จากบทความก่อนหน้าที่เราอธิบายถึงเรื่องหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time) และแกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality) ว่ามีความหมายและความสำคัญอย่างไร และในครั้งนี้ เราจะมาอธิบายถึงแกนสำคัญสุดท้าย นั่นคือ แกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost)

แกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost)

ในการดำเนินการจัดทำโครงการ สิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารจัดการโครงการ นั่นคือเรื่องของต้นทุน ซึ่งในโครงการจัดทำโครงการการควบคุมต้นทุนโครงการ (Cost Control) ให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนดไว้ เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง และมีการทำงานที่ซับซ้อนมาก เนื่องจากรายละเอียดของการดำเนินการจะประกอบไปด้วยกิจกรรมจำนวนมาก และจะต้องควบคุมต้นทุนโครงการ (Cost Control) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิเช่น ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา และผู้ควบคุมงาน เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินการควบคุมต้นทุนโครงการ (Cost Control) ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามความต้องการของโครงการ (Project Requirements)

จะต้องมีการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management) ซึ่งการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ จะถูกแบ่งออกเป็นหมวดงานต่างๆ ดังนี้

  • หมวดงานการจัดเตรียมที่ดิน
  • หมวดงานสำหรับการก่อสร้าง
  • หมวดงานสนับสนุนการขายและการตลาดของโครงการ
  • หมวดงานการเงินอื่นๆ ของโครงการ
  • หมวดงานอื่นๆ

โดยจะขอลงรายละเอียดในหมวดงานสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ในการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management)

ในการจัดทำหมวดงานสำหรับการก่อสร้าง

จำเป็นจะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพื่อให้รับทราบถึงภาพรวมและสถานะของต้นทุนโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ช่วงเริ่มต้นโครงการ (Initial Phase) จะเป็นช่วงของการเริ่มต้นพัฒนาโครงการ โดยจะมีการดำเนินการจัดทำความต้องการของโครงการ (Project Requirements) พร้อมทั้งมีการจัดทำรายการต้นทุน (Cost Breakdown Structure) เพื่อประมาณการต้นทุนของโครงการเบื้องต้น ในแต่ละหมวดงานและแต่ละกิจกรรมให้ชัดเจน รวมถึงมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการพัฒนาโครงการ ให้เกิดความชัดเจนทั้งในด้านของเวลา คุณภาพ และต้นทุนของโครงการ
  • ช่วงการออกแบบขั้นต้น (Conceptual Design Phase – Schematic Design Phase) จะเป็นขั้นตอนที่ผู้ออกแบบนำเสนอแบบร่างขั้นต้น เพื่อดำเนินการดูภาพรวมของการออกแบบ โดยการตรวจสอบแบบ (Design Review) อาทิเช่น การจัดการพื้นที่ใข้สอยต่างๆ ในโครงการ การกำหนดขอบเขตต่างๆ ของอาคาร และการเลือกใข้วัสดุต่างๆ ในอาคาร เป็นต้น ซึ่งในขั้นนี้จะทำให้การควบคมต้นทุนโครงการ (Cost Control) มีความชัดเจนขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ จากข้อมูลที่เพิ่มขึ้น
  • ข่วงการออกแบบในการพัฒนา (Design Development Phase) จะเป็นขั้นตอนของการจัดทำรายละเอียดของการออกแบบ (Detail Design) ในการดูรายละเอียดของการออกแบบ โดยการตรวจสอบแบบ (Design Review) โดยในขั้นตอนนี้จะมีรายละเอียดของการออกแบบที่มีความละเอียดและชัดเจนขึ้นมาก เพื่อทำการสรุปรูปแบบและรายละเอียดต่างๆ ของอาคารทั้งหมด สำหรับเตรียมความพร้อมในการดำเนินการประกวดราคา เพื่อให้โครงการดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับประโยชน์สูงที่สุด ภายใต้ต้นทุกที่กำหนด
  • ช่วงการประกวดราคา (Tendering Phase) จะเป็นขั้นตอนในการประกวดราคา ซึ่งจะดำเนินการในการถอดแบบและคำนวณปริมาณ (QTO – Quantity Take-off) เพื่อจัดทำบัญชีแสดงปริมาณและราคา (BOQ – Bill of Quantity) โดยจะทำให้โครงการรับทราบถึงต้นทุนโครงการ เพื่อนำไปประมาณการสำหรับการใช้ต้นทุนโครงกการ ให้ผู้พัฒนาโครงการได้ทราบว่า ยังอยู่ภายใต้งบประมาณอยู่หรือไม่ ซึ่งหากการพิจารณามาแล้วว่าเกินต้นทุนโครงการ จะต้องดำเนินการทำการวิเคราะห์ และเจรจาต่อรองในรายละเอียด ในรูปแบบการควบคุมต้นทุน (/จ) เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนให้อยู่ในต้นทุนของโครงการ

ซึ่งเมื่อเรานำเรื่อง BIM (Building Information Management) ในฝั่งของการทำ Management มาประยุกต์รวมกันกับการควบคุมต้นทุนโครงการ (Project Cost) จะเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้จากบทความเรื่อง BIM กับการสนับสนุนการบริหารจัดการโครงการ ในตอนถัดๆ ไป

โดยสรุปการควบคุมต้นทุนโครงการ (Cost Control)

จำเป็นจะต้องมีการจัดทำการบริหารต้นทุนโครงการ (Cost Management) โดยจะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เพื่อให้ผู้พัฒนาโครงการ รับทราบและประเมินการจัดสรรตุ้นทุนโครงการได้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ในครั้งต่อไป เราจะมาอธิบายถึงการนำ BIM (Building Information Management) ในฝั่งของการทำ Management มาประยุกต์กับการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time) แกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality) และแกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost) ว่าสามารถมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร