Green Building หรือ การก่อสร้างอาคารเขียว คืออะไรและทำไมผู้ออกแบบถึงจำเป็นต้องรู้จักคำนี้ 

กระแสรักษ์โลกเป็นที่กล่าวถึงในระดับโลกเป็นอย่างสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แทบทุกวงการต่างหันมาให้ความสำคัญกับหนทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวงการสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง ไม่ว่าอาคารที่ถูกออกแบบมาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน หรือเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ช่วยลดการสร้างมลภาวะต่อโลกต่างมีปรากฎตามสื่ออย่างต่อเนื่อง และสิ่งนี้คือ Green Building หรือ อาคารเขียว

Green Building หรือ อาคารเขียว คืออาคารที่ถูกออกแบบมาให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน หรือเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ช่วยลดการสร้างมลภาวะต่อโลก

ความยั่งยืนในทุกขั้นตอนของ Green Building (อาคารเขียว)

การจะเป็น Green Building (อาคารเขียว) จะต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่ใช้ ผู้อาศัย และมลภาวะที่ปลดปล่อยในตลอดวงจรอายุของอาคาร ซึ่งทุกขั้นตอนอาจเกี่ยวข้องกันอย่างสำคัญ ดังนี้

  • การเลือกทำเล ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และลักษณะผู้อยู่อาศัย โดยคำนึงถึงความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนโดยรอบ ไม่ทำลายสภาพแวดล้อมดั้งเดิม
  • การออกแบบอาคาร โดยให้พึ่งพิงและสัมพันธ์กับธรรมชาติ ทั้งเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานอาคารและสิ่งแวดล้อม
  • การก่อสร้าง ประยุกต์เอาเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง ลดขยะและมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้าง เช่น 3D Printing หรือ Prefabrication
  • การวางแผนก่อสร้าง นำเทคโนโลยี BIM มาปรับใช้เพื่อให้ทุกฝ่าย ทั้งสถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา เห็นภาพเดียวกัน ทำงานร่วมกันได้สะดวกมากขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง 
  • การเลือกวัสดุที่เป็นมิตร เช่น เลือกใช้วัสดุที่เหลือจากโครงการก่อนหน้า วัสดุมือสอง วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงาน หรือวัสดุที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระดับน้อย
  • การจัดการทรัพยากรในอาคาร ต้องวางแผนตั้งแต่การออกแบบเพื่อการบริโภคทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างมลภาวะน้อยที่สุด เช่น ระบบกักเก็บน้ำฝนเพื่อลดการบริโภคน้ำ การเลือกใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ การติดตั้งแผงโซลาห์เซลล์ การเลือกใช้กระจกที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร เป็นต้น
  • ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อาศัย ทั้งในแง่ความปลอดภัย และสุนทรียะในการอยู่อาศัย

เกณฑ์ของอาคารเขียว ต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้าง และใช้งานจริง

Prefabrication หนึ่งในวิธีการก่อสร้างที่แสดงความรักษ์ต่อโลก

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ก่อเกิดกระบวนการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนการก่ออิฐฉาบปูนแบบเดิมๆโดยใช้เวลาน้อยกว่า ใช้แรงงานคนน้อยกว่า ความผิดพลาดน้อยกว่า และปลดปล่อยมลภาวะต่อโลกน้อยกว่า อาทิ เทคนิคการขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติ หรือ 3D Printing และ Prefabrication หรือการผลิตชิ้นส่วนต่างๆของตัวอาคารจากโรงงาน ไม่ว่าจะใช้วัสดุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ไม้ เหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วนำชิ้นงานสำเร็จรูปมาประกอบที่หน้าไซต์งาน ชิ้นงานที่ผลิตจากโรงงานสามารถควบคุมมาตรฐานได้ ผลงานที่ได้จึงมีคุณภาพ แม่นยำ ลดความผิดพลาดจากแรงงานคน จึงลดต้นทุนและเวลา รวมทั้งลดขยะจากการก่อสร้างอีกด้วย

การประกอบชิ้นส่วนของอาคารที่ผลิตด้วยไม้จากโรงงานที่หน้าไซต์งานจริง

(ขอบคุณภาพประกอบจาก www.timbertradernews.com)

ส่องตัวอย่างอาคาร เมื่องาน Prefabrication x Sustainability = BMW Experience Center

ARCHIHOPE ได้ออกแบบอาคาร BMW Experience Center เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็นยิ่งกว่าโชว์รูมรถยนต์ ด้วยแนวคิดความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งแฝงอยู่ในทุกส่วนของอาคารทั้ง 5 ชั้น ตั้งแต่การออกแบบพื้นที่ให้เปิดโล่งจากบนสู่ล่าง ภายในจึงสว่าง ลดการติดตั้งอุปกรณ์ไฟ ออกแบบให้มีผนังชั้นที่สองเพื่อให้ร่มเงาภายในอาคารในฤดูร้อน และกักเก็บความร้อนในฤดูหนาวเพื่อประหยัดพลังงาน เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่สร้างมลพิษ และด้วยข้อจำกัดด้านระยะเวลาและต้นทุน การก่อสร้างด้วยวิธี Prefabrication จึงเป็นตัวเลือกการก่อสร้างตอบความต้องการ

ลวดลายสามเหลี่ยมซึ่งได้แรงบันดาลใจจากยูนิตสามเหลี่ยมที่ปรับเปลี่ยนได้ของ NEXT 100 รถดีไซต์ต้นแบบจาก BMW ได้ถูกบรรจงฉลุลงบนสแตนเลสสตีลสีขาวเพื่อผลิตผนังอาคารด้านนอกด้วยวิธี Prefabrication ชิ้นส่วนถูกตระเตรียมไว้ก่อนแล้วจากโรงงาน ก่อนนำมาประกอบบนอาคารที่ไซต์งาน สถาปนิกเลือกใช้สแตนเลสสตีลเพราะเป็นวัสดุที่ปลอดภัย ทนทาน ไม่เป็นสนิม และสีสันไม่เปลี่ยนตามกาลเวลา ทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิลได้ ตอบนิยามแห่งความยั่งยืนในทุกองค์ประกอบ

นอกจากนี้ ส่นประกอบทุกส่วนของอาคารได้ถูกออกแบบให้สอดคล้องกัน จากภายนอกสู่ภายใน และสู่พื้นที่ต่างๆภายใน เชื่อมโยงพื้นที่แสดงรถยนต์ในโถงนิทรรศการ สู่พื้นที่อเนกประสงค์สองชั้นที่มีทั้งส่วนไลฟ์สไตล์ ส่วนขายสินค้า ส่วนพักผ่อน ส่วนจิบน้ำชา และคาเฟ่ เพื่อผสานประสบการณ์ของการจัดแสดง การขาย ลูกค้าสัมพันธ์ และบริการหลังการขายมาไว้ในที่เดียว โดยไม่มีผนังคั่นระหว่างแต่ละส่วน สร้างความรู้สึกถึงการเคลี่อนไหวได้อย่างอิสระแก่ผู้มาใช้บริการ

BMW Experience Center เมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน

(ขอบคุณภาพประกอบจาก Jianquan Wu)

Facade ของ BMW Experience Center ผลิตด้วยวิธี Prefabrication

(ขอบคุณภาพประกอบจาก Jianquan Wu)

พื้นที่ต่างๆภายในอาคารถูกออกแบบให้เชื่อมโยงถึงกัน และประหยัดพลังงาน

(ขอบคุณภาพประกอบจาก Jianquan Wu)

Precast Concrete System ทางเลือกใหม่ของงาน Prefabrication จาก CPAC Green Solution

หาก Prefabrication คือวิธีการก่อสร้างที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆจากในโรงงานด้วยวัสดุหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไม้ เหล็ก หรือคอนกรีตเสริมเหล็ก Precast Concrete System คือการหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นองค์ประกอบของอาคารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็น พื้น ผนัง บันได จากในโรงงาน มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทำให้ได้ชิ้นงานที่มีมาตรฐาน และเมื่อนำมาประกอบในพื้นที่ก่อสร้างจริงจะสามารถลดขั้นตอนการบริหารการก่อสร้างหน้างานจริงลงไปได้มาก (Lean Construction)

การหล่อผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยเทคโนโลยี Precast Concrete System จากในโรงงาน

ข้อดีของ CPAC Precast Concrete System

  • การหล่อขึ้นรูปจากโรงงาน จึงมีจำนวนชิ้นงานที่น้อยเมื่อเทียบกับการก่ออิฐฉาบปูน ทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและการดูแล สะดวกต่อการควบคุมคุณภาพและงบประมาณ
  • ชิ้นงานมีมาตรฐาน ควบคุมคุณภาพจากโรงงาน
  • ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับการก่อสร้างโดยการเทคอนกรีตทั่วไป
  • ลดการใช้แรงงานคน และความผิดพลาดจากแรงงานคน ซึ่งมีผลต่อระยะเวลาก่อสร้าง และงบประมาณ
  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะและมลภาวะจากการก่อสร้างหน้าไซต์งาน อาทิ เศษวัสดุ ฝุ่นผง รวมถึงมลภาวะทางเสียง ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบอิฐฉาบปูนทั่วไป ทำให้หน้างานก่อสร้างสะอาดเรียบร้อยกว่าการก่อสร้างทั่วไป
  • ผิวสัมผัสของชิ้นงานที่ได้จากการหล่อ Precast มีความเรียบ สะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยไม่ต้องเสียเวลาตกแต่งผิว หรือเก็บรายละเอียด
  • หากเป็นการหล่อผนัง Precast จะมีความแข็งแรงกว่าการก่ออิฐ เพิ่มการรับน้ำหนัก ลดการติดตั้งเสาจึงเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในตัวอาคารได้
  • เหมาะกับการก่อสร้างโครงการที่ประกอบด้วยอาคารรูปแบบคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เพราะทำให้ต้นทุนต่ำ

การติดตั้งชิ้นส่วนที่ขึ้นรูปด้วย Precast Concrete System ช่วยลดขยะและมลภาวะจากการก่อสร้างหน้าไซต์งานได้ถึง 50% ทำให้หน้างานก่อสร้างสะอาดเรียบร้อยกว่าการก่อสร้างทั่วไป

ตัวอย่างโครงการบ้านพักอาศัยที่มีหน้าตาใกล้เคียงกัน ซึ่งสร้างด้วย  Precast Concrete System

โครงการ S GATE กรุงเทพ – ปทุมธานี

เทคโนโลยี Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution คืออีกหนึ่งทางเลือกของการก่อสร้างที่ยั่งยืนสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อม หากคุณกำลังออกแบบอาคาร และสนใจนำเทคโนโลยีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมอาคารของคุณสู่ความเป็น Green Building ที่ CPAC เรามีทีมงานที่ปรึกษามืออาชีพ เพื่อให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การออกแบบ ปรับแบบให้สอดคล้องกับการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป จัดทำแบบโครงสร้าง การประกอบและติดตั้งชิ้นงาน การแก้ปัญหาในการก่อสร้าง ช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่คุณต้องการ

สนใจสอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Inbox คลิก! m.me/cpacthailand หรือติดต่อ CPAC Contact Center โทร. 02-555-5555

ดาวน์โหลดสินค้าจาก CPAC Green Solution ได้ฟรี ! ที่ https://www.bimobject.com/th/cpac