BIMobject-Interior-designer-career-2021-Blog-Cover20

Interior designer หรือชื่อไทยคือมัณฑนากรนั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางเทรนด์การเติบโตของอสังหาริมทรัพย์ไทย แม้ว่าจะมีสะดุดไปบ้างจากวิกฤตโรคระบาดทว่าก็ยังฟื้นฟูกลับมาได้

ทว่า Interior Designer ในปี 2021 อาจแตกต่างกับเมื่อ 5-6 ปีก่อนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อผู้คนสามารถแต่งห้องตัวเองได้ตามใจ สินค้าต่างๆ หาง่าย มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วย เราควรปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ตัวเองยัง “ยืนหนึ่ง” ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามา นี่คือสิ่งที่ Interior Designer ยุคใหม่ควรรู้เพื่อการปรับตัวในอนาคต

Interior Designer กับการเดินหน้าในสายอาชีพปี 2021

2021 เป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในสายอาชีพต่างๆ อย่างมาก ทั้งผลกระทบจากโรคระบาดและการเปลี่ยนแปลงจาก Digital Disruption ซึ่งแน่นอนว่า Interior Designer เองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น การเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การออกแบบตกแต่งภายในสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นวงกว้าง ที่นอกจากจะทำให้งานตกแต่งภายในรวดเร็วและละเอียดขึ้น แต่ก็ส่งผลให้คนทั่วไปสามารถทำงานเหล่านี้ได้เองเช่นกัน

ซึ่งนั่นทำให้เกิดคำถามสำหรับหลายๆ คนว่า “แล้ววงการตกแต่งภายในจะเป็นอย่างไร” จนถึง “อาชีพนี้ยังไปต่อได้หรือไม่”

BIMobject-Interior-designer-career-2021-01-scaled

ผลกระทบของการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ Interior Designer ยุคใหม่

เทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลแค่ไหน ? จุดเปลี่ยนจริงๆ สำหรับงาน Interior Designer เห็นจะเป็นการเข้ามาของ 3D Model รวมถึงโปรแกรมช่วยเหลือต่างๆ จากที่ปกติสายงานตกแต่งและสถาปนิกต้องสเก็ตซ์มือ ทำโมเดลแบบจับต้องได้ กลายเป็นว่าทุกอย่างล้วนสร้าง ออกแบบ และจัดวางได้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว

การนำเสนอรูปแบบใหม่ถูกใส่เข้ามาในวงการก่อสร้างและการออกแบบ เช่น ใช้แว่น VR ในการดูแบบบ้าน 3 มิติ ใช้โมเดล 3 มิติสำหรับการนำเสนอ ก่อสร้าง คิดค่าจ้างงาน มีการแชร์ข้อมูลต่างๆ ผ่าน BIM (Building Information Modeling) เพื่อทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้ามาดูรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างโปร่งใส รวมถึงแก้ไขและนำเสนอได้อีกด้วย

สิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดคำถามมากมาย เช่น

  • มัณฑนากรยังจำเป็น/คุ้มมากแค่ไหน
  • ค่าใช้จ่ายที่ใช้กับมัณฑนากรเหมาะสมมากแค่ไหน
  • ค่าแรงในการออกแบบสามารถเพิ่ม/ลดได้อย่างไรบ้าง

เพียงแค่การเข้ามาของเทคโนโลยียังก่อให้เกิดคำถามมากมาย จนทำให้นักออกแบบตกแต่งภายในหลายคนต้องลดค่าจ้าง เกิดการตัดราคากันเองไม่น้อย โจทย์สำคัญต่อมาจึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดว่า Interior Designer ยุคใหม่จะต้องปรับตัวอย่างไร

เพราะจริงๆ แล้ว “การลดราคาจ้างงานไม่ใช่คำตอบของการทำงานยุคใหม่ การทำงานที่ตอบโจทย์ต่างหากที่สำคัญ”

Interior Designer ปรับตัวอย่างไรสำหรับการทำงานในอนาคต

เทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภค ไปจนถึงรสนิยมต่างๆ ล้วนเป็นองค์ประกอบผสานเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เหล่ามัณฑนากรต้องรับมือ ไม่ว่าจะมือใหม่หรือมืออาชีพ

1. เข้าถึงผู้บริโภคให้มากและให้เป็น

การตกแต่งภายในมีหลากรูปแบบหลายสไตล์และผู้อยู่อาศัยแต่ละบ้านก็จะมีความต้องการแตกต่างกันออกไป บางคนสามารถบอกได้ชัดเจนว่าตนอยากได้การตกแต่งภายในแบบไหน ส่วนบางคนก็บอกเพียงคอนเซปต์คร่าวๆ ไปจนถึงให้มัณฑนากรมาดูหน้างาน

ดังนั้นตัวคนที่รับงานตกแต่งภายในต้องมี “ความเข้าใจ” ในลูกค้า ไม่ใช่แง่ที่ว่าสวยแล้วจบ แต่ต้องตอบโจทย์และใช้งานได้จริงในราคาที่เหมาะสม สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน

นอกเหนือจากนั้นความสามารถที่ขาดไม่ได้เลยคือ “การอธิบาย” ว่าตกแต่งแบบนี้ตัวคนที่อยู่อาศัยจะได้ประโยชน์อะไร สีแนวนี้ดีอย่างไร ลวดลายนี้เหมาะสำหรับบ้านแบบไหน การที่สามารถอธิบายเรื่องศาสตร์และศิลป์แห่งการตกแต่งสู่ความธรรมดาให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ถือเป็นความท้าทายของมัณฑนากรรุ่นใหม่อย่างมาก และสิ่งเหล่านั้นคือความหมายของการตกแต่งภายในอย่างมีคุณภาพนั่นเอง

BIMobject-Interior-designer-career-2021-02-scaled

2. รอบรู้เรื่องเทคโนโลยีและสามารถใช้งานจริงได้

ดังที่ระบุว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ ล้วนเข้ามาเสริมเติมแต่งงานตกแต่งภายในของเราอยู่ตลอดเวลา การศึกษาหาความรู้เรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น Interior Designer จำเป็นต้อง “จับกระแส” ให้เป็น ว่าในปัจจุบันมีเทคโนโลยีอะไรมาให้ใช้งาน จะทำให้งานของเราดีขึ้นได้อย่างไร หรือทำให้ขายงานได้ง่ายขึ้นอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่นในช่วงเวลาที่การเขียนแบบ 3 มิติเข้ามา ก็อาจติดตามว่ามีการเขียนแบบด้วยโปรแกรมไหนบ้างที่คุ้มค่า ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ควรหาไอเดียใหม่ๆ จากไหน เพื่อทำให้มาตรฐานการทำงานขอเราทัดเทียมหรือนำหน้าคนอื่นได้

BIMobject เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่รวบรวมโมเดล 3 มิติ หลากหลายสกุลไฟล์มากกว่า 600,000 ชิ้นจาก 2,000 แบรนด์ที่มีวางขายจริง Interior Designer คนไหนที่สนใจอยากลองนำงานแบรนด์ดังไปใช้ในการออกแบบของตนเองเพื่อให้งานสมบูรณ์แบบมากขึ้น สามารถสมัครสมาชิกและเข้าใช้งานได้ที่ BIMobject ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย

3. มีการเก็บผลงานของตัวเองไว้ตลอด

ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ ใช้งบน้อยหรืองบมาก สิ่งที่เหล่า Interior Designer ควรทำคือการบันทึกผลงานทุกอย่างของตนเองเอาไว้ให้หมด ทั้งความสวยงามที่เกิดจากการตกแต่ง งบประมาณในการจ้างงาน รวมถึงแรงบันดาลใจต่างๆ ต่องานนั้นๆ เพื่อใช้อธิบายต่อยอดเมื่อนำเสนอผลงานของตนเองในแง่มุมต่างๆ

การเก็บผลงานนี้สามารถทำได้ทั้งการบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ เฟซบุ๊กของตนเอง จนถึงการทำเว็บไซต์เพื่อบันทึกและนำเสนอผลงาน เพื่อทำให้คนที่สนใจในงานของคุณสามารถเปิดดูประวัติการทำงานได้ง่ายขึ้น

BIMobject-Interior-designer-career-2021-03-1-scaled

4. ติดตามเทรนด์ต่างๆ เป็นประจำ

เทรนด์การออกแบบมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวันและแรงบันดาลใจในการออกแบบนั้นมีอยู่ทุกที่ การติดตามเทคโนโลยีและไอเดียใหม่ๆ กลายเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” หากไม่อยากล้าหลัง ซึ่งเว็บไซต์ที่น่าสนใจที่ควรติดตามได้แก่

  • BIMspaces พื้นที่สร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ สำหรับนักออกแบบที่มีการอัปเดตเทรนด์ดิจิทัลอยู่เสมอ รวมถึงมี Session Design Inspiration ที่คอยจุดแรงบันดาลใจของเหล่านักตกแต่งภายในให้สร้างสรรค์งานได้ดียิ่งขึ้น
  • Dsignsomething แหล่งรวมงานดีไซน์จากนักออกแบบมากหน้าหลายตา ทั้งมือใหม่ไปจนถึงมืออาชีพ พร้อมเสิร์ฟงานออกแบบที่ล้ำสมัย เหมาะสำหรับทุกความต้องการของลูกค้า รวมถึง Tips การทำงานมากมาย
  • Architecturaldigest เว็บไซต์ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบหลากหลายมิติสำหรับคนที่สนใจงานต่างประเทศ เป็นอีกแหล่งรวมดีไซน์มากมายรวมถึงข่าวใหม่ๆ ในวงการศิลปะและการออกแบบที่น่าค้นหา

นอกเหนือจากนั้นยังมีช่อง Youtube และ Facebook Page ต่างๆ มากมายที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบและการก่อสร้าง การติดตามเทรนด์เหล่านี้อยู่เป็นประจำจะทำให้มัณฑนากรรุ่นใหม่สามารถตอบคำถามสิ่งที่ลูกค้าสนใจได้ดียิ่งขึ้น และเข้าใจหลักการออกแบบสำหรับคนสมัยใหม่ได้ง่ายขึ้นด้วย

5. ใช้การตลาดควบคู่กับการทำงาน Interior

การสร้างชื่อและสะสมผลงานจะส่งผลมากขึ้นหาก Interior Designer รู้จักกับการทำการตลาดในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมตตัวเองผ่านเว็บไซต์ แฟนเพจ หรือแม้แต่ทวิตเตอร์ ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก สร้างความรู้ความเข้าใจในสายงาน ทำให้คนจำนวนมากรับรู้ถึงคุณค่าในการจ้างมัณฑนากร

ที่สำคัญที่สุดคือการนำเสนอความเป็นจริงว่าต่อให้เทคโนโลยีเปลี่ยนไปแค่ไหน การตกแต่งภายในยังต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน การคำนึงถึงฟังก์ชันการใช้งาน ความสวยงามในการออกแบบ ที่ตอบโจทย์ของผู้ใช้งานทุกมิติ แม้แต่ในสิ่งที่เขาอาจไม่เคยสังเกตเห็นก็ตาม

หัวใจของการเติบโตของมัณฑนากร

คุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล นายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทยผู้เคยออกแบบภายในอาคารต่างๆ มาแล้วมากมาย เคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ของ read the cloud ว่า “ออกแบบโรงแรมให้สวยน่ะง่ายแต่ที่ยากคือ เราต้องรู้จักโครงสร้างและฟังก์ชันที่ซ่อนอยู่อย่างถ่องแท้”

บทสัมภาษณ์ดังกล่าวถูกลงไว้ในช่วงปี 2560 แต่เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งที่คุณวิภาวดีกล่าวไว้ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือเรื่องของ “โครงสร้างและฟังก์ชัน” ที่ไม่ใช่แค่กับโรงแรมเท่านั้น ที่อยู่อาศัยอย่างห้องในคอนโด บ้านเดี่ยว ตัวของมัณฑนากรจำเป็นต้องมองให้ลึก ครอบคลุม และคาดเดาว่าการใช้งานสิ่งที่ตนออกแบบจะยังดูสดใหม่ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่สิบปีก็ตาม

สรุป

การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในสายงานตกแต่งภายในเท่านั้น สิ่งที่นักตกแต่งภายในควรทำไม่ใช่การตระหนกไปกับกระแส แต่การดึงกระแสเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ ชี้ให้ผู้อาศัยเห็นว่าการตกแต่งที่มากกว่าความสวยงามนั้นเป็นอย่างไร การเข้าใจโครงสร้างห้องและฟังก์ชันด้วยสายตาของ Interior Designer สำคัญขนาดไหน

หากคุณเป็นหนึ่งในนักออกแบบภายในที่กำลังพัฒนาสกิลของตนเองโดยเฉพาะด้านการออกแบบ 3 มิติ ที่ BIMobject ของเรามีโมเดลมากมายจากเจ้าของแบรนด์ให้คุณดาวน์โหลดฟรีมากกว่า 2,000 แบรนด์ พร้อมให้คุณนำไปใช้งานเพียงแค่สมัครสมาชิกที่ BIMobject