เมื่อกล่าวถึงการก่อสร้างแบบ Precast คุณอาจจินตนาการถึงอาคารรูปแบบกล่องๆ เตี้ยๆ แบนๆ แบบ Modular ซึ่งหากพิจารณาถึงกระบวนการผลิตที่ขึ้นรูปชิ้นงานจนสำเร็จในโรงงาน แล้วจึงมาประกอบร่างเป็นอาคารจริงที่หน้าไซต์งาน จึงไม่น่าแปลกใจที่ข้อจำกัดสารพัดเป็นเรื่องที่คนส่วนมากจะนึกถึง

แต่นวัตกรรมสมัยนี้ล้ำหน้าไปไกลมากแล้ว จนถึงขั้นที่มอบอิสระในงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่ไม่จำกัดเพียงรูปแบบกล่อง ไปพร้อมกับมาตรฐานงานผลิตที่ควบคุมได้ในระบบอุตสาหกรรมจากโรงงาน

บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจสถาปัตยกรรมดีไซน์เก๋จากทั่วโลก ที่สร้างด้วยระบบ Prefabrication เป็นการขึ้นรูปชิ้นงานหลากวัสดุจากในโรงงาน และ Precast ที่มุ่งเน้นการขึ้นรูปคอนกรีตเท่านั้น

ตัวอย่างบ้านในโครงการ Victoria ที่ไม่ได้มีรูปแบบเป็นกล่อง

สถาปัตยกรรมดีไซน์เก๋จากทั่วโลก ที่สร้างด้วยระบบ  Prefabrication และ Precast

Geo and Environmental Centre ประเทศเยอรมนี

มองดูผิวเผิน อาคารหลังนี้อาจแลดูทึบตัน แต่เมื่อมองระยะใกล้กลับโปร่งใส ประหนึ่งก้อนน้ำแข็งที่ถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นหินและคอนกรีต อาคารเรียนใน Eberhard Karls University เมือง Tübingen ประเทศเยอรมนีแห่งนี้ ได้รับรางวัลการออกแบบระดับนานาชาติ จากการผสานฟังก์ชั่นของพื้นที่เพื่อการเรียนการสอน พื้นที่ทำงาน และห้องแล็บเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัวและสวยงาม

และแผ่นคอนกรีตทึบตันที่แลดูหนาหนักด้านนอกอาคารนี้ คือผลผลิตจากระบบ Precast ซึ่งขึ้นรูปคอนกรีตจากโรงงาน แล้วจึงขนย้ายมาประกอบที่หน้างาน ภายในก้อนคอนกรีตขนาดลึก 2 เมตร สูง 2 เมตร นี้จึงกลวงเหมือนตะแกรงขนาดใหญ่ ดีต่อการระบายอากาศและการดูแลรักษา ทั้งยังช่วยควบคุมปริมาณแสงสว่างภายในอาคาร พร้อมกับเผยทัศนียภาพที่สวยงามจากในอาคาร จึงนับเป็นงานออกแบบอาคาร Precast ที่ตอบโจทย์ทั้งสุนทรียศาสตร์และการใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

ชิ้นส่วนอาคารที่ขึ้นรูปด้วยระบบ Precast

เมื่อมองจากภายนอกและภายในอาคาร Geo and Environmental Centre

(ภาพประกอบ : Brigida Gonzalez จาก www.archdaily.com)

ภาพตัดอาคาร แสดงการติดตั้งส่วนงาน Precast ด้านนอก

(ภาพประกอบ : KAAN Architecten จาก www.archdaily.com)

Kőér 2 Residential Building ประเทศฮังการี

อาคารพักอาศัย 44 ห้อง ในกรุงบูดาเปส ประเทศฮังการีแห่งนี้ ถูกออกแบบเพื่อเป็นโครงการต่อเนื่องจากอาคารหลังแรก จึงมีรูปแบบคล้ายกันในขนาดที่ใหญ่กว่า แต่เรียบง่ายกว่า และสร้างได้รวดเร็วกว่า

เพื่อสร้างพื้นที่ใช้สอยภายนอกอาคารให้ทุกห้อง สถาปนิกจึงออกแบบระเบียงที่เรียงซ้อนกันในทุกชั้น แม้ว่าอาคารนี้จะใช้วัสดุที่ราคาเป็นมิตรเป็นส่วนมาก แต่ในส่วนที่ผู้ใช้ต้องสัมผัสกับพื้นที่ใช้สอยโดยตรงอย่างระเบียง วัสดุที่มีคุณภาพสูงขึ้นจึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า แต่การเตรียมวัสดุให้เรียบร้อยมาจากโรงงานด้วยระบบ Prefabrication พร้อมติดตั้งทันทีหน้างานก็ช่วยประหยัดต้นทุนทดแทนกัน ตาข่ายโลหะประกอบสำเร็จที่ติดตั้งข้างชานระเบียงสร้างความสวยงามเมื่อมองจากภายนอก กรองแสงให้สบายตาเมื่อมองจากภายใน และยังสร้างลูกเล่นกับมุมมองและองศาของดวงอาทิตย์ ให้แสงเงามีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน

ส่วนประกอบ Prefabrication ตรงระเบียงอาคาร Kőér 2 Residential Building

(ภาพประกอบ : Gergely Kenéz จาก www.archdaily.com)

Urbic Vila Mariana Residential Building ประเทศบราซิล

จะเรียกว่าอาคารหลังนี้ถูกออกแบบมาเพื่อตอกย้ำเทคนิคการก่อสร้างแบบ Prefabrication และ Precast เลยก็ว่าได้ ตั้งแต่เสาคานเหล็กที่ประกอบระบบ Bolted Connection มาตั้งแต่โรงงาน จึงลดขั้นตอนเชื่อมประสานที่หน้างาน พื้นคอนกรีตตกแต่งขอบโลหะ ผนังคอนกรีต แผ่นกระจก ผนังเบา Brazilian cobogó และชุดประปา ทำให้โครงการนี้ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว และจัดการพื้นที่ไซต์งานก่อสร้างได้สะอาดเรียบร้อย

เมื่อการออกแบบชั้นเยี่ยม ผสากับงานระบบ Prefabrication ชั้นยอด จึงเนรมิตงานสถาปัตยกรรมลุคอินดัสเตรียลที่ไม่ซ้ำใคร โครงเหล็กบนอาคารดูมีความเคลื่อนไหวราวลูกคลื่น เชื่อมโยงพื้นที่ภายนอกและภายใน สมดุลทั้งฟังก์ชั่นและความสวยงาม

Urbic Vila Mariana Residential Building ถูกออกแบบมาเพื่อตอกย้ำความพิเศษของเทคนิค Precabrication และ Precast

(ภาพประกอบ : Ana Mello จาก www.archdaily.com)

CASTELLO Della Valle เขาใหญ่

หากกล่าวถึงสถาปัตยกรรมรูปแบบอิตาเลียน ภาพจำของงานโค้งมนคงปรากฎในความคิด สวนทางกับภาพลักษณ์ของงานออกแบบ Precast ที่เป็นกล่องเหลื่ยมมุม ผลผลิตในโครงการ CASTELLO Della Valle จะเปลี่ยนความคิดของคุณไปเลย เพราะงานนี้มีจุดเด่นที่ความโค้งมน

เพื่อลดปัญหาด้านคุณภาพของแรงงานในการก่อสร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป โครงการนี้ต้องปรับแบบใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้างระบบ Precast แต่ยังคงฟังก์ชั่นและความต้องการทางสถาปัตยกรรมเช่นเดิม ด้วยความร่วมมือของสถาปนิกและวิศวกร จึงพัฒนาวิธีการขึ้นรูปชิ้นส่วนที่โค้งมนออกมาได้สำเร็จ ผลลัพธ์คือดีไซน์ตามคาดหวัง พร้อมกับลดจำนวนคนงานจากกว่า 100 คน เหลือเพียง 20 คน ลดเวลาก่อสร้างจาก 2 ปีครึ่ง เหลือเพียง 1 ปีครึ่ง

CASTELLO Della Valle มีองค์ประกอบที่โค้งมน อันขึ้นรูปด้วยระบบ Precast

จากตัวอย่างที่ได้ยกมา จะเห็นว่าระบบ Prefabrication และ Precast ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Prefabrication แต่เน้นการหล่อคอนกรีตเพื่อผลิตชิ้นงานเท่านั้น สามารถออกแบบงานสถาปัตยกรรมได้มากมาย 

  • หากชิ้นส่วน Precast ต้องรับน้ำหนักอาคาร ปัจจัยขึ้นอยู่กับ Floor-plan ในแต่ละชั้นที่เหมือนกัน และสามารถถ่ายเทน้ำหนักแก่กันได้ ส่วนรูปแบบที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงเหลี่ยมตัด หรือทรงโค้งมน องค์ประกอบซับซ้อน หรือเรียบง่าย หากแต่ละชิ้นส่วนสามารถผลิตได้ในระบบอุตสาหกรรมแล้ว ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น
  • หากชิ้นส่วน Precast ไม่ต้องรับน้ำหนักอาคาร เนื่องจากอาคารมีเสาคานที่มารับน้ำหนัก และชิ้นส่วน Precast เป็นเพียงองค์ประกอบเพื่อความสวยงามเท่านั้น เช่น ส่วนตกแต่ง Facade งานออกแบบสามารถดีไซน์ได้อย่างยืดหยุ่นและอิสระ ขอเพียงผลิตในโรงงานได้ แต่มีความต้องการชิ้นส่วนแบบเดียวกันจำนวนมาก

สถาปัตยกรรมที่เหมาะกับการก่อสร้างระบบ Precast

แม้จะไม่จำกัดจินตนาการในการออกแบบ แต่ด้วยโครงสร้างของ Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution ที่รับน้ำหนักได้จำกัดหากไม่มีเสาคานมารองรับ จึงอาจไม่ได้เหมาะสมกับอาคารทุกประเภท รูปแบบเหล่านี้คือลักษณะอาคารที่เหมาะสมกับการก่อสร้างด้วยระบบ Precast

  • งานก่อสร้างบ้านพักอาศัย (Housing)  ด้วยรูปแบบอาคารที่ใกล้เคียงกันเป็นจำนวนมากในแต่ละโครงการ จึงเหมาะกับการก่อสร้างด้วย Precast มากที่สุด เพราะโครงสร้างคล้ายกัน ทำให้ต้นทุนต่ำ
  • งานอาคารสูงไม่เกิน 8 ชั้น (Low-rise Building) อาทิ คอนโดมีเนียม อพาร์ทเมนต์ และมี Floor-plan ในแต่ละชั้นเหมือนกัน
  • งานก่อสร้างผนังอาคารภายนอก (Facade)

ผนังอาคารภายนอก (Facade) ที่ขึ้นรูปด้วยระบบ Precast

(ภาพประกอบ : Sergio Pirrone จาก www.contemporist.com)

เหตุผลที่ Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution เป็นตัวเลือกที่ใช่ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม

  1. จ่ายค่าก่อสร้างน้อยลง ก็ลงทุนกับการออกแบบได้มากขึ้น เพราะระบบ Precast ช่วยลดจำนวนแรงงานที่ใช้ในการก่อสร้าง เวลาที่ใช้ และความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ต้นทุนลดลง เจ้าของโครงการจึงลงทุนกับการออกแบบได้มากกว่า
  2. ไม่ต้องให้เสามาจำกัดอิสระในการออกแบบ เพราะการรับน้ำหนักของอาคารที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast จะถ่ายลงบนผนัง จึงไม่ต้องใช้เสา เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายใน และสถาปนิกมีอิสระในการออกแบบมากขึ้น
  3. ไม่จำกัดแค่อาคารแบบกล่อง ระบบ Precast ยังเอื้อให้อาคารมีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ทั้งส่วนประกอบหลักที่รับน้ำหนักอาคาร และส่วนประกอบเสริมเพื่อความสวยงาม

การก่อสร้างโดยเทคโนโลยี Precast Concrete System ทำให้ไม่ต้องใช้เสา จึงมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

เหตุผลที่ Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution เป็นตัวเลือกที่ใช่ในงานก่อสร้าง

  1. ผลิตชิ้นงานในระบบอุตสาหกรรม จึงได้มาตรฐาน ควบคุมคุณภาพได้ ลดข้อผิดพลาดจากแรงงานคน จึงประหยัดทั้งต้นทุนและเวลา
  2. ลดเวลาก่อสร้าง เพราะส่วนประกอบของอาคารถูกขึ้นรูปมาจากโรงงานแล้ว
  3. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดขยะและมลภาวะจากการก่อสร้างหน้าไซต์งาน อาทิ เศษวัสดุ ฝุ่นผง รวมถึงมลภาวะทางเสียง ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างแบบอิฐฉาบปูนทั่วไป ทำให้หน้างานก่อสร้างสะอาดเรียบร้อยกว่าการก่อสร้างทั่วไป
  4. ผิวสัมผัสของชิ้นงานเรียบ สะดวกต่อการนำไปใช้งาน โดยไม่ต้องเสียเวลาตกแต่งผิว หรือเก็บรายละเอียด
  5. ผนัง Precast แข็งแรงกว่าผนังจากการก่ออิฐ เพิ่มการรับน้ำหนัก ลดการติดตั้งเสาจึงเพิ่มพื้นที่ใช้สอยในตัวอาคารได้
  6. เหมาะกับการก่อสร้างโครงการที่ประกอบด้วยอาคารรูปแบบคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เพราะทำให้ต้นทุนต่ำ สามารถขึ้นรูปชิ้นส่วนทีเดียวจากโรงงาน

 Precast Concrete System จาก CPAC Green Solution ช่วยลดเวลาและขั้นตอนการก่อสร้างหน้างาน ทำให้ได้ไซต์งานที่สะอาด ลดขยะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากดีไซน์ที่หลากหลายและยืดหยุ่น ไม่ได้จำกัดแค่อาคารรูปแบบกล่อง หรือชิ้นสวนต้องรับน้ำหนักอาคารเท่านั้น เทคโนโลยี Precast ยังมีจุดเด่นอีกหลายประการ ที่ทำให้งานก่อสร้างของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและได้มาตรฐาน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในโครงการก่อสร้างของคุณได้ หากคุณมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ที่ CPAC Green Solution เรามีทีมงานที่ปรึกษามืออาชีพ เพื่อให้ความช่วยเหลือตั้งแต่การออกแบบ ปรับแบบให้สอดคล้องกับการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป จัดทำแบบโครงสร้าง การประกอบและติดตั้งชิ้นงาน การแก้ปัญหาในการก่อสร้าง ช่วยให้การก่อสร้างเป็นไปตามที่คุณต้องการ

สนใจสอบถามเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ Inbox คลิก! m.me/cpacthailand หรือติดต่อ CPAC Contact Center โทร. 02-555-5555