(ภาพจาก Scott Webb on Unsplash)
Green Building หรืออาคารเขียว ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ของการก่อสร้างอาคาร แต่เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับอาคารยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพราะอนาคตที่ยาวไกลอยู่ในมือของทุกคน
เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาคารสีเขียว ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การประเมิน และการคำนวณคะแนน เพื่อเป็นประโยชน์ในงานออกแบบและก่อสร้างอาคารครั้งต่อไป ไม่ว่าจะอาคารหลังใหญ่ที่พร้อมเข้าสู่การรับรองอาคารอย่างเป็นทางการผ่านเกณฑ์ของ LEED หรืออาคารขนาดใดก็ตามเพื่อความยั่งยืนทั้งกับตัวอาคารเองและสิ่งแวดล้อม
Green Building vs LEED
(ภาพจาก CHUTTERSNAP on Unsplash)
เวลาพูดถึงอาคารเขียว มักจะมีคำสำคัญเหล่านี้มาคู่กันเสมอ แล้วคำทั้งหมดนี้เหมือน ต่างกัน หรือสัมพันธ์กันอย่างไร?
อาคารเขียว หรือ Green Building คือภาพรวมภาพใหญ่ของมาตรฐานสำหรับอาคารที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรตลอดอายุของอาคาร ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง แล้วเสร็จใช้งาน ดูแลรักษา ซ่อมแซม ไปจนถึงทำลายเมื่อหมดอายุหรือสิ้นสุดการใช้งาน
ส่วน LEED เป็นตัวย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานการให้คะแนนสำหรับวัดค่าของอาคารเขียว โดยจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อประเมินระดับความเป็นมิตรของสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมในทุกมิติของอาคารหนึ่งหลัง ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกพัฒนาโดยองค์กร U.S. Green Building Council (USGBC) ในสหรัฐอเมริกา และใช้เป็นมาตรฐานแพร่หลายทั่วโลก
แล้วแบบไหนที่จะเรียกว่าอาคารเขียว? ถ้าเป็นเมื่อก่อน เรามักจะคุ้นหูกับคำว่าอาคารประหยัดพลังงาน ที่เน้นไปที่หัวเรื่องของการลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุดทั้งกับการออกแบบและระหว่างการใช้งาน แต่สำหรับอาคารเขียวแล้ว คือการสร้างสรรค์อาคารหนึ่งหลังอย่างรับผิดชอบกับทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งวัสดุก่อสร้าง คุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม ระบบนิเวศ เศรษฐกิจสีเขียว มลภาวะที่จะปลดปล่อยสู่ภายนอก และภาพใหญ่ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
เกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการคำนวณคะแนน
(ภาพจาก USGBC)
จากแนวทางทั้งหมดถูกนำมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ และกำกับการให้คะแนน โดยทาง LEED ได้มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนตามประเภทของโครงการและอาคาร ได้แก่ LEED สำหรับอาคารสร้างใหม่ (BD+C) อาคารระหว่างใช้งาน (O+M) อาคารตกแต่งภายใน (ID+C) บ้านพักอาศัย (Residential) และการพัฒนาย่าน (ND) ซึ่งมีเงื่อนไขในรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป
แต่โดยรวมทั้งหมด มาตรฐานของ LEED มีหลักเกณฑ์ร่วมกันสำหรับพิจารณาในการประเมินระดับการรับรอง (ตาม LEED Version 4) โดยมีวิธีการให้คะแนนในแต่ละหัวข้อย่อย 2 แบบ ได้แก่ เกณฑ์ภาคบังคับ (Prerequisite) ที่จำเป็นจะต้องผ่านเท่านั้น และเกณฑ์ที่ประเมินด้วยคะแนน ซึ่งอัตราคะแนนแตกต่างไปตามแนวทางที่กำหนด
(ภาพจาก USGBC)
ในที่นี้ ยกตัวอย่างเกณฑ์คะแนน LEED สำหรับอาคารสร้างใหม่ โดยมีคะแนนในแต่ละหมวดหมู่ ดังนี้
- กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของโครงการ และผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานอาคารเขียว (1 คะแนน)
- ที่ตั้งและการคมนาคม (16 คะแนน) ได้แก่ ที่ตั้งไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการพัฒนา การสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะ มีจุดจอดจักรยาน ปริมาณช่องจอดรถยนต์ และพื้นที่จอดรถและบริการสำหรับพาหนะสีเขียว
- ที่ตั้งเพื่อความยั่งยืน (10 คะแนน) ได้แก่ การป้องกันมลภาวะที่จะเกิดจากการก่อสร้าง การประเมินและสำรวจที่ตั้ง การอนุรักษ์ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ การออกแบบพื้นที่เปิดโล่ง ระบบการจัดการน้ำฝน การลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน และการลดมลภาวะทางแสง
- ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (11 คะแนน) ได้แก่ การลดการใช้น้ำทั้งภายนอกและภายในอาคาร การติดตั้งมาตรวัดน้ำในทุกชั้นสำหรับรายงานการใช้น้ำ และการควบคุมคุณภาพน้ำ
- พลังงานและบรรยากาศ (33 คะแนน) ได้แก่ การทดสอบระบบพลังงานในอาคาร ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ ระบบตรวจวัดการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคาร การห้ามใช้สารทำความเย็นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน กระบวนการทดสอบระบบในอาคาร กระบวนการตรวจสอบความต้องการใช้พลังงานในอาคาร การใช้พลังงานหมุนเวียนและกพลังงานทดแทน
ตัวอย่างเครื่องมือการคำนวณคะแนน (ภาพจาก USGBC)
- วัสดุและทรัพยากร (13 คะแนน) ได้แก่ การจัดการคัดแยกและจัดเก็บขยะ การจัดการขยะจากการก่อสร้างและทำลาย ความคงทนของการก่อสร้างและอายุการใช้งาน การใช้งานวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองจากองค์กรภายนอกที่เชื่อถือได้
- คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (16 คะแนน) ได้แก่ ประสิทธิภาพของคุณภาพอากาศภายในอาคาร การจัดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ แผนงานการเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร วัสดุภายในอาคารที่มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์ระเหยง่ายตามเกณฑ์ การควบคุมและปรับปรุงคุณภาพอากาศทั้งระหว่างการก่อสร้างและก่อนเปิดใช้งานอาคาร การออกแบบระบบปรับอากาศให้อยู่ภาวะสบาย การใช้งานแสงธรรมชาติ และไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร
- นวัตกรรมในการออกแบบ (6 คะแนน) ได้แก่ นวัตกรรมในงานออกแบบ และมีผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบประกาศนียบัตรจาก LEED อยู่ในคณะทำงานของโครงการ
- การจัดลำดับความสำคัญในระดับภูมิภาค (4 คะแนน) ส่วนนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนข้อกำหนดของสาขาย่อย ซึ่งจำกัดเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
จากคะแนนทั้งหมดนำมารวมกันเพื่อแบ่งระดับของอาคารเขียว ได้แก่ ระดับผ่านการรับรอง ที่ 40-49 คะแนน, ระดับเงิน ที่ 50-59 คะแนน, ระดับทอง 60-79 คะแนน และระดับแพลตินัม ที่ 80-110 คะแนน
สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ Non CFC ช่วยตอบโจทย์เรื่องอาคารเขียวอย่างไร
อย่างที่ทราบกันดีว่า คุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นบทบาทสำคัญที่สุดอีกหัวเรื่องสำหรับงานออกแบบอาคารเขียว นั่นเป็นเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งคุณภาพชีวิตของผู้คน และการใช้งานพลังงาน อีกทั้งในรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานของ LEED เอง ก็มีการกำหนดในเรื่องนี้อย่างละเอียด
ในหมวดพลังงานและบรรยากาศ มีข้อย่อยเฉพาะซึ่งเป็นภาคบังคับที่จะต้องไม่ใช้สารทำความเย็นที่มีคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC ในงานระบบ ทั้งระบบระบายอากาศ ระบบระบายความร้อน และระบบทำความเย็น โดยเฉพาะระบบปรับอากาศ ที่จะต้องไม่ใช้สาร CFC และ HCFC-22 เพื่อลดการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม
การเลือกใช้งานระบบปรับอากาศและเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงคุณสมบัติภายในของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้ได้คุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ของมาตรฐานอาคารเขียว การเช็คทำได้ง่ายๆ เริ่มจากตรวจสอบชนิดของสารทำความเย็นแบบ Non CFC ที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม เช่น R32 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยสาร CFC สู่ชั้นบรรยากาศ อย่างเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Electric Mr.Slim Inverter PLY-Series ที่ใช้น้ำยา R32 และได้รับการรับรองฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (3 ดาว)
หรือระบบปรับอากาศแบบฝังในฝ้าเพดาน City Multi (VRF) Cassette Type 4 Way ที่ใช้การดีไซน์อุปกรณ์เสริมอย่างเซนเซอร์ที่ช่วยตรวจจับการใช้งานพื้นที่ ก็ช่วยประหยัดพลังงานระหว่างวันได้เช่นกัน หรือหากมีข้อสงสัยในเรื่องการเลือกสรรเครื่องปรับอากาศ ทาง Mitsubishi Electric ก็มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำระบบเครื่องปรับอากาศสำหรับอาคารและที่พักอาศัยเช่นเดียวกัน
ขั้นตอนการออกแบบก็นับว่าเป็นการวางรากฐานที่สำคัญของการออกแบบอาคารเขียว สามารถเลือกและดาวน์โหลดระบบปรับอากาศของ Mitsubishi Electric ที่เหมาะสมกับการออกแบบอาคารเขียว และทดลองกับ BIM ได้ที่ https://www.bimobject.com/th/mitsubishi-electric-th