ข้อดีของการแต่งบ้านหรืออาคารด้วยกระจก
กระจก คือวัสดุที่อยู่คู่วงการสถาปัตยกรรมมาช้านาน ใช้ประโยชน์ทั้งงานในเชิงฟังก์ชันและการประดับตกแต่ง สำหรับเมืองร้อนอย่างประเทศไทย การใช้กระจกในสมัยก่อนอาจจำกัดอยู่แค่การใช้ติดตั้งบนประตูหน้าต่าง หรือดิสเพลย์ร้านค้า แต่ด้วยวิทยาการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้กระจกมีคุณสมบัติที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น
ภาพประกอบ : katemangostar on Freepik
ข้อดีของการใช้งานกระจก
- ทำให้พื้นที่ดูกว้างขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่โปร่งใส ทำให้ผู้ใช้งานพื้นที่สามารถมองทะลุไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้ ลดทอนความจำกัดของพื้นที่ที่ถูกแบ่งกั้น มอบความรู้สึกโปร่งโล่งและเชื่อมโยงกับพื้นที่รอบข้าง ทำให้ดูเหมือนพื้นที่นั้นกว้างขวางขึ้น
- รับแสงสว่าง แสงที่สามารถส่องทะลุกระจกเข้ามาสู่พื้นที่ภายในช่วยลดความอับทึบ และเพิ่มความสว่าง ช่วยลดการใช้ไฟในอาคาร
- ความสวยงามที่หลากหลาย นวัตกรรมการผลิตกระจกทำให้กระจกมีสีสัน ลวดลาย ผิวสัมผัส หรือความโปร่งแสงมากมาย ที่สถาปนิกสามารถเลือกนำไปใช้ในการออกแบบได้อย่างเหมาะสม
- ดูแลง่าย กระจกเป็นวัสดุแข็งที่ดูแลง่าย เพราะไม่ซีดจาง ไม่ผุกร่อน ไม่มีปลวกกิน ไม่ติดไฟ และไม่เป็นสนิม
เชื่อมโยงพื้นที่ภายในกับภายนอกด้วยกระจก (ภาพประกอบ : wirestock on Freepik)
ข้อพึงระวัง
- ความแข็งแรงของกระจก กระจกเป็นวัสดุที่เรารู้กันว่าแตกได้ แม้ว่าอุบัติเหตุจากคมกระจกจะถูกแก้ไขได้แล้วด้วยกระจกเทมเปอร์ แต่มูลค่าความเสียหายยังคงมี ดังนั้นแล้วผู้ออกแบบจำเป็นต้องวางแผนการใช้งานพื้นที่ ไม่ติดตั้งกระจกในพื้นที่ที่อาจเกิดการกระแทก เช่น ใกล้สนามฟุตบอล เป็นต้น
- ความร้อน ในประเทศเมืองร้อนอย่างไทย การเลือกติดตั้งกระจกจำนวนมากอาจต้องเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อนและรังสียูวี เช่น BSG Glass รวมถึงออกแบบระบบฝ้าเพดานกันความร้อน และระบบระบายอากาศภายในที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งกระจกในทิศทางที่รับแสงแดดโดยตรง หรือออกแบบติดตั้งม่านหรือชายคาเพื่อกันการรับแดด
- การสะท้อนแสง ผู้ใช้งานอาจไม่รู้สึก แต่การออกแบบอาคารโดยใช้กระจกปิดผิวภายนอกอาคารด้วยกระจกสะท้อนแสง เพื่อลดความร้อน อาจสร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารข้างเคียงในเวลากลางวัน และเงาสะท้อนในเวลากลางคืน แก้ไขได้โดยการเลือกใช้กระจกที่ค่าการสะท้อนแสงต่ำ
อาคารที่สะท้อนแสง อาจไม่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมรอบข้างนัก
- อุบัติเหตุจากความโปร่งใสของกระจก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากความเข้าใจผิดว่าเป็นช่องว่างโล่งๆ เช่น วิ่งกระแทก จำเป็นต้องออกแบบหรือเลือกดีไซน์กระจกที่ทำให้คนทราบว่ามีกระจกติดตั้งอยู่ เช่น ทำลวดลายเฉพาะจุด เป็นต้น
- เห็นความสกปรกได้ชัด ผิวหน้าเงาของกระจกเกิดรอบคราบจากการสัมผัสได้ง่าย และเห็นชัด หากไม่ทำความสะอาดบ่อยจะทำให้บรรยากาศภายในอาคารดูสกปรก นอกจากนี้ในบางพื้นที่ เช่น ห้องน้ำ กระจกจะเกิดคราบน้ำได้ง่าย
รู้จักชนิดกระจก
นวัตกรรมกระจก มอบคุณสมบัติและดีไซน์ที่หลากหลาย ให้สถาปนิกเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ส่วนนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกระจกแบบต่างๆ เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมกับงานออกแบบของคุณ
- กระจกธรรมดา (Float Glass) คือกระจกที่ผลิตโดยการหลอมและอบแบบธรรมดา แบ่งย่อยได้อีกตามสีของกระจก เช่น กระจกใส กระจกใสพิเศษ และกระจกสี
การใช้งาน : พื้นที่ภายในอาคารที่ไม่เสี่ยงต่อการกระแทก เพราะกระจกธรรมดาไม่มีคุณสมบัติด้านนิรภัย และไม่กันความร้อน จึงไม่เหมาะกับการใช้เป็นผนังอาคาร
- กระจกเทมเปอร์ (Tempered Glass) ผ่านกระบวนการอบความร้อนแล้วทำให้ผิวกระจกเย็นลงอย่างรวดเร็ว แรงอัดที่เกิดขึ้นทำให้ผิวกระจกแกร่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากไม่ผ่านกระบวนการลามิเนตฟิล์ม เวลาแตก กระจกจะแตกเป็นเม็ดข้าวโพดและร่วงลงมาทันที โดยที่เศษกระจกยังมีความคมอยู่บ้างแต่น้อยกว่ากระจกธรรมดามาก
การใช้งาน : ใช้เป็นผนังอาคารบานใหญ่ได้ พื้นที่ภายนอกเช่นราวระเบียง กระจกบานเปลือย หรือพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระแทก และแนะนำให้เป็นกระจกเทมเปอร์ลามิเนตเพิ่มเพิ่มความปลอดภัยที่มากขึ้น
- กระจกสะท้อนแสง (Reflective Glass) เคลือบผิวหน้าด้วยโลหะออกไซด์ ช่วยกันความร้อนจากภายนอก อาคารที่ติดตั้งกระจกประเภทนี้จะมีการสะท้อนเหมือนกระจกเงา โดยสีกระจกขึ้นอยู่กับโลหะที่เคลือบบนผิว
การใช้งาน : ผนังภายนอกอาคาร บานหน้าต่าง บานประตู
- กระจกสภาพการแผ่รังสีต่ำ (Low-e glass) เคลือบผิวหน้าด้วยเงิน สามารถสะท้อนแสงและลดการแผ่รังสีความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดีกว่ากระจกสะท้อนแสง
การใช้งาน : ผนังภายนอกอาคาร บานหน้าต่าง บานประตู
- กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass) ผลิตโดยใช้กระจกธรรมดาหรือกระจกเทมเปอร์สองแผ่นมาประกบกันบนโครงอะลูมิเนียม และบรรจุสารดูดความชื้นไว้ตรงกลาง จึงช่วยป้องกันความร้อนและเสียงจากภายนอก แต่ทั้งนี้ ต้องระวังอากาศรั่วซึมเข้าสู่ชั้นกระจกหากยาแนวเสียหาย ทำให้สูญเสียคุณสมบัติด้านการกันความร้อน
การใช้งาน : ผนังอาคารภายนอก ประตู หน้าต่าง ที่ติดตั้งภายนอกอาคารที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันระหว่างภายนอกและภายใน เช่น อาคารที่ติดเครื่องปรับอากาศ
- กระจกนิรภัย (Laminated Glass) ผลิตโดยประกบกระจกสองแผ่นเข้าด้วยกัน และมีชั้นของแผ่น PVB (Polyvinyl Butyral) คั่นอยู่ตรงกลาง หากกระจกแตก สะเก็ดจะยึดติดอยู่กับแผ่น PVB ไม่ร่วงลงมาสร้างอันตรายให้ผู้ใช้งาน สามารถออกแบบสีและลวดลายบนแผ่น PVB เพื่อความสวยงาม
การใช้งาน : พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการกระแทก หรือพื้นที่ที่ต้องการการตกแต่งด้วยลวดลายสวยงาม แต่ไม่เหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง หรือพื้นที่ที่อุณหภูมิแตกต่างกันมาก
- กระจกพิมพ์ลายเซรามิก (Ceramic Silk-Screen Glass) ใช้สีเซรามิกพิมพ์ลงบนผิวกระจก แล้วอบจนสีเป็นเนื้อเดียวกันกับกระจก สีเซรามิกจะช่วยเพิ่มความทนทานให้กับกระจกด้วย
การใช้งาน : ใช้ตกแต่งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ออกแบบกระจกเป็นลวดลายตามต้องการ และยังสามารถนำมาประกอบเพื่อผลิตกระจกฉนวนกันความร้อน หรือกระจกนิรภัย
กระจก Ceramic Print จาก BSG Glass
แต่ทั้งนี้แล้ว ผู้ผลิตสามารถเพิ่มคุณสมบัติอื่นที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น กระจก Solar X Max นวัตกรรมใหม่จาก BSG Glass ตอบโจทย์ความต้องการกระจกที่เหมาะสมให้อาคารของคุณผ่านเกณฑ์อาคารเขียว (Green Building) ตั้งแต่การลดการใช้ทรัพยากร เพราะมีค่า SHGC ที่ต่ำกว่า 0.5 กันความร้อนถึง 50% ประหยัดพลังงานได้มากกว่า เป็นมิตรต่อผู้ใช้งานด้านความปลอดภัยและการดูแลรักษา เพราะกระจกแข็งแรงทนทาน ไม่มีส่วนประกอบของสารเคลือบหรือฟิล์มกรองแสงด้านนอก ลดอันตรายจากรังสีอินฟราเรดและรังสียูวีได้ เกือบ 100% และยังลดการสร้างมลภาวะหรือทัศนวิสัยที่ไม่พึงประสงค์ต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เพราะมีแสงสะท้อนต่ำ ทั้งยังมีเฉดสีให้เลือกหลากหลายตามความเหมาะสมกับดีไซน์ของคุณ
การนำกระจกมาออกแบบ
กระจกสามารถออกแบบได้หลากหลาย ตั้งแต่การใช้งานเต็มบานขนาดใหญ่ หรือเฉพาะส่วน แต่สิ่งสำคัญคือการพิจารณาถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม
- การติดตั้งกระจกเต็มแผ่นเป็นผนังภายนอก หากต้องการทำให้พื้นที่ขนาดจำกัดดูกว้างขวางมากขึ้น หรือเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก แต่สิ่งสำคัญคือ กระจกที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการใช้งานภายนอก อย่างกระจก Solar X
ใช้กระจก Solar X Max จาก BSG Glassซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการติดตั้งเป็นผนังเต็มแผ่นภายนอกอาคาร
- แบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยด้วยกระจก ทำให้พื้นที่ภายในเชื่อมโยงถึงกัน ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความโปร่ง ลดความอับทึบภายในอาคาร แต่กระจกที่ใช้ต้องมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอ
กั้นพื้นที่ด้วยกระจก Fabric Glass See Through จาก BSG Glass
- ปรับสไตล์ด้วยลวดลายบนกระจก เพิ่มลูกเล่น สะท้อนรสนิยม ให้พื้นที่ของคุณ
ลวดลายบนกระจก Weavery Glass จาก BSG Glass เพิ่มลูกเล่นให้พื้นที่ของคุณ
ลวดลายบนกระจก BSG Surface Plus จาก BSG Glass เพิ่มลูกเล่นให้พื้นที่ของคุณ
ลวดลายบนกระจก BSG Swiss Print Marble Glass จาก BSG Glass เพิ่มลูกเล่นให้พื้นที่ของคุณ
- เพดานกระจกรับแสง ช่วยเพิ่มความสว่างให้อาคารในเวลากลางวัน และเห็นความงดงามของท้องฟ้าเวลากลางคืน แต่ขณะเดียวกัน ความร้อนจากแดดประเทศไทยก็เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ กระจกที่ใช้จึงต้องสามารถกันความร้อนและรังสียูวีได้
- ประตูกระจก หากต้องการเพิ่มความโปร่งให้พื้นที่ปิดทึบภายในอาคารสาธารณะ ประตูกระจกก็เป็นอีกทางเลือกที่ลงตัวของความเป็นส่วนตัว และการเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก เช่น ห้องบรรยาย ห้องรับประทานอาหาร
ทดลองออกแบบพื้นที่ใช้สอยด้วยโมเดลกระจกจาก BSG Glass
หากคุณเป็นสถาปนิก นักออกแบบ เจ้าของโครงการ หรือผู้ที่กำลังสนใจใช้กระจกออกแบบอาคาร ที่พักอาศัย หรือที่พื้นใช้สอย เราเตรียมโมเดลกระจกจาก BSG Glass หลากรูปแบบเพื่อทดลองออกแบบจัดวางพื้นที่ให้ตอบโจทย์ฟังก์ชันและจินตนาการในงานออกแบบของคุณ ดาวน์โหลดโมเดล 3 มิติ บน Bimobject.com คลิกที่นี่