จากบทความก่อนหน้าที่เราอธิบายถึงเรื่องหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time) แกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality) และแกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost) ว่ามีความหมายและความสำคัญอย่างไร และในครั้งนี้ เราจะมาอธิบายถึงการนำ BIM (Building Information Management) ในฝั่งของการทำ Management มาประยุกต์กับการบริการจัดการโครงการ (Project Management)

BIM ที่ย่อมาจาก Building Information Management

จะเป็นกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการบริการจัดการการทำงานในโครงการตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ช่วงการออกแบบ การก่อสร้าง จนถึงการใช้และดูแลรักษาอาคาร รวมถึงการจัดการข้อมูล (Information) เพื่อสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการสามารถสื่อสาร/ประสานงานกันโดยใช้อมูลชุดเดียวกัน (Single Source of Truth) ได้อย่างมีประสิทธภาพ

ในปัจจุบันเป็นยุคของการทำ Big Data

ซึ่งการทำ BIM จะมีเรื่องของข้อมูล (Information) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน เพื่อให้ง่านต่อการความเข้าใจ จึงได้มีการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นมาแบ่งตามคงามละเอียดของข้อมูลและตามประเภทการทำงาน BIM (BIM Dimension) โดยสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • BIM Dimension 3D : Modeling
  • BIM Dimension 4D : Scheduling
  • BIM Dimension 5D : Estimating
  • BIM Dimension 6D : Sustainability
  • BIM Dimension 7D : Facility Management

โดย BIM Dimension ที่สอดคล้องกับหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) จะมีรายละเอียดดังนี้

  • BIM Dimension 3D : Modeling กับ แกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality)
  • BIM Dimension 4D : Scheduling กับ แกนที่ 1 เป็นเรื่องของเวลา (Project Time)
  • BIM Dimension 5D : Estimating กับ แกนที่ 3 เป็นเรื่องของต้นทุน (Project Cost)

BIM Dimension 3D : Modeling กับ แกนที่ 2 เป็นเรื่องของคุณภาพ (Project Quality)

>> เป็นการจำลองกายภาพของอาคาร (Geometry) ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นในลักษณะกายภาพ อาทิเช่น ความกว้าง ความยาว และความสูง เป็นต้น โดยสามารถจัดทำขึ้นจากการ 3D Modeling หรือจากการทำ Laser Scanning

เมื่อมีการนำมาประยุกต์ใช้กับหลักการหรือหัวใจสำคัญของการบริการจัดการโครงการ (Project Management) ในแกนที่ 2 เรื่องของคุณภาพ (Project Quality)

จะสนับสนุนในการช่วยให้สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ง่ายขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  • การประสานงานการออกแบบในโครงการ (Design Coordination)

เป็นการประสานงานกันในโครงการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการมองเห็นการออกแบบในรูปแบบ 3 มิติ โดยเห็นรูปแบบและลักษณะความกว้าง ความยาว และความสูงของแต่ละส่วนอาคาร เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจที่ส่งต่อจาก ผู้ออกแบบเจ้าหนึ่งไปอีกเจ้าหนึ่ง

การตรวจสอบการออกแบบในโครงการ (Design Combine)

ในการออกแบบอาคารในโครงการ จะประกอบไปด้วยผู้ออกแบบหลายส่วนงาน โดยแต่ละหน่วยงานจะแบ่งบทบามหน้าที่การทำงาน ตามบริบทความรับผิดชอบ แต่ในการก่อสร้าง จำเป็นจะต้องนำข้อมูลการออกแบบของแต่ละส่วนงานมาตรวจสอบเข้าด้วยกัน สำหรับใช้ในการก่อสร้างต่อไป ขั้นตอนนี้จึงเป็นการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลามาก หากทำงานในรูปแบบเดิม การทำงานด้วย BIM จึงเข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานในส่วนนี้ ให้เห็นภาพชัดเจน ขั้นตอนการทำงานที่เป็น Manual ได้มากในหลายขั้นตอน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นการนำข้อมูลมาตรวจสอบ เพื่อหาปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงปัญหาที่มองไม่เห็นจากการตีความจากการทำงานแบบเก่า ที่จำเป็นจะต้องจำลองการเชื่อมต่อกันขึ้นมาเอง นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในการตรวจสอบข้อบังคับและข้อกำหนดในรูปแบบ Automation ได้ง่ายขึ้น (ในบางกรณี) อีกด้วย