*บทความนี้ถูกเขียนเมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2565 โดยรุ่นต่างๆของ Laptop อาจมีการอัพเดตและเปลี่ยนแปลงในอนาคต*

“เคยใช้คอมระดับปานกลางทำ Model อาคารสูงสมัยก่อน (7ปีที่แล้ว) ใช้หลายคำสั่ง Link บ้าง workset บ้าง หรือแม้กระทั่งวางแผนแยกตั้งแต่เริ่มเลยก็มี หลังๆ มา กลายเป็นความลำบากครับ ซื้อที่ดีดีไปเลย และนั่นก็เป็นต้นเหตุของบทความนี้ครับ”

ส่วนใหญ่ก็ใช้ Revit และ Naviswork เป็นหลักครับ แต่หลังๆ มาในช่วงสองปีที่ผ่านมาก็เป็น Model coordination Module ของ BIM360 เป็นส่วนใหญ่ Autodesk Forge แหละครับ ทางนั้นเป็น web based ก็เลยต้องขอสเปคแรงๆ หน่อยครับ

ปีที่ผ่านมาได้ทำงานหลายอย่างด้วย Workstation Laptop เลยคิดไว้ว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับการทำงานด้าน BIM ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ดี รีวิวนี้เป็นการรีวิวแบบเจาะจงผู้ผลิต แต่ผู้เขียนมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการเขียนบทความเชียร์นะครับ เป็นเพียงการบอกเล่าการใช้งานเท่านั้น

ชีวิตส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับ BIM และการประชุมเป็นหลัก งานที่ HOOK BIM management team ทำอย่างนี้ทุกวัน เป็นประจำมาเกือบ 7 ปีแล้วครับ Laptop สำคัญมากเหมือนกันนะครับ ถึงแม้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ของสำนักงานจะเป็น Desktop กว่า 70% แต่ก็คิดว่าแนวโน้มจะปรับให้เป็น แบบพกพา ไปเรื่อยๆ ครับ

บทความนี้คงกล่าวถึง Laptop ที่สร้างมาเพื่อระบบปฏิบัติการฝั่ง Windows เท่านั้นครับ เพราะผู้ใช้ใช้งาน Software ฝั่ง Autodesk เป็นหลัก ใจจริงชื่นชอบฝั่ง Apple มากๆ ที่ทำ CPU ตัวใหม่ออกมาโดยรวม Graphic ไว้ด้วย ซึ่งค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากๆ แต่ขอไว้เป็นเครื่องถัดไปนะครับ

ก่อนอื่น – ผมมีรถ และพร้อมจะเผื่อเวลาเมื่อมีประชุมนอกสถานที่ น้ำหนักของคอมพิวเตอร์ ไม่มีผลต่อการเลือกครับ

ขอเริ่มจากปัจจัยการเลือกซื้อในความคิดเห็นของผม ตามลำดับนะครับ

  1. การระบายความร้อน 

    • การระบายความร้อนเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าต้องการมากที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาแบบทำงาน หากระบายความร้อนได้ไม่ดี ถึงแม้จะเป็นเครื่องที่มี spec ระดับสูง ก็ใช้ทำงานได้ไม่นาน ความร้อนเป็นอุปสรรคสำคัญมากสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา

P1 Gen 4 เครื่องเก่าที่ผมค่อนข้างชอบการระบายความร้อน

Layout P16 Gen 1 ตัวปัจจุบันของผมครับ พัดลมใหญ่มากจริงๆ

2. การจัดวางภายในตัวเครื่อง

    • คอมพิวเตอร์พกพาเลือกที่ Layout การจัดวางอุปกรณ์ด้านในตัวเครื่อง การจัดวางอุปกรณ์สำคัญไว้ใกล้พัดลมระบายอากาศมากเกินไป การจัดช่องระบายอากาศ หรือแม้กระทั่งการวาง Port ต่างๆ ก็มีผลเช่นกัน

3. น้ำหนักของตัวเครื่องรวมถึงชาร์จเจอร์

    • เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องมีการแบกหรือเดินทางและพกพาไปยังสถานที่ต่าง ซึ่งต้องนำอุปกรณ์ไปด้วย ข้อนี้สำคัญมาก ขึ้นชื่อว่าเป็นอุปกรณ์พกพา ไม่มีใครอยากให้มันเทอะทะมากๆ หรอก จริงไหมครับ อีกอย่างคนทำงานด้านนี้ ปัญหาหลักๆ หนีไม่พ้นคงเป็นเรื่องหลัง ถ้าต้องแบกเครื่องไปไหนมาไหน แม้จะเป็นระยะทางไม่ไกล ก็ทำให้ชีวิตยากขึ้นเยอะเลยนะครับ

4. Spec ที่สามารถเลือกได้เอง

    • จริงๆ ข้อนี้ต้องชมทางฝั่ง Apple ที่วางแผนการขายที่ดี และทำให้กลุ่มลูกค้าเข้าถึงการ Custom Spec ได้ง่าย เป็นตัวอย่างให้แบรนด์อื่นๆ ได้ทำตาม ไม่ว่าจะเป็น DELL หรือ LENOVO การ custom แต่ละครั้งทำให้ผู้ใช้ที่มีความต้องการมาก (ขั้นสูง) สามารถเลือกได้อย่างไม่จำกัด เพราะความต่างของราคาหลักพัน มีผลต่อการตัดสินใจน้อยมาก หากซื้อมาแล้วไม่ได้ดั่งใจครับ

5. อายุการใช้งาน

    • Workstation ไม่ได้มีอายุ 5 ปีอีกแล้ว เพราะถึงแม้จะยังใช้งานได้ เทคโนโลยีก็ยังพัฒนาไปข้างหน้าได้อยู่ดี เลือกตามโอกาส กลุ่มผู้ใช้ BIM เลือกตามปริมาณและมูลค่าของงานอยู่แล้ว ตัดสินใจได้ง่ายว่าจะเลือกคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเท่าใด 2-3 ปี ก็เตรียมเปลี่ยนได้ ลองนึกดูว่า ใน Generation ที่ 12 Intel มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานเป็น แบบ P และ E Core นั่นทำให้การทำงานแบบ Multi Tasking ดีขึ้นมาก เหมาะกับวิธีการใช้ชีวิตปัจจุบันมากขึ้น แนวโน้มที่จะต้องเปลี่ยนบ่อยๆ สำหรับบางกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง ใกล้เข้ามาแล้วนะครับ

6. ไมโครโฟน กล้อง ลำโพง และ 5G

    • ส่วนนี้จำเป็นแน่นอน Laptop บางตัวที่ผมเคยมีประสบการณ์ประชุมด้วยมักจะมีเสียงก้อง และ อะไรที่วิ้งๆ บ่อยๆ หรือไม่ก็มีเสียงรบกวนเหมือนอยู่ในห้องที่มีคนเยอะๆ ตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งเมื่อเปิดกล้องคุยกันและมีจุดเขียวๆ (noise) เมื่อที่แสงไม่พอ ทำให้ความมั่นใจของผู้ใช้ (เมื่อทราบ) เสียความมั่นใจไปมากเลยทีเดียว
    • การใช้ มือถือ เป็น hotspot แชร์ wifi เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีต่อชีวิตประจำวันที่ต้องใช้โทรศัพท์ตลอดเวลาเท่าไรนะครับ ถ้าได้เลือกละก็ ลองแบบที่ใส่ sim ได้ก็ไม่เลวเลยนะครับ

 

ลองดูขั้นตอนการเลือกของผมกันนะครับ

  • เลือกจากขนาดของงานที่ใช้ก่อนครับ งานคือเงิน เงินก็นำมาซื้อคอม งานส่วนใหญ่ของผมที่ HOOK เป็นอาคารพักอาศัยรวม และอาคารสูงครับ โมเดลซับซ้อนมาก ส่วนใหญ่เป็นงานสถาปัตย์ หากเป็นพวก Production ส่วนงาน BIM Manager ก็ไม่ต้องสืบครับ ต้องเปิดทุกหมวดงานเลย เลือกที่ CPU ก่อนครับ CPU สำคัญที่จำนวนของ Core นะครับ และหากใช้งานที่ซับซ้อน ให้ดูที่วัตถุประสงค์ก่อนครับ ไม่แนะนำ CPU พวกประหยัดพลังงาน หรือที่ผลิตมาเพื่อใช้งานทั่วไปครับ ก่อนเลือกแนะนำให้เข้าไปดู Spec โดยละเอียดใน web benchmark  เพื่อเปรียบเทียบ หรือไม่ก็ค้นหาง่ายๆใน Google ก็ได้ครับ ฝรั่งรีวิวไว้เต็มเลยครับ
  • เลือกที่การรับประกันครับ On-site Service ครอบคลุมทุกกรณี ซื้อคอมดีดี ประกันต้องดีด้วยนะครับ ซ่อมเองแพงครับ ประกันสามสี่พัน เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายครับ
  • เลือกที่ Layout ของ การระบายความร้อน ของ ตัว Laptop ครับ ทุกคนน่าจะพอได้เห็น Alienware Gaming laptop ของ DELL กันมาบ้าง ผมชอบการวางพัดลมที่ดูดอากาศจากด้านล่างและระบายออกทางด้านหลังเครื่องมากๆ ซึ่งเป่าออกได้หมด ไม่ร้อนมือที่ keyboard อีกด้วย จริงๆ ผมชอบ P17 Gen2 ของ Thinkpad มาก เพราะความบึกบึน และพัดลมขนาดใหญ่มาก แต่ในปีนี้ Thinkpad ยกเลิกทั้ง P17 และ P15 มาออก P16 รุ่นเดียว และวางเครื่องใหม่ พัดลมทำ concept เดียวกับ gaming laptop หลังจากนั้นกระเป๋าตังของผมก็พร้อมฉีกทันทีครับ

ภาพพัดลมตอนที่ผมเลือกคอม ผมประทับใจมาก

  • แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรครับว่าภายในเครื่องวาง Layout อย่างไร จากประสบการณ์ผมมีสองทางครับ
    • เปิด Youtube ดูครับ ค้นหา Deassemble เครื่องเลย ถ้าใหม่หน่อยก็จะไม่มีให้เห็น แต่ลองดูครับ บางเครื่องทำภายในได้ยอดเยี่ยมมาก คุณอาจจะพบว่า ใน Laptop บางรุ่นมีการให้ Heat Sink ติดมากับ Storage ด้วยครับ จริงผมชื่นชอบ HP zbook มากๆ สนใจลองกดค้นหาดู ข้างใน เนียนมาก

ZBook Fuly 17 ที่ผมชอบมากภายใน ดีที่สุด

  • อีกทางหนึ่งคือ การ Download Manual สำหรับการซ่อมแซม ซึ่งโดยปกติ Laptop ทุกรุ่นจะมีสิ่งเหล่านี้คอย Support ในหน้า website อยู่แล้ว อย่างนี้จะเห็นมากเนื้อในมากขึ้นครับ
  • ตอนที่ผมเลือกซื้อ Laptop นั้น CPU Intel Generation 12th ได้ออกมาพอดี พิเศษหน่อย ตรงที่มีการแบ่งคอร์หลักและคอร์ทั่วไปออกจากกัน ซึ่งค่อนข้างหน้าสนใจเลยทีเดียว ในด้านการทำงานแบบ Multi-task เลือกที่ HX12850 คิดว่าคงเหลือๆ เพราะว่าก็เคยได้ใช้รหัสนี้ใน Gen11th มาแล้ว ไม่พบปัญหา เลยเชื่อและใช้กันต่อไป
  • จริงๆ เคยมีประสบการณ์กับทาง AMD อยู่เหมือนกัน แต่เป็นใน Desktop ใน series Treaddripper ซึ่งแรงสั่งได้ แต่เปลืองไฟมาก เข้าใจว่าคงไม่มีให้เลือกในรุ่นพกพา ก็ไม่เป็นไร Intel ตัวนี้ก็น่าจะดีมากๆ แล้ว ผลก็คือ ไม่ค่อยเห็นความต่างเท่าไร (ความรู้สึกนะครับ)

ภาพ เครื่องที่ผมสั่งจาก Think station Treaddripper มาครับ จะเห็นว่าใช้พัดลมถึง 2 ตัวช่วยกัน เอามาลง laptop คงไม่ไหวแน่

  • เลือกจาก Software หลักที่ใช้ในการทำงานครับ ผมใช้แต่ Google Chrome เลยเดี๋ยวนี้ สงสัยคงจริงอย่างพี่บางท่านในวงการ BIM ท่านว่าแหละครับ ว่าทำไปเรื่อยๆ จะเข้าใจว่า เราใช้ excel, powerpoint แล้วก็เช็คเมล์ มากที่สุด นอกจากนั้นก็ Autodesk Revit,Autodesk Naviswork มี CAD บ้างตอนที่รับส่งข้อมูลกัน
  • เลือกจาก Graphic Card ครับ จริงๆ อันนี้สำคัญ รอบนี้ผมทุ่มทุน จงใจเลือกรุ่นใหญ่ เพื่อให้ได้ graphic Card แบบแยก สายทำงาน Quadro A4500 / ที่มากับ Memory 16GB เหมือนเป็น Series ใหม่ด้วย และอยู่ในระดับกลางถึงสูง ภาพที่ผมแสดงเป็น Asbuilt ที่ทาง Lenovo เก็บภาพชิ้นส่วนก่อนการประกอบไว้ให้ เห็นได้ว่าตัวชิปของ graphic Card แยกออกมาจากบอร์ดเลย ไม่แน่ใจเรื่องประสิทธิภาพนะครับ ว่าดีขึ้นเท่าไร แต่ว่าชอบครับ เท่ดี

  • ต่อมาก็ RAM ครับ จริงๆ มีทั้งแบบ EEC และแบบปกตินะครับ แต่ประเด็นที่ใช้พิจารณาไม่ใช่จำนวนของ RAM ที่ให้มากับเครื่อง แต่เป็นความสามารถในการรองรับนะครับ เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันไม่แพงมาก สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นเรื่องขีดจำกัดมากกว่าครับ ผมเลือกแบบปกติ แล้วเดี๋ยวถ้าทำงานหนักๆ ไม่พอ ก็ค่อยสั่ง JIB มาเพิ่ม ดู Manual แล้ว น่าจะแงะเองได้ง่ายพอสมควร เคยเดินห้างและถามแรมในร้าน เด็กร้านถามว่า คอมพี่เป็นแบบไหนเนี่ย ทำไมใส่ แรมได้เยอะจัง ผมได้แต่อมยิ้ม

  • จอครับ เดี่ยวนี้จอนอกจากจะว่ากันด้วย Resolution และ Refresh rate แล้ว ขนาดของจอเป็นสิ่งสำคัญมาก ในความเห็นของผม (เฉพาะผมนะครับ) Laptop จอใหญ่ได้เปรียบ, หลายๆ ท่านเลือกใช้จอความละเอียดแบบ 4K ผมก็ชอบนะครับ สวยดี แต่พักหลังๆ ผมรู้สึกว่า มันทำให้เครื่องทำงานหนักไปนิด เลยขอ 2K ก็พอครับ เดี่ยวนี้เริ่มแยกไม่ออกแล้ว ทั้งเรื่องความละเอียดและ refresh rate
  • ความพิเศษครับ ความพิเศษของสิ่งต่างๆ ที่ประกอบกัน ฝาหลัง ขอแบบโลหะครับ คือความพิเศษเนี่ย มันยากนะครับ แต่มันต้องได้แบบว่า เห็นคอมปุ้บ รู้เลย เนี่ยแหละของจริง โปรฯ เค้ามาแล้ว วางตู้ม แล้วเสียงพัดลมก็บู้ตขึ้นมา ฟิลเดียวกับเครื่องรถน่ะครับ ไม่ใช่รถแต่งนะครับ แต่เป็นรถที่พื้นฐานดี วางเครื่องมาสำหรับการทำงานครับอย่างนั้น

บทสรุป

การทำงาน และวิถีชีวิตมีผลอย่างมากในการเลือกอุปกรณ์ บางท่านเองอาจจะชอบต่างกัน เหตุผลในการเลือกก็ไม่เหมือนกัน พูดให้ไม่ผิดก็คือ เลือกตามขนาดของงาน เลือกตามขนาดของเงิน ครับ แต่เชื่อไหมครับ ตั้งแต่ดำเนินอาชีพ BIM Manager มา คอมพิวเตอร์คืออุปกรณ์ (ไม่มีชีวิต) ที่คืนทุนไวที่สุดแล้วครับ ในเมื่อมีอุปกรณ์ราคาหกหลักได้ งานก็ต้องขยายขึ้นตามได้ จริงไหมล่ะครับ หรือส่วนนี้ผู้อ่านจะละไว้เป็นเพียงความเชื่อก็ได้นะครับ คนที่ลงมือ คือคนที่ทราบจริงๆ ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร

 

ปล. ผมแอบแนบราคาและ Spec ที่ผมซื้อไปรอบนี้มาเผื่อตัดสินใจนะครับ ไม่แพงอย่างที่คิด

ผมเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ทุกปีเท่าที่ทรัพย์อำนวย
เพราะถือว่าเป็นความสุขอย่างนึงครับ