(ภาพจาก Scott Webb on Unsplash)

Green Building หรืออาคารเขียว ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ของการก่อสร้างอาคาร แต่เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับอาคารยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น เพราะอนาคตที่ยาวไกลอยู่ในมือของทุกคน 

เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับอาคารสีเขียว ศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การประเมิน และการคำนวณคะแนน เพื่อเป็นประโยชน์ในงานออกแบบและก่อสร้างอาคารครั้งต่อไป ไม่ว่าจะอาคารหลังใหญ่ที่พร้อมเข้าสู่การรับรองอาคารอย่างเป็นทางการผ่านเกณฑ์ของ LEED หรืออาคารขนาดใดก็ตามเพื่อความยั่งยืนทั้งกับตัวอาคารเองและสิ่งแวดล้อม

Green Building vs LEED

(ภาพจาก CHUTTERSNAP on Unsplash)

เวลาพูดถึงอาคารเขียว มักจะมีคำสำคัญเหล่านี้มาคู่กันเสมอ แล้วคำทั้งหมดนี้เหมือน ต่างกัน หรือสัมพันธ์กันอย่างไร?

อาคารเขียว หรือ Green Building คือภาพรวมภาพใหญ่ของมาตรฐานสำหรับอาคารที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรตลอดอายุของอาคาร ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง แล้วเสร็จใช้งาน ดูแลรักษา ซ่อมแซม ไปจนถึงทำลายเมื่อหมดอายุหรือสิ้นสุดการใช้งาน 

ส่วน LEED เป็นตัวย่อมาจาก Leadership in Energy and Environmental Design ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานการให้คะแนนสำหรับวัดค่าของอาคารเขียว โดยจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อประเมินระดับความเป็นมิตรของสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมในทุกมิติของอาคารหนึ่งหลัง ซึ่งมาตรฐานนี้ถูกพัฒนาโดยองค์กร U.S. Green Building Council (USGBC) ในสหรัฐอเมริกา และใช้เป็นมาตรฐานแพร่หลายทั่วโลก

แล้วแบบไหนที่จะเรียกว่าอาคารเขียว?​ ถ้าเป็นเมื่อก่อน เรามักจะคุ้นหูกับคำว่าอาคารประหยัดพลังงาน ที่เน้นไปที่หัวเรื่องของการลดการใช้พลังงานหรือใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุดทั้งกับการออกแบบและระหว่างการใช้งาน แต่สำหรับอาคารเขียวแล้ว คือการสร้างสรรค์อาคารหนึ่งหลังอย่างรับผิดชอบกับทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งวัสดุก่อสร้าง คุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคม ระบบนิเวศ เศรษฐกิจสีเขียว มลภาวะที่จะปลดปล่อยสู่ภายนอก และภาพใหญ่ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

เกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการคำนวณคะแนน

(ภาพจาก USGBC)

จากแนวทางทั้งหมดถูกนำมาจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ และกำกับการให้คะแนน โดยทาง LEED ได้มีการแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนตามประเภทของโครงการและอาคาร ได้แก่ LEED สำหรับอาคารสร้างใหม่ (BD+C) อาคารระหว่างใช้งาน (O+M) อาคารตกแต่งภายใน (ID+C) บ้านพักอาศัย (Residential) และการพัฒนาย่าน (ND) ซึ่งมีเงื่อนไขในรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป 

แต่โดยรวมทั้งหมด มาตรฐานของ LEED มีหลักเกณฑ์ร่วมกันสำหรับพิจารณาในการประเมินระดับการรับรอง (ตาม LEED Version 4) โดยมีวิธีการให้คะแนนในแต่ละหัวข้อย่อย 2 แบบ ได้แก่ เกณฑ์ภาคบังคับ (Prerequisite) ที่จำเป็นจะต้องผ่านเท่านั้น และเกณฑ์ที่ประเมินด้วยคะแนน ซึ่งอัตราคะแนนแตกต่างไปตามแนวทางที่กำหนด 

(ภาพจาก USGBC)

ในที่นี้ ยกตัวอย่างเกณฑ์คะแนน LEED สำหรับอาคารสร้างใหม่ โดยมีคะแนนในแต่ละหมวดหมู่ ดังนี้

  1. กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าของโครงการ และผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานอาคารเขียว (1 คะแนน)
  2. ที่ตั้งและการคมนาคม (16 คะแนน) ได้แก่ ที่ตั้งไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการพัฒนา การสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะ มีจุดจอดจักรยาน ปริมาณช่องจอดรถยนต์ และพื้นที่จอดรถและบริการสำหรับพาหนะสีเขียว
  3. ที่ตั้งเพื่อความยั่งยืน (10 คะแนน) ได้แก่ การป้องกันมลภาวะที่จะเกิดจากการก่อสร้าง การประเมินและสำรวจที่ตั้ง การอนุรักษ์ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ การออกแบบพื้นที่เปิดโล่ง ระบบการจัดการน้ำฝน การลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน และการลดมลภาวะทางแสง
  4. ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (11 คะแนน) ได้แก่ การลดการใช้น้ำทั้งภายนอกและภายในอาคาร การติดตั้งมาตรวัดน้ำในทุกชั้นสำหรับรายงานการใช้น้ำ และการควบคุมคุณภาพน้ำ
  5. พลังงานและบรรยากาศ (33 คะแนน) ได้แก่ การทดสอบระบบพลังงานในอาคาร ประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ ระบบตรวจวัดการใช้พลังงานทั้งหมดของอาคาร การห้ามใช้สารทำความเย็นที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชั้นโอโซน กระบวนการทดสอบระบบในอาคาร กระบวนการตรวจสอบความต้องการใช้พลังงานในอาคาร การใช้พลังงานหมุนเวียนและกพลังงานทดแทน

ตัวอย่างเครื่องมือการคำนวณคะแนน (ภาพจาก USGBC)

  1. วัสดุและทรัพยากร (13 คะแนน) ได้แก่ การจัดการคัดแยกและจัดเก็บขยะ การจัดการขยะจากการก่อสร้างและทำลาย ความคงทนของการก่อสร้างและอายุการใช้งาน การใช้งานวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและได้รับการรับรองจากองค์กรภายนอกที่เชื่อถือได้ 
  2. คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (16 คะแนน) ได้แก่ ประสิทธิภาพของคุณภาพอากาศภายในอาคาร การจัดพื้นที่สำหรับสูบบุหรี่ แผนงานการเพิ่มคุณภาพอากาศภายในอาคาร วัสดุภายในอาคารที่มีส่วนประกอบของสารอินทรีย์ระเหยง่ายตามเกณฑ์​ การควบคุมและปรับปรุงคุณภาพอากาศทั้งระหว่างการก่อสร้างและก่อนเปิดใช้งานอาคาร การออกแบบระบบปรับอากาศให้อยู่ภาวะสบาย การใช้งานแสงธรรมชาติ และไฟฟ้าแสงสว่างภายในอาคาร
  3. นวัตกรรมในการออกแบบ (6 คะแนน) ได้แก่ นวัตกรรมในงานออกแบบ และมีผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับใบประกาศนียบัตรจาก LEED อยู่ในคณะทำงานของโครงการ
  4. การจัดลำดับความสำคัญในระดับภูมิภาค (4 คะแนน) ส่วนนี้เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนข้อกำหนดของสาขาย่อย ซึ่งจำกัดเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

จากคะแนนทั้งหมดนำมารวมกันเพื่อแบ่งระดับของอาคารเขียว ได้แก่ ระดับผ่านการรับรอง ที่ 40-49 คะแนน, ระดับเงิน ที่ 50-59 คะแนน, ระดับทอง 60-79 คะแนน และระดับแพลตินัม ที่ 80-110 คะแนน

สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ Non CFC ช่วยตอบโจทย์เรื่องอาคารเขียวอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่า คุณภาพอากาศภายในอาคารเป็นบทบาทสำคัญที่สุดอีกหัวเรื่องสำหรับงานออกแบบอาคารเขียว นั่นเป็นเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งคุณภาพชีวิตของผู้คน และการใช้งานพลังงาน อีกทั้งในรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานของ LEED เอง ก็มีการกำหนดในเรื่องนี้อย่างละเอียด 

ในหมวดพลังงานและบรรยากาศ​ มีข้อย่อยเฉพาะซึ่งเป็นภาคบังคับที่จะต้องไม่ใช้สารทำความเย็นที่มีคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC ในงานระบบ ทั้งระบบระบายอากาศ ระบบระบายความร้อน และระบบทำความเย็น โดยเฉพาะระบบปรับอากาศ ที่จะต้องไม่ใช้สาร CFC และ HCFC-22 เพื่อลดการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และลดผลกระทบที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อม

การเลือกใช้งานระบบปรับอากาศและเครื่องปรับอากาศภายในอาคาร จึงจำเป็นต้องศึกษาถึงคุณสมบัติภายในของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้ได้คุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ของมาตรฐานอาคารเขียว การเช็คทำได้ง่ายๆ เริ่มจากตรวจสอบชนิดของสารทำความเย็นแบบ Non CFC ที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม เช่น R32 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยสาร CFC สู่ชั้นบรรยากาศ อย่างเครื่องปรับอากาศ Mitsubishi Electric Mr.Slim Inverter PLY-Series ที่ใช้น้ำยา R32 และได้รับการรับรองฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 (3 ดาว)

หรือระบบปรับอากาศแบบฝังในฝ้าเพดาน City Multi (VRF) Cassette Type 4 Way ที่ใช้การดีไซน์อุปกรณ์เสริมอย่างเซนเซอร์ที่ช่วยตรวจจับการใช้งานพื้นที่ ก็ช่วยประหยัดพลังงานระหว่างวันได้เช่นกัน หรือหากมีข้อสงสัยในเรื่องการเลือกสรรเครื่องปรับอากาศ ทาง Mitsubishi Electric ก็มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำระบบเครื่องปรับอากาศสำหรับอาคารและที่พักอาศัยเช่นเดียวกัน

ขั้นตอนการออกแบบก็นับว่าเป็นการวางรากฐานที่สำคัญของการออกแบบอาคารเขียว สามารถเลือกและดาวน์โหลดระบบปรับอากาศของ Mitsubishi Electric ที่เหมาะสมกับการออกแบบอาคารเขียว และทดลองกับ BIM ได้ที่ https://www.bimobject.com/th/mitsubishi-electric-th