หากพูดถึงงานออกแบบโครงสร้างจากท่อเหล็กที่ผู้คนเห็นภาพชัดเจนที่สุด คงหนีไม่พ้น ‘สะพาน’ งานพื้นที่สาธารณะสำหรับทุกคน 

ข้อโดดเด่นของงานออกแบบสะพานคือ งานดีไซน์ที่มองเห็นความงามของโครงสร้างเป็นสำคัญ ทั้งรูปแบบของโครงสร้างที่เลือกนำมาก่อร่างสร้างขึ้นเป็นสะพาน และเสน่ห์จากสัจจะวัสดุขององค์ประกอบหลักอย่างท่อเหล็ก เช่นนั้นแล้ว วัสดุท่อเหล็กที่เลือกนำมาใช้งานจึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติทั้งด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน ความแข็งแรงในทางโครงสร้าง ไปจนถึงเรื่องความงามของพื้นผิว ความคงทนต่อการใช้งานแบบเอาท์ดอร์ และภาพใหญ่ของการเป็นทัศนวิสัยให้กับเมือง

เราชวนคุณมารู้จักกับสะพานที่เราคุ้นเคยกันดีใจกลางกรุงอย่าง สะพานช่องนนทรี และอัพเดทนวัตกรรมของสะพานอีก 3 แห่งจากทั่วโลกไปพร้อมกัน

01 สกายวอล์กช่องนนทรี กรุงเทพมหานคร

สะพานช่องนนทรี

สะพานแลนด์มาร์กใจกลางเมืองที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อการเดินทางสาธารณะหลากรูปแบบเข้าด้วยกัน ทางเดินแห่งนี้นอกจากจะเป็นจุดเดินผ่านของใครหลายคนระหว่างการเดินทางไปทำงานแล้ว ด้วยความสวยงามสะดุดตาของงานโครงสร้าง ที่นึ่จึงกลายเป็นโลเคชั่นถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งใช้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมพิเศษประจำปี อย่างงานตกแต่งในเทศกาลปีใหม่ ที่รายล้อมด้วยแสงไฟจากตึกระฟ้าในยามราตรี

ในส่วนของงานออกแบบโครงสร้างสกายวอล์กแห่งนี้โดดเด่นด้วยรูปทรงโค้งของโครงสร้างหลัก และระแนงพาดผ่านตรงกลาง เกิดเป็นความงามของแสงและเงาทั้งในช่วงกลางวันจากแสงธรรมชาติและกลางคืนจากแสงไฟตกแต่ง พร้อมกับคงความสวยงามของตัวท่อเหล็กและความแช็งแรงของฟังก์ชั่นในการเป็นพื้นที่สาธารณะซึ่งเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2553 ยาวนานจนถึงปัจจุบัน

เบื้องหลังความแปลกตานี้ ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างท่อเหล็กของ Pacific Pipe รุ่น Round Black Steel Pipe – ERW ที่แข็งแรง ทนทาน สามารถรับแรงดันได้ดี จึงเหมาะกับงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานโครงถักเสา และด้วยผิวเรียบจึงโชว์พื้นผิวของตัวท่อได้อย่างสวยงาม

02 Pedestrian Bridge in Jonava ประเทศลิทัวเนีย

ออกแบบโดย  Architektüros linija

(ภาพโดย Norbert Tukaj)

สะพานทางข้ามสำหรับคนเดินและจักรยานแห่งนี้มุ่งหวังให้เป็นแลนด์มาร์กของเมือง Jonava City ของลิทัวเนีย ไปพร้อมกับฟังก์ชั่นที่สร้างคร่อมถนนเส้นทางหลักของเมือง เพื่อให้คนเดินและผู้ใช้งานจักรยานหลีกเลี่ยงสภาพการจราจรที่วุ่นวายของเมือง และเดินทางได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างท่อเหล็กแบบแบนออกแบบให้เหมือนกับเป็นอุโมงค์ทรงโค้ง จากรูปกลมต่างขนาดที่ถักทอเรียงร้อยกันแบบสามมิติ เพื่อให้ดีไซน์นี้สอดประสานไปกับสถาปัตยกรรมของอาคารกีฬาที่อยู่ข้างๆ งานออกแบบสะพานแห่งนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2016 และมีการดัดแปลงแบบเรื่อยๆ เพื่อให้เข้ากับประสบการณ์ใช้งานจริงบนถนน บริบทของเมืองและทิวทัศน์ที่รายรอบ และรูปแบบของงานโครงสร้างที่เป็นไปได้

03 Park Union Bridge ประเทศสหรัฐอเมริกา

ออกแบบโดย Diller Scofidio + Renfro

(ภาพโดย Jason O’Rear)

สะพานสุดล้ำความยาว 250 ฟุต สูง 25 ฟุต ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อพิพิธภัณฑ์ที่เฉลิมฉลองเรื่องราวของโอลิมปิกและพาราลิมปิกของสหรัฐอเมริกา ความท้าทายจึงเป็นเรื่องของสแปนที่ทอดยาวพาดผ่านรางรถไฟ ไปพร้อมกับงานดีไซน์ที่ต้องสอดรับกับตัวอาคารที่เชื่อมต่อ

สถาปนิกเล่าว่า สะพานแห่งนี้เป็นเหมือนกับแบบฝึกหัดของงานออกแบบเพื่อความพอดี ทั้งในเรื่องการใช้งานวัสดุและรูปทรงเรขาคณิต งานโครงสร้างจึงเลือกใช้แบบผสมผสานทั้งแบบโครงเหล็กถักและทรงโค้ง ที่เปิดมุมมองของเมืองในแบบสามมิติ  เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้คน และเป็นทางสำหรับจักรยานและผู้ใช้งานรถเข็น ตอบกับจุดประสงค์ของอาคารพาราลิมปิกไปด้วยในตัว

04 Minhang Riverfront Regeneration ประเทศจีน

ออกแบบโดย SPARK Architects

(ภาพโดย Shine Lab)

สะพานข้ามแม่น้ำสีแดงสดที่เป็นเหมือนกับการขยายความเป็นไปได้ของการสัญจรในเมืองให้กับผู้ใช้งานในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน พร้อมกับต้อนรับการขยับขยายของเมืองในยุคใหม่ สะพานแห่งนี้จึงเป็นมากกว่าฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่เป็นสัญลักษณ์การเติบโตของจีน เพื่อปรับปรุงทัศนียภาพของเมืองให้สวยงามมากกว่าที่เคย

ด้วยบริบทของพื้นที่ที่ผสมผสานการเป็นย่านการค้า เทคโนโลยี และสถาบันต่างๆ สะพานทางเดินแห่งนี้จึงทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกพื้นที่เหล่านี้เข้าไปด้วยกันตลอดการเดินทางยาว 750 เมตร ที่งานออกแบบสะพานเป็นมากกว่างานออกแบบโครงสร้าง แต่เป็นการออกแบบรายละเอียดของฟังก์ชั่นการใช้งานอย่างการเลือกใช้สีแดง งานแพทเทิร์นหลังคา สวนสีเขียว ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนให้กับเมือง

สรุป

งานออกแบบโครงสร้างขนาดใหญ่ทั้งหมดอย่างที่เล่ามานี้ จำเป็นจะต้องวางแผนการทำงานให้กับดีไซน์ ไม่เพียงกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่จำเป็นจะต้องสวยงาม เป็นแลนด์มาร์กให้กับพื้นที่ตั้ง แต่ยังต้องเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งานหนักสำหรับเป็นพื้นที่สาธารณะ และสวยงามยาวนานตลอดอายุการใช้งาน

ความสำคัญจึงเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงงานออกแบบ ซึ่งการใช้ BIM เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการและวางแผนงานการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะได้เห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด ทั้งเรื่องรูปลักษณ์ การใช้งานวัสดุ และขั้นตอนการก่อสร้างแล้ว การใช้โปรแกรมช่วยวางแผนโครงการยังลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน หนึ่งตัวช่วยที่จะพาดีไซเนอร์เดินทางออกจากข้อจำกัดเดิมๆ โดยมี Steel Service Solution จาก PACIFIC PIPE และ BIMobject เป็นตัวช่วยสำคัญให้งานออกแบบสร้างขึ้นได้จริงตามจินตนาการ

เหล็กจาก PACIFIC PIPE และ Steel Service Solution พร้อมเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการที่หลากหลาย ทั้งงานโครงสร้างและงานระบบ

สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานท่อในแต่ละคุณสมบัติได้ ที่นี่ 

และดาวน์โหลด Object จาก Pacific Pipe ได้ที่ BIMobject