เราได้ยินกันมาแสนนานว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หลายสถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้พวกเราจำเป็นต้องแยกออกจากกัน รวมทั้งแยกออกจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างที่เราคุ้นเคยด้วย แม้จะสร้างพื้นที่สีเขียวส่วนตัวเล็กๆ เป็นของตัวเองแล้ว แต่การที่จะตอบความต้องการรอบด้านของชีวิตเพื่อความเป็นอยู่ที่เป็นสุข ก็ต้องอาศัยพื้นที่ของสังคมอยู่ดี

Co-Living Space กับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

(ภาพโดย Shridhar Gupta จาก Unsplash)

นิยามศัพท์ของคำว่า Co-Living ถ้าแปลตรงตัวก็คือการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ศัพท์คำนี้เริ่มต้นขึ้นในยุคที่ผู้คนเข้ามาแออัดในเมืองใหญ่ ตึกสูงและบ้านเรือนแบบอาคารพาณิชย์เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ของผู้คนจากดั้งเดิมที่ต่างคนต่างอยู่ กลายมาเป็นการเปิดให้พื้นที่บางส่วนซึ่งถูกใช้งานเพียงบางเวลา ให้ผู้คนสามารถใช้งานพื้นที่เหล่านี้ร่วมกันได้

Co-Living Space ถูกใช้งานกับพื้นที่หลากหลายรูปแบบ ก็เริ่มตั้งแต่สเกลเล็กสุด อย่างการเช่าบ้านแบบ Shared House ที่แชร์พื้นที่ห้องนั่งเล่นและห้องครัวร่วมกัน หรืออย่างที่พวกเราคุ้นเคยกันดีก็เป็นพื้นที่ส่วนกลางของโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งพื้นที่นั่งเล่น พื้นที่ทำงาน และแม้แต่ครัวกลางสำหรับสังสรรค์ หรือจะขยับขยายให้ใหญ่ออกไปอีก สวนสาธารณะก็เป็นอีกหนึ่งในพื้นที่ Co-Living ไซส์ใหญ่สำหรับหย่อนใจสำหรับผู้คนที่ต้องการใกล้ชิดธรรมชาติท่ามกลางพรรณไม้ร่มรื่น สอดรับกับสไตล์แอคทีฟแบบเอาต์ดอร์

(ภาพโดย Copernico จาก Unsplash)

สำหรับเมืองใหญ่ พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ดูจะหายากขึ้นทุกวัน จะดีกว่าไหมถ้าที่ไหนก็เป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคนได้ แน่นอนว่าอรรถประโยชน์ของต้นไม้ใบหญ้าไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ล้วนส่งผลดีให้กับผู้คนได้โดยตรง นอกจากจะมอบทัศนวิสัยที่ดีให้กับสายตาที่มองทอดออกไป ความสดชื่น สบายตา สบายใจแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะต่างๆ ทั้งกรองฝุ่นละออง ฟอกอากาศสะอาดให้กับผู้คน และเป็นการรีเฟรชประสาทสัมผัสผ่านการใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสังคม

คำว่า Green ที่มากกว่าพื้นที่สีเขียว แต่เป็นเรื่องของความยั่งยืน

‘Green Co-Living Space’ กลายเป็นหัวข้อที่ผู้คนพูดถึงกันมากในยุคนี้ ยุคที่ทุกคนต้องการพื้นที่สีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ

คำว่า Green จึงไม่ได้หมายความถึงแค่พื้นที่สีเขียว แต่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มต้นแต่การเลือกวัสดุก่อสร้างสีเขียว หรือ Green Material ที่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมของสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) เช่นเดียวกันกับโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว หรือ Green Industry ที่ปัจจุบันองค์กรในภาคอุตสาหกรรมต่างก็ร่วมมือกันผลักดันประเด็นนี้เสมอมา เพื่อสร้างกระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทั้งระบบ

(ภาพโดย Toa Heftiba จาก Unsplash)

หนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว ก็คือ Pacific Pipe ผ่านนโยบายด้านความยั่งยืน ที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรม จนผ่านการรับรองในระดับ 3 นั่นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น และมีความรับผิดชอบทั้งกับบุคลากรในองค์กรและชุมชนโดยรอบ สอดคล้องไปกับแนวคิด ESG (Environment, Social and Governance) หรือการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ยาวไปจนถึงกระบวนการออกแบบและวางแผนการก่อสร้าง หรือ Green Construction ผ่านการวางแผนการก่อสร้างอย่างเป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้นจนอาคารเสร็จสิ้น อย่างการใช้ BIM เทคโนโลยีที่กำลังเป็นผู้เล่นสำคัญในวงการก่อสร้างสีเขียว เพราะช่วยในการวางแผนแบบจำลองเสมือนของอาคาร เพื่อควบคุมการออกแบบอาคารที่แม่นยำ ครบถ้วนครอบคลุมเนื้องานทุกหัวเรื่อง ไปพร้อมกับการวางแผนก่อสร้างที่สร้างวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด การทำงานเร็วขึ้นช่วยลดการใช้งานทรัพยากรลง ลดข้อผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข และได้ผลลัพธ์ของอาคารที่ตอบความต้องการมากที่สุด

PACIFIC PIPE แนวทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

(ภาพโดย Oleh Aleinyk จาก Unsplash)

รากฐานของการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เริ่มต้นที่วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน จากจุดเล็กๆ นี้เองที่เป็นหัวใจสำคัญที่ Pacific Pipe มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิต เส้นทางของสินค้าระหว่างการใช้งาน และการจัดการหลังการใช้งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ยั่งยืน และสร้างสังคมของความเป็นอยู่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คีย์เวิร์ดสำคัญ คือการใช้ทรัพยากรตลอดกระบวนการอย่าง ‘คุ้มค่า’ ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งหรือขยะหน้างานมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยลดเศษวัสดุก่อสร้างภายในกระบวนการผลิตและการก่อสร้างอาคาร ร่วมกันกับทางเลือกด้านพลังงานที่เป็นมิตรกับโลก ทั้งการลดการใช้พลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทน นำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ จนได้รับมาตรฐานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ตัวอย่างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของทาง Pacific Pipe เช่น PAP Plus ท่อเหล็กขนาดพิเศษที่นอกจากได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติมากมายแล้ว ยังครอบคลุมบริการ Steel Service Solutions  หรือการสั่งผลิตสำเร็จจากโรงงานด้วยเทคนิคมาตรฐานที่แม่นยำทั้งการตัด เจาะ เชื่อม และดัดตามสเปค พร้อมติดตั้งหน้างานได้ทันที จึงช่วยลดเศษวัสดุเหลือทิ้งที่เกินความจำเป็น และตัวท่อเองยังสามารถนำไปรีไซเคิล หมุนเวียนเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าชิ้นใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง

BIMobject Green Design Competition 2022

เราชวนนักศึกษามาออกตามหานิยามของ ‘Green Co-Living Space พื้นที่สีเขียวส่วนกลาง’ ในความหมายและดีไซน์ของตัวเอง ผ่านโครงการประกวด BIMobject Green Design Competition 2022 โดย CPAC Green Solution 

โครงการประกวดออกแบบพื้นที่อาศัยของชุมชนสีเขียวแบบ Low Rise จำนวน 9 ยูนิต ชวนทุกคนดึงเอาข้อดีของพื้นที่ไลฟ์สไตล์ที่ถูกใช้งานในบางเวลา มาผูกร้อยให้เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ใช้งานร่วมกันของผู้พักอาศัย เพื่อให้การใช้งานพื้นที่เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่อเนกประสงค์ พื้นที่ครัวและรับประทานอาหาร แล้วกันพื้นที่ส่วนตัว อย่างห้องนอน ห้องน้ำ หรือห้องส่วนตัวให้เป็นพื้นที่ของแต่ละยูนิต

รายละเอียดโครงการติดตามได้ที่ https://bimspaces.com/bimobjectgreendesigncompetition/ 

สามารถดาวน์โหลดสินค้าจาก Pacific Pipe ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ที่ https://bit.ly/3lOvBoF