World Economic Forum (WEF) ได้คาดการณ์เอาไว้ว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้า มนุษย์เราอาจเผชิญความเสี่ยงสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศแปรปรวน การขาดแคลนทรัพยากร และความเหลื่อมล้ำของสังคม ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องช่วยกันปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤติในการดำรงชีวิตในอนาคต ภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่าง SCG และ CPAC เล็งเห็นความสำคัญนี้ และนำโมเดลธุรกิจ ESG มาปรับใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

SCG ESG Pathway คืออะไร

จากงาน SCG ESG Pathway “เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ SCG ได้ประกาศนำกลยุทธ์ ESG มาปรับใช้กับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 108 ปี โดย E ย่อมาจาก Environment S ย่อมาจาก Social และ G ย่อมาจาก Governance ดังนั้น พจนานุกรมของ SCG ในอนาคตจึงหมายถึงการดำเนินธุรกิจที่เติบโตควบคู่ไปกับการคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล

ความมุ่งมั่นของ SCG ในการแก้ปัญหาของสังคมสะท้อนจากคำของคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG ที่ระบุว่า

SCG ในฐานะพลเมืองโลก ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน ด้วยการนำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) มาผนวกกับแนวคิด ESG เกิดเป็นแนวทาง “ESG 4PLUS” ประกอบด้วย 4 แนวทางด้วยกัน คือ 1. มุ่ง Net Zero 2. Go Green 3. Lean เหลื่อมล้ำ และ 4. ย้ำร่วมมือ โดยยึดหลักหลักความเป็นธรรมและโปร่งใส เป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจ”

ESG Pathway ฉบับ SCG

แนวทางแรกคือ Net Zero โดย SCG ตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 กลยุทธ์หลักคือการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานไฮเดรเจน พลังงานชีวมวล และเชื้อเพลิงจากขยะ ผนวกกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มการพัฒนาและลงทุนในเทคโนโลยีที่ผลิตคาร์บอนต่ำ รวมถึงสร้างฝายและปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้น

แนวทางที่สองคือ Go Green ด้วยกลยุทธ์การผลิตสินค้า บริการ และ Solution ที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งยังสร้างแพลตฟอร์ม เช่น EV Solution Platform เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของ SCG

แนวทางที่สามคือ Lean เหลื่อมล้ำ SCG ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอันเป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจและการระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านการพัฒนาทักษะอาชีพของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาด เช่น พนักงานขับรถบรรทุก ช่างก่อสร้าง ช่างประจำบ้าน พยาบาล และวิสาหกิจชุมชน โดยตั้งเป้าจะ Re-skill และ Re-train คนที่อาศัยในชุมชนรอบโรงงานและ SMEs ที่ทำงานกับ SCG ให้ได้ 20,000 คนภายในปี 2025

และแนวทางสุดท้ายคือ ย้ำร่วมมือ SCG ต้องการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา รวมถึงกับองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ส่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับโลก ทั้งนี้ SCG ได้ระบุว่าความเป็นธรรมโปร่งใส (Governance) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานของ SCG เพราะเชื่อว่าความเชื่อมั่นต่อองค์กรตลอดศตวรรษปีที่ผ่านมาเกิดขึ้นได้ด้วยความเป็นธรรม ความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของบริษัทนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง SCG ระบุว่า “เรามีเป้าหมายในการเพิ่มนวัตกรรมรักษ์โลกภายใต้ฉลาก SCG Green Choice (ฉลากที่ให้การรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยส่งเสริมด้านสุขอนามัยที่ดี) เป็น 2 เท่า ภายในปี 2030” เพื่อมอบทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่รักษ์โลก

ตัวอย่างนวัตกรรมรักษ์โลกที่ได้ฉลาก SCG Green Choice เช่น SCG Solar Roof หลังคาที่ช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้ฟอสซิล SCG Active Air Quality ระบบจัดการคุณภาพอากาศภายในบ้านเพื่อสร้างอากาศคุณภาพดี ปลอดภัย มีคุณสมบัติเด่นเรื่องการกรองฝุ่น PM2.5 และฆ่าเชื้อโรค รวมถึงสุขภัณฑ์ที่ใช้ภายในบ้านที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ ลดการใช้ทรัพยากร อีกหนึ่งนวัตกรรมรักษ์โลกจาก SCG คือ ปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮบริด ที่ไม่เพียงปรับสูตรปูนให้มีความแข็งแรง ทนทาน รับกำลังอัดได้ดีกว่าหรือเทียบเท่าปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ทั่วไป แต่ยังลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ถือเป็นนวัตกรรมที่ทำให้ช่วยให้สังคมบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างดี

CPAC กับแนวทาง ESG Pathway

สำหรับ CPAC บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ในเครือ SCG นั้น มี DNA ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการไม่ต่างจากบริษัทอื่น ๆ ในเครือ SCG ผ่านการยกระดับการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมการก่อสร้าง

นอกจากนั้น CPAC ยังมาพร้อมกับบริการ CPAC Green Solution ผ่านเทคโนโลยี 3Ds โดย D แรก คือ 3D Printing Solution ซึ่งเป็นนวัตกรรมการออกแบบแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับโลก สามารถครีเอทลายปรินท์ได้หลากหลาย โดดเด่น ไม่ซ้ำใคร มีความสวยงามและแม่นยำด้วยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ควบคุมกระบวนการก่อสร้าง ลดเศษวัสดุเหลือทิ้งจากไซต์งานก่อสร้าง โดยสามารถใช้ได้กับงานทั้งในกลุ่มงานก่อสร้างและงานตกแต่ง

D ที่สอง คือ Drone Solution เป็นการนำโดรนมาใช้ในการประเมินพื้นที่ ลดเวลาในการสำรวจ ลดความผิดพลาดในการก่อสร้าง เพิ่มความปลอดภัยในไซต์งาน ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่สูงขึ้น ซึ่งการใช้บริการนี้เหมาะกับงานในหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นงานสำรวจรังวัดจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโรงโม่ งานสำรวจพื้นที่โครงการก่อสร้าง รวมถึงงานตรวจสอบพื้นที่ซ่อมบำรุงในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง

D สุดท้าย คือ Digital Construction ซึ่งถือเป็นการยกระดับวงการก่อสร้างไทยด้วยการใช้เทคโนโลยีอย่าง BIM (Building Information Modeling) รวมถึง Software ที่เกี่ยวข้อง ทำให้สถาปนิก วิศวกร ผู้บริหารโครงการ และผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งเรื่องนี้นั้น คุณชนะ ภูมี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวถึง CPAC Green Solution ว่าเป็นการ

“Turn Waste to Value” ส่งต่อความยั่งยืนให้แก่สังคม

ชมวิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ คุณสยามรัฐ สุทธานุกูล Chief Marketing Officer (CMO) บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจีเจาะลึกการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ CPAC Green Solution “ล้ำ เปลี่ยน โลก” พลิกโฉมวงการก่อสร้างเมืองไทย ด้วยเทคโนโลยีที่รักษ์โลก ที่นี่

สรุป

จากสภาพปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน ทำให้เราทุกคนต้องปรับตัวเพื่อเผชิญหน้ากับความเสี่ยงในหลายมิติ เป็นเรื่องดีไม่น้อยที่วันนี้เราได้เห็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างเอสซีจีและบริษัทในเครือหันมาร่วมแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับคุณภาพชีวิตของคนทั้งโลก อีกทั้งยังวางแผน คิดค้น พัฒนาอุปกรณ์และวิธีการก่อสร้างรูปแบบใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ในมุมมองของสถาปนิกคนหนึ่ง รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในวันนี้ วงการออกแบบและก่อสร้างจะมีทางเลือกใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม ช่วยต่อเวลาให้โลกของเราไปอีกแสนนาน