ในวงการก่อนหน้านี้ ย้อนไป 5 ปีขึ้น จะมีคำพูดว่า “เรากำลังจะเปลี่ยนจาก CAD เป็น BIM” ประโยคดังกล่าวเป็นประโยคที่ช่าง ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิก หรือวิศวกร ในวงการออกแบบก่อสร้างเข้าใจได้ เพราะ สิ่งที่เราใกล้ชิดกับ ความเป็น Digital มากที่สุด

สำหรับคนกลุ่มนี้ ถ้าไม่นับการใช้ LINE หรือ ส่ง Email คือการใช้โปรแกรม CAD เขียนแบบ เปิดอ่านแบบ แต่ หลายๆ คนพอได้จับ BIM ไม่ว่าจะเป็นการใช้โปรแกรมใดๆ ก็ตาม เมื่อศึกษาลงลึกไปจะทราบว่า BIM นั้น ไม่ใช่แค่การเขียนแบบ ไม่ใช่แค่ 3D แต่มันคือ “กระบวนการ”

Software ที่เป็น BIM-based คือ Software ที่ทำให้กระบวนการ ซึ่งเป็นแนวคิดทางทฤษฎี ของการทำงานเชื่อมโยงกันทั้งระบบ ในโลกของและข้อมูลการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องเป็นหนึ่งเดียว เป็นจริงได้ เป็นกระบวนการที่มนุษยชาติในวงการก่อสร้างใฝ่หา อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ “ข้อมูล” ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ BIM นั้นเป็นข้อมูลที่ไป “เชื่อมต่อ” กับข้อมูลในลักษณะอื่นๆ ภายในองค์กรและภายนอกองค์กรได้

จากสมัยก่อนที่แบบ AutoCAD เป็นเรื่องที่ Stand-Alone อยากจะใช้ข้อมูลจาก CAD ไปทำอย่างอื่น เช่น เอาจำนวนพื้นที่ไปทำ เอกสารการขาย (ในกรณีอสังหาริมทรัพย์) หรือ เอาปริมาณวัสดุไปทำราคา ก็ต้องใช้การตีความด้วยคน และใช้คน Key ข้อมูลเข้าไปในระบบ อีกระบบหนึ่งต่างหาก

BIM ทำให้การ “Link ระหว่างข้อมูลข้ามระบบ” หรือที่เรียกว่า ปรากฎการณ์ Synchronization เกิดขึ้นได้ เมื่อเปลี่ยนที่จุดใดจุดหนึ่งภาพรวมในระบบทั้งหมดจะเปลี่ยน ดังนั้น หากใครในที่นี้ใช้ BIM แล้ว ท่านยังไม่เกิดปรากฎการณ์นี้ในองค์กร ก็ต้องขอเรียนว่า ท่านยังได้ประโยชน์จากมันไม่เต็มที่ หากท่าน Sync ได้ ท่านจะสามารถ Optimize ประสิทธิภาพของ “แบบก่อสร้าง” ที่มีผลต่อ ต้นทุน ความเสี่ยง และกระบวนการภายในของท่านได้อีกมากมายมหาศาล

ทีนี้ คำถามต่อไปคือ ถ้าเรายึดหลักว่า “การเชื่อมโยงข้อมูลของงานออกแบบก่อสร้างจาก BIM ให้เป็น Real-time เข้ากับ กระบวนการภายในองค์กร คือ Benefit ที่เป็น Ultimate ของ BIM” แล้วตรรกะที่ว่า “เราจะเปลี่ยนจาก CAD ไป BIM” ซึ่งฟังดู เหมือนเป็นเพียงการเปลี่ยนเครื่องมือเขียนแบบ แท้จริงแล้วคือตรรกะที่ถูกต้องหรือไม่

คำตอบของผม ในฐานะคนที่เกี่ยวข้องกับ BIM มา 10 ปี ก็คงจะต้องตอบว่า “ถูก แต่ถูกด้านเดียว” และด้านที่ว่านั้น คือด้านของ “คนทำแบบ” คนทำแบบคือใครบ้าง ก็เช่น สถาปนิก วิศวกร หรือที่ปรึกษาต่างๆ ที่อยู่ในฝั่ง “ออกแบบ” หรือในโลก Digital คือ คน “สร้างข้อมูล” (เปรียบเทียบกับฝั่งผู้รับเหมาคือคน “สร้างวัตถุ”)

ตรรกะที่ไม่เคยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คนที่สำคัญยิ่งกว่าคนทำแบบ ให้เขาเข้าใจ Logic ตรรกะสำหรับเจ้าของกิจการ หรือ Business Owner รวมถึง ผู้บริหารองค์กร ว่า จากที่เคยเป็นอยู่ แล้วมาเป็น BIM สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคืออะไร ที่เป็นสาระสำคัญ

ต้องตอบคำถามให้ได้ว่า องค์กรได้อะไรที่เป็นประโยชน์แบบก้าวกระโดดบ้าง จากการนำเทคโนโลยีที่ต้นทุนสูงนี้มาใช้

ในฐานะที่มีประสบการณ์บริหารองค์กรอยู่บ้าง ผมคิดว่า ตรรกะที่เหมาะสม สำหรับเจ้าของกิจการและผู้บริหาร จาก “ไม่มี BIM” มา “มี BIM” คือการ “Implement ระบบ Enterprise Resource Planning” ใน Business Process

การนำ BIM เข้ามาในองค์กร เปรียบได้กับการเปลี่ยนการทำงาน แบบกระดาษ กดเครื่องคิดเลข Excel บนเครื่องใครเครื่องมัน หรือแม้แต่ Shared Drive เป็น Excel มาเป็นระบบ ERP ใครที่เป็นผู้บริหารแล้วได้ผ่านประสบการณ์ของการ Migrate จากระบบ Manual Paper ผสม Excel + เครื่องคิดเลข มาเป็นระบบ ERP ล้วนจะเข้าใจความ “นรก” ของช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น และจะเห็นผลเมื่อ คนในองค์กรของท่านได้ ฝึกใช้ จนเข้าสู่ภาวะปกติของการทำงานในโลกใหม่ ซึ่งท่านจะรู้ว่า องค์กรของท่านเหมือนขับรถม้าเปลี่ยนมาขับรถยนต์

ERP คืออะไร

ความหมายจาก เว็บไซต์ Investopedia.com มีดังนี้ Enterprise resource planning (ERP) เป็นกระบวนกาาร ที่บริษัทใช้ในการบริหารและเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆ ของธุรกิจเข้ามาหากัน ทั้งนี้เครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ คือ Software ที่มาดำเนินการ ดังนั้นพอพูดถึง ERP หลายคนจะมุ่งไปที่ Software ทันที โดยมักไม่มองแนวคิดด้านกระบวนการ Software ERP จะตอบโจทย์ โดยเฉพาะการ “วางแผนการใช้ทรัพยากร” สมชื่อตรงตัวของมัน ให้มาเป็นระบบเดียวให้ได้

Function หรือสายงานที่ต้องมีการเชื่อมกัน คือ Function ที่เป็นสาระของธุรกิจที่เกี่ยวกับทรัพยากร (เช่น เงิน หรือ คน คู่ค้า วัตถุดิบ หรือสินค้า เป็นต้น) ฝ่ายดังกล่าว เช่น Purchasing Inventory, Sales, Marketing, Finance, Human Resources เป็นต้น

ทุกวันนี้ Software ERP มียี่ห้อที่ดังๆ จากบริษัทขนาดใหญ่ และ Start-Up มากมาย และมีการปรับเปลี่ยนมาตลอด โดยเฉพาะทุกวันนี้อยู่ในระบบที่เป็น Cloud และทำงานเป็น Software-as-a-Service (SaaS) ที่ไม่ต้องมาลงโปรแกรมในเครื่อง ไม่ต้องซื้อ Server ใดๆ ทำให้เป็นปรากฎการณ์ที่ ERP ในองค์กร ถูก Access ได้ทั่วโลก เกิดขึ้น เป็น User-Friendly มากขึ้น ราคาก็ถูกลงไป

ผลประโยชน์ ของ ERP คือ การไหลลื่นของข้อมูลที่คล่องตัว (Free Flow of Communication) โดยเฉพาะระหว่างฝ่าย และระหว่างหน่วยธุรกิจ กลายมาเป็น “A Single Source of Information” และ “Accurate” รวมถึงกลายเป็น “Real-Time Data Reporting” ที่สำคัญ ทุกคนพูดเหมือนกันว่า ERP system จะกลายเป็นกระดูกชิ้นใหญ่หากทำการ “Implement” โดยไม่เตรียมระบบองค์กรให้เหมาะสม

ใครที่ทำงาน BIM แล้วฟัง นิยามที่พูดถึง ERP นี้ รับรองได้ว่า นึกว่าคู่แฝดจาก โลกคู่ขนาน โลกหนึ่งคือธุรกิจการเงิน อีกโลกคือการก่อสร้าง

หากมีคนมาถามผมว่า BIM คือ ERP สำหรับโลกของงานออกแบบก่อสร้างและบริหารอาคารใช้หรือไม่ ผมจะตอบเลยว่า ใช่

นอกจากนิยามของตัวมันเองแล้ว การเปลี่ยนผ่าน เหมือนกันในหลายๆ มิติ ระหว่าง ERP กับ BIM มาก ในช่วงของการ Implement หรือ ที่เรียกว่า “ขึ้นระบบ” หรือ “วางระบบ”

ในตอนหน้า ผมจะพาทุกท่านไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการ Implement ทั้งในโลกของ ERP และ BIM กันครับ