BIMobject-how-to-arrange-electric-equipment-Blog-Cover34

เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญภายในบ้านที่สำคัญในงานออกแบบ ปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นส่วนนึงของวิถีชีวิตภายในบ้าน ดังนั้น การออกแบบการจัดวางตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ตอบสนองต่อผู้อยู่อาศัยจึงเป็นอีกหนึ่งโจทย์สำคัญที่นักออกแบบต้องพบเจอ

การจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าสำคัญอย่างไร?

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์โดยตรงกับวิถีชีวิต ตำแหน่งการจัดวางที่ดีย่อมช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยผู้ออกแบบไม่เพียงแต่ออกแบบความสวยงาม แต่ควรออกแบบให้บ้านเอื้อต่อการใช้ชีวิต ทำให้ Flow ของบ้านเป็นไปได้อย่างไหลลื่นไม่ติดขัด

เทคนิคการจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องต่างๆ ด้วย BIM

เครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละพื้นที่ย่อมมีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนั้น การออกแบบตำแหน่งการจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละห้องจึงแต่ต่างกัน เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานมากที่สุด ซึ่งนักออกแบบสามารถใช้ BIM ในการจัดวางตำแหน่งเบื้องต้นได้ผ่านการวาง Object ทำให้เจ้าของบ้านเห็นภาพและเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้การใช้ BIM เป็นตัวช่วยในการวาง Object เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง TV ตู้เย็นและแอร์ ทำให้นักออกแบบทราบระยะในการจัดวางจากพื้นที่จริง เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในแต่ละยี่ห้อมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการทราบระยะที่แน่นอนตั้งแต่ในแบบแปลน จะช่วยลดปัญหาการจัดวางในพื้นที่หน้างานและทำให้การทำงานจริงราบรื่นมากยิ่งขึ้น

1. ห้องนั่งเล่น

ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่ศูนย์รวมภายในบ้าน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องนั่งเล่นส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่มอบความบันเทิงให้กับผู้ใช้งาน เช่น โทรทัศน์และเครื่องเสียง เริ่มต้นจากการจัดวางโทรทัศน์ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ เรื่องสายตา การออกแบบที่ดีควรจัดตำแหน่งโทรทัศน์ให้อยู่ห่างจากหน้าต่าง เพราะจะทำให้แสงจากหน้าต่างเข้ามารบกวนบริเวณจอ โดยระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างโทรทัศน์และโซฟาควรอยู่ที่ 1-3 เมตร โดยขึ้นอยู่กับขนาดของโทรทัศน์และขนาดห้อง ดังนี้

  • ห้องนั่งเล่นขนาดเล็ก (คอนโด) พื้นที่ไม่มากควรใช้โทรทัศน์ขนาด 26-42 นิ้ว เพราะระยะห่างต้องใกล้ การเลือกโทรทัศน์ขนาดใหญ่อาจทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • ห้องนั่งเล่นขนาดกลาง การเลือกใช้โทรทัศน์ขนาด 47-55 นิ้ว จะช่วยให้สมาชิกภายในห้องเห็นภาพได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม การตั้งโทรทัศน์ควรปรับตามระดับสายตา โดยไม่ควรสูงเกินไปเพื่อให้นั่งดูโทรทัศน์ได้อย่างสบาย
  • ห้องนั่งเล่นขนาดใหญ่ สำหรับบ้านที่มีพื้นที่กว้างอาจจัดวางตำแหน่งโซฟาที่มีระยะห่างมาก ดังนั้น ควรเลือกใช้โทรทัศน์ขนาดใหญ่อย่าง 60 นิ้ว เพื่อให้สมาชิกทุกคนเห็นภาพได้ชัดเจน

สุดท้าย คือ การจัดวางเครื่องเสียงในห้องนั่งเล่น โดยควรคำนึงถึงการเดินทางของเสียงและจุดสะท้อนเสียง เพื่อให้เสียงกระจายอย่างทั่วถึง ไม่อึดอัดกับผู้ฟัง ลำโพงสองข้างควรมีระยะห่างกัน 2-3 เมตร หรือหากเป็นห้องขนาดเล็ก การวางลำโพงบริเวณมุมห้องจะสามารถช่วยให้เสียงเดินทางได้อย่างครอบคลุมภายในห้องได้

BIMobject-how-to-arrange-electric-equipment-01

ดูตัวอย่าง Object ที่ใช้วางในห้องนั่งเล่น เช่น ชั้นวางทีวี/โต๊ะกาแฟ จาก Mahasamut

2. ห้องครัว

สำหรับการจัดวางตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องครัวจะเน้นไปที่การหยิบจับใช้งานได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งความเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งนักออกแบบสามารถทำได้หลากหลาย ตั้งแต่การติดตั้งชั้นวางเพื่อวางเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กอย่างไมโครเวฟหรือหม้อหุงข้าว หรือการแยกประเภทเครื่องครัวที่ใช้ร่วมกันเพื่อความสะดวกในการหยิบจับใช้งาน ใครอยากรู้เรื่องระบบการจัดเก็บเครื่องครัวสามารถอ่านต่อได้ในบทความ “ครัวเล็กกับระบบการจัดเก็บ

ทั้งนี้ การจัดตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องครัว นอกเหนือจากการใช้งานแล้ว สิ่งสำคัญ คือ ความปลอดภัยและการประหยัดพลังงาน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้ คือ ตู้เย็น เนื่องจากมีการทำงานตลอดเวลา หากวางในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ตู้เย็นทำงานหนักได้ โดยเคล็ดลับการจัดวางตู้เย็นมีดังนี้

  • จัดตำแหน่งตู้เย็นให้อยู่ห่างจากเตาแก๊สหรือหน้าต่าง เพื่อป้องกันตู้เย็นทำงานหนักและทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากเกินจำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการตั้งตู้เย็นในมุมที่อับและชื้น เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
  • ควรเว้นระยะห่างตู้เย็นจากผนังและเพดานบ้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการระบายความร้อนของตู้เย็น

BIMobject-how-to-arrange-electric-equipment-02

ดูตัวอย่าง Object ที่ใช้วางในห้องครัว เช่น ตู้เย็นจาก Hafele

3. ห้องทำงาน

เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องทำงานนั้นส่วนมากมีเพียงแค่คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ และโคมไฟเท่านั้น ถึงจะดูน้อยแต่ทุกสิ่งล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยนักออกแบบควรศึกษาถึงอาชีพและลักษณะการทำงานของผู้อยู่อาศัย เช่น เจ้าของบ้านชอบทำงานกลางวัน ดังนั้น การออกแบบจึงต้องให้แสงธรรมชาติเข้ามาช่วยส่องสว่าง และโต๊ะทำงานควรได้รับแสงเพียงพอแต่ไม่มากจนเกินไป เพื่อป้องกันแสงรบกวนการทำงาน

แม้กระทั่งตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศภายในห้อง ไม่ควรอยู่ตรงกับศรีษะ เพื่อป้องกันฝุ่นที่อาจจะร่วงลงมาบนโต๊ะทำงาน และหลีกเลี่ยงการติดตั้งในตำแหน่งที่ลมแอร์จะกระทบต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน เพราะทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างอาการระคายเคืองตา และเกิดภูมิแพ้ได้ง่าย เป็นต้น

BIMobject-how-to-arrange-electric-equipment-03

ดูตัวอย่าง Object ที่ใช้วางในห้องทำงาน เช่น ชุดโต๊ะทำงานจาก Modernform

4. ห้องนอน

สำหรับการจัดตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องนอนจะเน้นไปที่การพักผ่อนเป็นหลัก เช่น การจัดตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศและพัดลม โดยเทคนิคการจัดตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ควรจัดตำแหน่งให้ทิศทางลมไปที่ปลายเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลมกระทบกับบริเวณศีรษะเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้

BIMobject-how-to-arrange-electric-equipment-04

ดูตัวอย่าง Object ที่ใช้วางในห้องนอน เช่น เตียงจาก Plaza

การจัดวางตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยโมเดล 3 มิติ

หลังจากทราบเทคนิคในการจัดวางแล้ว ลำดับต่อมา คือ การลงมือออกแบบ ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้การออกแบบง่ายขึ้น อย่างโปรแกรมออกแบบ 3 มิติ ซึ่งช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นภาพบ้านได้อย่างชัดเจน และทำให้การจัดซื้อหรือการออกใบ BOQ แม่นยำมากขึ้น

โดยโปรแกรมออกแบบ 3 มิติหลายแห่งเปิดให้ดาว์นโหลดโมเดล 3 มิติได้ฟรี ทั้งเฟอร์นิเจอร์และแบบห้องต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างโมเดลใหม่ ทำให้การทำงานสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่ง BIMobject เป็นหนึ่งในเว็บไซต์ที่รวบรวมโมเดลเฟอร์นิเจอร์ และโมเดลด้านการตกแต่งภายในอย่างครบครัน โมเดลมีขายจริง สเกลตรงตามจริง โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ BIMobject

สรุป

สำหรับจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ต่างๆ ภายในบ้านมีหลายปัจจัยเข้ามาประกอบทั้งพฤติกรรมการใช้งาน ไปจนถึงความปลอดภัย ทั้งนี้ นักออกแบบสามารถใช้โปรแกรมออกแบบ 3 มิติมาช่วยในการออกแบบ ทำให้เจ้าของบ้านเห็นภาพจริง อีกทั้งยังช่วยเสนอไอเดียในการออกแบบผ่านการนำโมเดลเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ต่างๆ มาจัดวาง ทำให้การจัดวางจริงง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย

นอกเหนือจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว การออกแบบประเภทอื่นก็สามารถนำ BIM มาปรับใช้เช่นเดียวกัน ทั้งงานตกแต่งภายนอกอย่าง หน้าต่าง ประตู ไปจนถึงงานโครงสร้างอย่างบันไดและหลังคา ซึ่งช่วยให้นักออกแบบรังสรรค์ผลงานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

หากนักออกแบบคนไหนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับงานออกแบบหรือการนำโปรแกรมออกแบบ 3 มิติมาใช้งาน สามารถอ่านเรื่องราวดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ BIMspaces