สำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทย เครื่องปรับอากาศหรือที่เรียกติดปากกันว่าแอร์บ้านคือสิ่งสามัญที่หลายครัวเรือนจำเป็นต้องมี ซึ่งปัจจุบันมีแอร์มากมายหลายรูปแบบ ทั้งถูกและแพงปะปนกันไป แต่จะเลือกอย่างไรให้คุ้มค่า นี่คือคู่มือการเลือกแอร์ที่ครอบคลุมเหมาะสำหรับทั้งคนทั่วไป สถาปนิก นักออกแบบภายใน รวมถึงวิศวกรที่ต้องการแอร์ใหม่ที่เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยหรืองค์กรของตนเอง
เคล็ดลับการเลือกแอร์บ้านที่คุณควรรู้
เมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ปัจจัยในการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะแอร์บ้านก็เปลี่ยนตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา พื้นที่ที่ต้องการติดตั้ง จนถึงฟังก์ชันการใช้งานต่างๆ ภายในแอร์ ซึ่งปัจจุบันมีสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญในการเลือกดังนี้
1. พื้นที่ห้องและ BTU ของแอร์
British Thermal Unit หรือ BTU เป็นหน่วยวัดความเย็นของแอร์ ซึ่งตัวเลข BTU ที่มากนั้นหมายถึงความสามารถในการสร้างความเย็นที่มากตามไปด้วย แน่นอนว่าแอร์บ้านนั้นควรเลือก BTU ที่เหมาะสมกับพื้นที่ หากเลือกแอร์ BTU ที่ต่ำเกินไป แต่ติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ จะทำให้เปลืองไฟมากขึ้น และความเย็นไม่ทั่วถึง
โดย BTU ที่เหมาะสมมีดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก www.kyg.co.th
นอกเหนือจากตารางการคำนวณดังกล่าว BTU ยังสามารถคำนวณเพิ่มเติมได้จากปัจจัยอื่นๆ เช่น การใช้ฉนวนความร้อนบนหลังคา ความสูงเพดาน ขนาดของทางเข้าออก ไปจนถึงจำนวนคนและเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้อง
โดยผู้เลือกซื้อแอร์ควรมีการวัดพื้นที่หรือห้องของตนเอง รวมถึงมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อการเลือกแอร์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งาน
2. การประหยัดพลังงาน
การประหยัดพลังงานในแอร์ในไทยสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟ ที่หลายคนเรียกติดหูกันว่าแอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 โดยปัจจุบันแอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้าสมัยแล้ว รูปแบบการประหยัดพลังงานที่เข้ามาแทนที่คือตราประหยัดไฟเบอร์ 5 ตามด้วยดาวซึ่งมีตั้งแต่ 1-3 ดาว ซึ่งดาวแต่ละดวงนั้นจะแสดงถึงระดับการประหยัดไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5% – 10%
การประหยัดพลังงานของแอร์ยังมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุณภูมิภายนอก ขนาดของห้อง รวมถึงความถี่ในการเปิด-ปิด แอร์ หากมีการเปิด-ปิดถี่ๆ ก็มีโอกาสที่แอร์จะกินพลังงานมากกว่าเช่นกัน
นอกเหนือจากการเลือกแอร์ประหยัดพลังงานที่มีสติ๊กเกอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่มีดาวอยู่ภายในแล้ว ทางผู้ใช้งานจึงควรมีการใช้แอร์อย่างเหมาะสมด้วย
3. รูปแบบของแอร์
แอร์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบตามการใช้งาน ซึ่งจะมีจุดเด่น-จุดด้อยแตกต่างกันออกไปโดยมีรายละเอียดดังนี้
1. แอร์ติดผนัง
หากจะบอกว่าแอร์ประเภทนี้เป็นรูปแบบแอร์มาตรฐานที่มีการใช้งานกันแพร่หลายที่สุดก็คงไม่ผิดนัก เนื่องจากแอร์ชนิดนี้มีรูปร่างเล็ก สามารถติดตั้งและ ซ่อมแซมได้ง่าย มีความทันสมัยรวมถึงความเงียบกว่าแอร์ชนิดอื่น แต่มีข้อเสียคือคอยล์เย็นภายในมีขนาดเล็ก ทำให้เกิดสิ่งสกปรกอุดตันได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่น
2. แอร์ฝังเพดาน
แอร์รูปแบบนี้มักพบได้ในห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ รวมถึงบ้านขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีความสวยงามมากกว่าติดผนัง ประหยัดพื้นที่ มักถูกใส่ไว้ใต้ฝ้าหรือเพนดาน สามารถส่งผ่านความเย็นได้ทั่วถึงมากกว่าแบบอื่น แต่มีข้อเสียคือการบำรุงรักษาที่ค่อนข้างลำบาก
3. แอร์แบบแขวน
แอร์แบบแขวนเป็นแอร์อีกแบบที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในสำนักงานและห้างร้านต่างๆ เนื่องจากสามารถกระจายความเย็นได้ดีกว่าแบบติดผนังพอสมควร มีความทนทานพอสมควร ข้อเสียคือไม่มีรูปแบบให้เลือกมากเท่าที่ควร และค่อนข้างกินพื้นที่ติดตั้ง
4. แอร์แบบตู้
แอร์ขนาดเล็กที่ไม่จำเป็นต้องมีการติดตั้งมากมายนัก มักพบได้ในห้างสรรพสินค้า ทางเข้าศูนย์อาหาร สามารถทำความเย็นได้เร็ว แต่มีข้อเสียคืออาจไม่ทั่วถึงมากนัก ใช้ได้แค่ในพื้นที่เล็กๆ รวมถึงต้องการพื้นที่ในการวางพอสมควรอีกด้วย
นอกเหนือจากแอร์ทั้งสี่รูปแบบนั้นยังมีแบบเคลื่อนที่ได้ แบบวางบนหน้าต่าง แต่เป็นแอร์ที่ถูกใช้งานค่อนข้างเฉพาะจุดมากกว่าแบบอื่น
4. การทำงานของแอร์
รูปแบบการทำงานของแอร์ทั่วไปมักมีการแบ่งออก 2 รูปแบบ นั่นคือ Inverter และ Non-Inverter
Inverter คือระบบสำหรับควบคุมการทำงานภายในคอมเพรสเซอร์แอร์ ที่ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าสายสลับให้เป็นกระแสตรง ซึ่งการทำงานแบบนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในห้องมีการลดลงอย่างคงที่ ทำให้แอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Non-Inverter คือระบบแอร์ทั่วไปที่จะมีการตัดการทำงานเมื่ออุณภูมิถึงจุดที่กำหนดไว้ หากสังเกตจะมีเสียงคลิกเบาๆ ซึ่งจะทำให้ห้องได้ความเย็นไม่สม่ำเสมอ มีการกินไฟเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
ซึ่งปัจจุบันระบบ Inverter ได้รับความนิยมมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว
5. มีความสามารถในการจัดการฝุ่น
ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน คืออีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกแอร์ที่เพิ่มขึ้นมา จากวิกฤตมลพิษทางอากาศที่ได้เผชิญกันถ้วนหน้า
แอร์ที่เลือกจึงควรมีคุณสมบัติในการดักจับฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกในอากาศ และมีระบบกรองอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะถ้าพื้นที่บ้านหรือบริษัทที่ต้องการติดตั้งอยู่ในเขตเมืองหรืออยู่ใกล้แหล่งกำเนิดมลพิษ เช่น จุดที่มีการเผาขยะบ่อยครั้ง
6. ระบบเสริมอื่นๆ
แอร์ในปัจจุบันมีระบบเสริมต่างๆ เข้ามามากขึ้นตามเทคโนโลยีและความต้องการในการใช้งาน เช่น ระบบ IoT ที่ควบคุมแอร์ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ระบบการตรวจวัดคุณภาพอากาศ สามารถตรวจจับฝุ่นละอองได้
ผู้เลือกซื้อควรดูความต้องการในการใช้งานจริงสำหรับส่วนเสริมเหล่านี้ เพื่อการใช้งานที่ครบถ้วนและคุ้มค่ามากที่สุด
Eminent Air เป็นอีกหนึ่งแบรนด์แอร์คุณภาพที่มีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กล่าวไป โดยเป็นเครื่องปรับอากาศที่ทำงานด้วยระบบ Inverter มีรุ่นให้เลือกมากมายครอบคลุมทั้งการใช้งานในห้องเล็ก-ใหญ่ โดยเฉพาะแอร์แบบฝังฝ้า-ผนัง ที่ไม่กินพื้นที่ มีลมออกทั่วทั้ง 4 ทิศทางพร้อมระบบกรองอากาศที่มีคุณภาพ สามารถลดฝุ่นและกลิ่นอับอันไม่พึงประสงค์พร้อมปรับโหมดความเย็นได้ตามต้องการ ทำงานได้อย่างเงียบเชียบด้วยเทคโนโลยี Double Flexible ลดการสั่นสะเทือน และช่วยคุณประหยัดไฟแม้ห้องจะใหญ่ด้วยฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ระดับ 2 ดาว
สรุป
การเลือกแอร์ที่เหมาะสม ผู้เลือกควรพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ตั้งแต่พื้นที่การใช้สอยภายในบ้าน BTU รูปแบบที่เหมาะสมในการติดตั้ง และการทำงานของแอร์ซึ่งแอร์ระบบ Inverter จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าในปัจจุบัน
หากคุณสนใจเครื่องปรับอากาศคุณภาพ Eminent Air เป็นอีกตัวเลือกที่น่าจับตามอง ซึ่งมีคุณสมบัติครอบคลุมปัจจัยต่างๆ ที่ระบุมา เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในบ้านและองค์กร โดยคุณสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ และดาวน์โหลด Object ได้ฟรีที่ bimobject.com/Eminent-Air