implement BIM ต้องยอมรับความเสียหายในระดับนึง เพราะเหมือนต้องทำงาน 2 อย่างคือ ทำงานแบบเดิม และทำงานแบบใหม่ คนนึงจะคร่อม 2 เรื่อง ส่วนนึงสูญเสียไป กว่าจะปรับตัวให้เลือกอันใดอันนึงได้ ก็ต้องเสียเวลาหรือเสียคนนั้นลงไป กลายเป็นว่าต้องทำมากกว่าเดิม บางทีอาจเกิดความรู้สึกว่า มีความเสียหายที่เกิดขึ้น ลองผิด ลองถูก ทำแล้วใช้ไม่ได้ BIM  กลายเป็นยาขม ทำแบบเดิมดีกว่า เลิก

มองการเรียนรู้เรื่องใหม่ให้เป็นเรื่องปกติในชีวิต

คุณจบมา อายุ 25 ปี ต้องทำงานถึง 60 ปี นับๆดูประมาณ 40-50 ปี มีโอกาสที่จะได้เจอเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่รู้ตั้งกี่อย่าง เรามีบทเรียน เราเห็นภาพ พ่อผมเป็นสถาปนิก ผมเกาะโต๊ะเขียนแบบตั้งแต่เด็ก เขียนแบบด้วยมือ พอถึงระยะนึงมันมีปากกาเขียนแบบ ก็ต้องไปซื้อมา ซื้อมาเขียน เราเห็นทันทีเลยว่าต่อยอดไม่ได้แล้ว พอเขาเห้นคอมพิวเตอร์ มุมมองหรืออะไรมันไม่ได้ ช่วงชีวิตนึง ตอนนี้มันเร็วอาจจะเปลี่ยน 2-3 ครั้ง ก็บาดเจ็บ จากมือเป็น CAD ก็บาดเจ็บ แล้วจาก CAD เป็น BIM ก็บาดเจ็บ “ถ้าเราตามไม่ทันเราจะต้องหยุดอยู่ตรงนี้ แล้วทำมาหากินไมได้ ไปปลูกต้นไม้ ทำสวน ทำอย่างอื่น” (หัวเราะ)

วางรากฐานกับการสร้างมาตรฐาน

Implementation ขององค์กรแต่ละองค์กรเป็นงานที่เหนื่อยมาก เริ่มแรกเลยคือ HR ไม่รุ้จัก BIM Modeler, BIM Manager หรอก เขาถามว่าเป็นดราฟท์หรอ หรือถ้าเป็นสถาปนิกเขาคิดค่าจ้าง A1 แผ่นละ 500 บาท แต่ทำ BIM ไม่ได้นับแผ่นไง นี่แหละคือปัญหาที่เราต้องเจอ ผมจ้างทำ BIM คิดเป็นแผ่น แผ่นละเท่าไหร่ ถ้าทำ BIM ยังไม่รองรับ ระบบก็ยังไม่รองรับ ในตลาดคิดเป็นตารางเมตร คิดเป็นกี่บาท

BIM เป็นกระบวนการทำงานที่เกี่ยวพันกับคน ส่วนใหญ่เกี่ยวกับคน เพราะคนไม่ทำงานตามมาตรฐาน แต่ว่า BIM เป็นการทำงานร่วมกันหลายคนจึงต้องมีมาตรฐานเป็นตัวยึด มาตรฐานในโลกนี้มีเยอะเลย จะเอาอันไหน จะเป็นฝรั่ง จีน สิงคโปร์ ตรงนี้เองต้องเป็นเรื่องที่มานั่งจัดการกันว่าบ้านเราจะเอายังไง

ผมทำมาตรฐานให้ วสท. และ สภาสถาปนิก มี BIM Guideline ก่อน แล้วให้ดูความเชื่อมโยงกัน ทำให้ความก้าวหน้าด้าน BIM ต้องมีทิศทางในทางเดียวกัน อย่างน้อยหยิบมาแล้วนั่งอ่าน แล้วทดลองใช้ ให้ Apply ในการทดลองใช้ ตรงนี้คือสิ่งที่ทำที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ทำให้ส่วนรวม

จากประสบการณ์ ใครในวงการก่อสร้าง Implement BIM ง่ายกว่ากัน

บริษัทรับเหมาก่อสร้าง Implement BIM ได้เร็วและดีกว่าดีไซน์เนอร์ เพราะผู้รับเหมาองค์กรมีวินัยสูงกว่าบริษัทออกแบบ ถ้าคุณไม่ทำ คุณตาย ถ้าทำคุณได้กำไร บริษัทก่อสร้างงบ 100 ล้านบาท ผู้รับเหมาได้เงิน 100 ล้านบาท ผลกำไร 10% แต่ผู้ออกแบบได้ 5-7% ซึ่งอยู่ตรงเศษตรงนี้ สถาปนิกมัก Implement ยาก เน้น Creative เป็น ศิลปิน เป็นเรื่องธรรมชาติ ทั้งโลกก็เป็นแบบนี้ (หัวเราะ)

BIM จะเข้ามา Disruption จริงหรือไม่

BIM จะช่วย Disrupt มันเข้ามาเป็นยุคๆอยู่แล้ว “คุณไม่มีทางไปห้ามมัน ไม่มีทาง” แต่การทำธุรกิจคือการช่วงชิงพื้นที่ กับช่วงชิงโอกาส และทำบนผลกำไร คุณต้องสร้างประสิทธิภาพในการยึดพื้นที คุณต้องมีโอกาสดีๆ ไม่งั้นคุณจะเสียเปรียบตลอด ผู้รับเหมามีการสู้ด้วยราคาตลอด อะไรที่ลงทุนต่ำ เขาก็ต้องทำ จุดนี้เองเป็นส่วนที่ผู้รับเหมาเอาเทคโนโลยีไปใช้แล้วเห็นประโยชน์ได้เต็มๆ ปูนนครหลวง เขามีรีวิวให้ดูประหยัดการใช้เครน เดิมใช้ 3 ล้านบาท แล้วแก้ปัญหา เหลือ 1 ล้านบาท ก็ได้คืนแล้ว วงการก่อสร้างได้ประโยชน์ เพราะประสิทธิภาพดีขึ้น ต้นทุนน้อยลง และลดปัญหาต่างๆที่อยู่ในวงการที่เขาทำงานได้มากขึ้น “ธุรกิจแข่งขันกันที่เรื่อง Management วัสดุต้องจากที่เดียวกัน BIM ต้องไปช่วยเรื่อง Management”

ผมทำเรื่องพวกนี้มาแล้ว วันนี้ไม่ต้องพูดแล้ว “วันนี้ทุกคนเห็นแล้ว ว่าถ้าทำคุณได้ประโยชน์ไป ถ้าไม่ทำอีกไม่นานคุณก็เลิกทำเอง หรือไม่ก็เป็น Sub (เป็นผู้รับเหมาช่วง) ของคนที่ทำแล้ว”

อนาคตวงการก่อสร้างไทย

คุณต้องก้าวไปข้างหน้า 50 50 คุณอยากเสี่ยงมั้ย แล้วยอมรับได้มั้ย บางคนบอกว่า BIM อยู่อีก 20 ปี ผมไม่เชื่อ และอนาคตจะเป็นยังไง ผมไม่รู้ เอสซีจีบอกว่าว่าคนใช้ BIM บ้านเรา 10% เป็นเรื่องจริง วิศวกร หรือสถาปนิกที่ได้ทะเบียนเซ็นแบบมีประมาณ 200,000 คน มีคนใช้ BIM บ้านเราไม่เกิน 20,000 คน หรือ 10,000 เศษๆ และก็มีระดับความสามารถที่แตกต่างกันเยอะ ซึ่งส่วนมากเป็น Modeler มากกว่า 80%

อนาคตยังไงก็พัฒนาไปเรื่อยๆ คนในวงการก่อสร้างก็พัฒนาตามไปทีละขั้นๆ บ้านเรายังมีข้อจำกัดและเรื่องโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่ได้รองรับ 100% เช่น หน่วยงานที่ดูแลกำกับ หน่วยงานระดับชาติ ยังไม่ขยับ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพก็ทำไป ตามยถากรรม เราพัฒนาอันไหนก็ทำไปตามที่สามารถทำได้ ถ้าไปนั่งรอ แล้วเขาทำต่อ เราก็หมดโอกาส

“อนาคตเราไม่ได้แข่งกับคนที่อยู่บ้านเราแล้วนะ เราแข่งกันคนที่เป็นสากล” บ้านเรามี 10 งาน ถ้ามานั่งแข่งกันอยู่รับรองกินกระดูก (หัวเราะ) ต้องมองออกไปข้างนอก มีเนื้อหนังได้อีกเยอะกว่า มองให้เป็นสากล แล้วพัฒนาตัวเอง ให้รองรับตลาดนั้น คุณต้องออกไปข้างนอก เปรียบเทียบให้เห็นภาพภาคการท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวปัจจุบันไม่พอ ต้องดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ “หาอะไรที่ทำแล้ว ขายทีเดียวได้ทั้งโลก” พัฒนาศักยภาพเรา ให้ก้าวเข้าไปสู่สากล