ในยุคสมัยที่การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ การให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ว่าส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ย่อมเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมาตรฐาน EPD (Environmental Product Declaration) ได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความโปร่งใสในประเด็นดังกล่าว
EPD คืออะไร มีบทบาทอย่างไร แล้วแต่ละองค์กรจะสามารถนำ EPD ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
EPD คืออะไร
EPD (Environmental Product Declaration) คือ เอกสารหรือฉลากที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวงจรชีวิต ตั้งแต่กระบวนการผลิต การใช้งาน จนถึงการกำจัดทิ้ง
โดย EPD จะได้รับการตรวจสอบอย่างมีมาตรฐานจากองค์กรภายนอกที่สามารถเชื่อถือได้ เพื่อให้ข้อมูลนั้นถูกต้องแม่นยำมากที่สุด
ความเกี่ยวข้องของ EPD และ LEED
LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) เป็นมาตรฐานอาคารสีเขียว (Green Building) ระดับสากล การที่โครงการ หรือการก่อสร้างนั้นๆ อีกทั้ง LEED มีการใช้ฉลาก EPD มาเป็นส่วนในการประเมิน คือการสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการทำงานที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การประเมิน LEED นั่นเอง
ประโยชน์ของการใช้งาน EPD
- เพิ่มความโปร่งใส ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงส่วนผสม กรรมวิธีการผลิต และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับสิ่งแวดล้อมจาก EPD อย่างชัดเจน ทำให้สามารถตัดสินใจในการซื้อสินค้า-บริการได้ง่ายขึ้น
- สร้างความน่าเชื่อถือ การมี EPD ส่งผลอย่างมากในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของคุณอยู่ในตลาดที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมด้านการก่อสร้าง การผลิตสินค้า การบรรจุภัณฑ์ นอกจากนั้นยังทำให้ได้ภาพลักษณ์ที่ดีอีกด้วย
- สร้างองค์กรที่ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากมาตรฐาน EPD นั้นอยู่ภายใต้มาตรฐานของ ISO 14025 (มาตรฐานด้านฉลาก และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) และมาตรฐาน EN 15804 ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกแทบทั้งสิ้น ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าองค์กรที่มีการใช้งาน EPD นั้นมีการผลิตสินค้า และบริการอยู่ในมาตรฐานสากล
- ปรับปรุงมาตรฐานการผลิต ในการได้มาซึ่ง EPD ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์แบบองค์รวม ทำให้สามารถมองเห็นข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่สามารถปรับปรุงได้ในกระบวนการต่างๆ เช่น การลดการใช้พลาสติก หรือลดการใช้สารเคมีบางชนิด ช่วยให้ได้มาซึ่งกรรมวิธีที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ประโยชน์ของ EPD ยังมีอีกมากทั้งในทางตรง และทางอ้อม แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของ EPD คือการสร้างความน่าเชื่อถือ ส่งเสริมภาพลักษณ์ และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นของมีคุณภาพ และดีต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
การขอ EPD มีขั้นตอนอย่างไร
-
ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์
กำหนดชัดเจนว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ต้องการขอ EPD พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบข้อมูลวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการกำจัด ว่าส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
-
วิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์
วิเคราะห์วงจรชีวิต (Life Cycle Assessment) ว่าสอดคล้องตามหลักเกณฑ์จริงหรือไม่ ในกรณีนี้อาจใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ หรือระบบที่รองรับการเก็บข้อมูลในการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วน
-
จัดทำรายงาน
จัดทำรายงานเพื่อส่งเรื่องยื่นขอ EPD โดยในรายงานนั้นข้อมูลต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดี และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
-
ตรวจสอบและรับรอง
จัดเตรียมการส่งรายงานให้หน่วยงาน Third-Party Verification ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบว่า EPD ของผลิตภัณฑ์เรานั้นมีการทำงานถูกต้องครบถ้วนจริงหรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อกำหนด
-
เผยแพร่
หลังจากที่ทุกสิ่งผ่านหลักเกณฑ์แล้ว ทางบริษัทสามารถขึ้นทะเบียน และเผยแพร่เอกสาร EPD ผ่านช่องทางต่างๆ เช่นเว็บไซต์ขององค์กร เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มี EPD
ธุรกิจที่มีฉลากมาตรฐาน EPD นั้นมีด้วยกันหลายบริษัท ทั้งในไทย และต่างประเทศ ซึ่งมักเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง การติดตั้งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีผลิตภัณฑ์ตัวอย่างดังนี้
SCG Low Carbon Structural Bag Cement
SCG Low Carbon Structural Bag Cement เป็นปูนซีเมนต์ที่ใช้นวัตกรรมแบบไฮบริดที่ผสมผสานส่วนประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน ทั้งสารประกอบแคลเซียมยิปซัม ยิปซัม ปูน และส่วนผสมอื่นๆ ทำให้ได้มาซึ่งซีเมนต์ที่แข็งแรง และดีต่อสิ่งแวดล้อม
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCG Low Carbon Structural Bag Cement
แผ่นยิปซัมตราช้าง
แผ่นยิปซัมที่โดดเด่นจากส่วนประกอบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีน้ำหนักเบา ได้มาตรฐาน แข็งแกร่งกว่าแผ่นไม้ทั่วไป ทำให้ห้องเย็นสบาย ปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นวัสดุประเภทไม่ลามไฟ เพิ่มความปลอดภัยอีกด้วย
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผ่นยิปซัมตราช้าง
SYS (Siam Yamato Steel) เหล็กเส้นรีดร้อน
เหล็กเส้นรีดร้อนรายแรกของไทยที่ได้รับมาตรฐานฉลาก EPD ที่มีความแข็งแรง ทนทาน จากวัสดุที่ได้มาตรฐาน มีกรรมวิธีในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นโทษต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้เกิดอุตสาหกรรมการก่อสร้างสีเขียวอย่างแท้จริง
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SYS (Siam Yamato Steel) เหล็กเส้นรีดร้อน
การใช้งาน EPD สำหรับธุรกิจของคุณ
- วิเคราะห์ว่าธุรกิจของคุณเหมาะกับ EPD หรือไม่
โดยส่วนมาก EPD นั้น เหมาะกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง การทำผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ และธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับพลังงาน ขอแนะว่าควรตรวจสอบธุรกิจของคุณ รวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาคำตอบว่า ธุรกิจของคุณเหมาะกับ EPD
- ศึกษามาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้งาน EPD นั้นมีมาตรฐานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องไม่น้อย เช่นมาตรฐาน ISO 14025 และ EN 15804 ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้มักมีการอัปเดตข้อมูลอยู่บ่อยครั้ง ทางทีมงานควรมีการศึกษา และวิเคราะห์ Life Cycle Assessment (LCA) ของตัวผลิตภัณฑ์ ก่อนการดำเนินการ
- เลือกหน่วยงานที่รับรอง
หน่วยงานสำหรับรับรอง EPD มีทั้งในไทย และต่างประเทศ ขอแนะนำให้เลือกหน่วยงานที่สะดวกในการดำเนินการ และมีข้อมูลที่ชัดเจน ครบถ้วน
- ใช้งาน EPD
หลังจากได้รับคำรับรองแล้ว ควรใช้ EPD ให้เป็นประโยชน์ เช่น เพิ่มความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ภาพลักษณ์ของบริษัท ว่าการทำงานของเราตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมมากแค่ไหน ทำไมสินค้าของเราถึงน่าซื้อ
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถใช้งาน EPD เพื่อยกระดับธุรกิจของตัวเองได้อย่างเป็นประสิทธิภาพแล้ว
สรุป
จากข้อมูลทั้งหมดนั้นทำให้เห็นได้ว่าการใช้งาน EPD สำหรับธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันอาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะตัวของ EPD ไม่ใช่แค่เอกสาร แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาลูกค้าและนักลงทุนอีกด้วย
หากคุณเป็นอีกคนที่สนใจกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้องการการออกแบบที่แตกต่าง แสดงความเป็นตัวเอง และอยากอัปเดตความรู้ใหม่ๆ เว็บไซต์ BIMobject เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจไม่น้อย ด้วยการรวมโมเดลเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ สิ่งก่อสร้าง มากมายกว่า 2,000 แบรนด์ ที่มีวางขายจริง สเกลตรงตามจริง สามารถใช้งานได้ทันที โดยสามารถเข้าได้ที่ BIMobject Thailand พร้อมกันนั้นเรายังมีช่องทางใหม่คือ Pinterest : BIMobject อีกด้วย