จากบทความก่อนหน้านี้ เราได้อธิบายถึงการนำ BIM (Building Information Management) ในฝั่งของการทำ Management มาประยุกต์กับการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time) ไปแล้ว และในครั้งนี้ เราขะมาอธิบายถึงการนำ BIM (Building Information Management) ในฝั่งของการทำ Management มาประยุกต์กับการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality) และแกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost) ว่าสามารถมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร

BIM Dimension 4D : Scheduling  กับ แกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time)

>> เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้ามาอีก 1 ประเภท ซึ่งจัดเป็นประเภทของ เวลา (Time) ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานในการจัดทำแผนงานการบริหารการดำเนินการโครงการ (Project Timeline)

เมื่อมีการนำมาประยุกต์ใช้กับหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 1 เรื่องของเวลา (Project Time)

จะสนับสนุนในการติดตามและวิเคราะห์แผนงานการบริหารการดำเนินการโครงการโดยมีประโยชน์ ดังนี้

  • การระบุช่วงเวลาการดำเนินการโครงการ (Project Phasing)

ในการดำเนินการในโครงการจะต้องมีการระบุกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ พร้อมทั้งระบุช่วงเวลาที่จะดำเนินการ รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งการทำ BIM ในการจำลองกายภาพของอาคาร (Geometry) ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) หรือโมเดล 3 มิติ จะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน รวมถึงมีการระบุประเภทและปริมาณของข้อมูลที่จะต้องระบุลงไป ตามช่วงเวลาต่างๆ ของการดำเนินการโครงการ นั่นคือจะสามารถช่วยสนับสนุนการทำงานให้สามารถทำงานให้สำเร็จ ตามขอบเขตการทำงานที่ระบุไว้

  • การจำลองวางแผนการก่อสร้าง (Project Planning)

ในการทำงานในช่วงเวลาของการก่อสร้าง (Construction Phase) จะเป็นช่วงของการทำงานที่มีความละเอียด และซับซ้อนมากกว่าการทำงานในช่วงออกแบบ (Design Phase) จึงจะต้องมีการวางแผนงานการก่อสร้างล่วงหน้า โดยการทำ BIM สามารถนำข้อมูลกายภาพของอาคาร (Geometry) มารวมกับข้อมูลของเวลาในช่วงของการก่อสร้าง สำหรับจำลองวางแผนการก่อสร้าง เพื่อประเมินและวิเคราะห์ระยะเวลาการทำงานที่เหมาะสมต่อการกำหนดแผนงานการก่อสร้าง

  • การติดตามการดำเนินการในโครงการ (Project Completion)

ในการดำเนินการในโครงการที่มีการระบุกิจกรรมที่จะดำเนินการในโครงการ พร้อมทั้งระบุช่วงเวลาที่จะดำเนินการ รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบไว้นั้น จำเป็นจะต้องมีการติดตามการดำเนินการในโครงการ เพื่อประเมินและวิเคราห์ระยะเวลาในการดำเนินการหาระยะเวลาที่เหมาะสม และสอดคล้องต่อการทำงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการ

BIM Dimension 5D : Estimating กับ แกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost)

>> เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้ามาอีก 1 ประเภท ซึ่งจัดเป็นประเภทของต้นทุน (Cost) ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานในการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management)

เมื่อมีการนำมาประยุกต์ใช้กับหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 3 เรื่องของต้นทุน (Project Cost)

ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานในการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management) โดยมีประโยชน์ ดังนี้

การประมาณการต้นทุน (QTO – Quality Take-Off) ในการดำเนินการในช่วงการออกแบบ (Design Phase)

จะประกอบไปด้วยการทำงานของผู้ออกแบบ ในแต่ละบทบาทหน้าที่การทำงาน ซึ่งผู้ออกแบบจะทำงานด้วยกระบวนการ BIM จึงมีการจำลองข้อมูลทางกายภาพของอาคาร รวมถึงระบุข้อมูลตามข้อกำหนด ในแต่ละช่วงการดำเนินการของโครงการ การทำงานด้วยกระบวนการ BIM จึงสามารถนำข้อมูลกายภาพของอาคาร (Geometry) ที่ได้จำลองขึ้นมา ในแต่ละหมวดงานของผู้ออกแบบ มาดำเนินการประมวลผล (Export) ข้อมูลออกมาในเชิงตัวเลขได้ (ในบ้างกรณี) เพื่อพิจารณาปริมาณของวัสดุที่จะใช้เบื้องต้น เพื่อส่งต่อข้อมูลไปใช้สนับสนุนการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management)