ช่วงเวลาของโรคระบาดที่แพร่กระจายไปทั่วโลกนี้ ทำให้หลายคนต้องมีการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) เป็นหลัก ซึ่งเลี่ยงไม่ได้เลยที่ต้องเปิดแอร์ทั้งวันทั้งจากสาเหตุที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน และอุปกรณ์ในการทำงานบางอย่างเมื่อใช้นานๆ จะมีอุณหภูมิสูงจึงต้องอยู่ในห้องแอร์ตลอดเวลา บทความนี้จะบอกคุณเกี่ยวกับตำแหน่งการติดแอร์และการบำรุงรักษาแอร์เบื้องต้น เพื่อให้คุณประหยัดไฟได้มากขึ้น!!

ติดตั้งแอร์อย่างไรให้ประหยัดไฟเกินคุ้ม

การติดตั้งแอร์ให้ถูกต้องนอกจากจะช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงานภายในห้องแล้ว ยังทำให้ห้องของคุณมีความเย็นอย่างสม่ำเสมอ ลมแอร์กระจายอย่างทั่วถึง อีกทั้งแอร์ยังไม่ทำงานหนักจนเกินไปอีกด้วย โดยมีเคล็ดลับการติดตั้งดังนี้

1. เลือกแอร์ให้เหมาะกับขนาดห้อง

อ้างอิงจากบทความเกี่ยวกับการเลือกแอร์บ้านให้เหมาะสม สิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นเรื่องแรกๆ เลยคือเรื่องของ BTU (British Thermal Unit) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเย็นของแอร์ ยิ่ง BTU สูง แอร์ก็จะยิ่งทำความเย็นได้มากแต่หากสูงเกินไปหรือต่ำเกินไปก็จะทำให้เปลืองไฟได้ จึงขออ้างอิงตารางความเหมาะสมของ BTU มาดังนี้

BIMobject-position-for-air-conditioner-03

ขอบคุณข้อมูลจาก www.kyg.co.th

ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก่อนการติดตั้งแอร์คือ “ต้องมั่นใจว่าแอร์มีความเหมาะสมกับห้อง” ไม่เช่นนั้นตำแหน่งที่ติดตั้งอาจไม่ส่งผลเท่าที่ควรอย่างแน่นอน

2. เลือกติดตั้งแอร์ในแนวยาวของห้อง

ห้องบางห้องไม่ได้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสที่มีขนาดเท่ากันทั้งสี่ด้าน แต่มีความแตกต่างในสัดส่วนของความกว้างและความยาว การเลือกติดตั้งแอร์จึงควรติดในแนวยาว เพื่อให้ลมแอร์นั้นสามารถพัดผ่านไปได้อย่างทั่วถึง

สำหรับกรณีที่ห้องยาวเอามากๆ อาจใช้ตัวช่วยเป็นฉากกั้นภายในห้องเพื่อทำให้ลมแอร์ถูกเก็บไว้ในพื้นที่ใช้งานหลัก อีกส่วนหนึ่งอาจทำการติดตั้งแอร์หรือพัดลมเพิ่มอีกตัวแทน

Tips: หากห้องกว้างมากๆ การมีแอร์ BTU สูงๆ นั้นจะไม่ช่วยเรื่องการทำความเย็นแต่อาจทำให้เปลืองไฟมากขึ้นจากการทำงานหนักของแอร์มากกว่า

3. ตำแหน่งติดแอร์ต้องไม่อยู่ใกล้กับหน้าต่าง

การติดตั้งแอร์อยู่ใกล้กับแหล่งความร้อนจะทำให้แอร์ทำงานหนักเกินความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นแอร์รุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจะทำให้เซนเซอร์ของแอร์ระบุว่า “ความเย็นไม่เพียงพอ” แม้ว่าอุณภูมิ ณ ขณะนั้นได้กระจายและมีความเย็นอย่างทั่วถึงก็ตาม ทำให้แอร์มีการทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นจึงควรเลี่ยงการวางแอร์ใกล้จุดที่มักมีความร้อนในชีวิตประจำวัน เช่น จุดที่แสงแดดส่องลงมาเป็นประจำ หรือใช้การปิดม่านและฟิลม์กันความร้อนเป็นตัวช่วยแทน

BIMobject-position-for-air-conditioner-01-scaled

4. ตำแหน่งติดแอร์ต้องไม่อยู่ที่หัวหรือปลายเตียง

เรื่องนี้จะส่งผลทางอ้อมต่อสุขภาพของผู้ใช้งานรวมถึงนิสัยการเปิดปิดแอร์ด้วย การที่แอร์จ่อลงมาบนตัวขณะนอนมีโอกาสที่ลมแอร์ทำให้เกิดความรู้สึกหนาวจนเกินไป กระตุ้นให้มีการเปิดๆ ปิดๆ แอร์บ่อยครั้งขึ้น รวมถึงยังส่งผลให้เกิดโอกาสเป็นหวัดหรือไม่สบายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

5. ตำแหน่งแอร์ไม่ควรอยู่บริเวณประตู

การติดตั้งแอร์ที่ดีไม่ควรจะอยู่ในตำแหน่งเหนือประตูหรือตรงข้ามประตู เนื่องจากเป็นจุดที่มีการเปิดปิดบ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นอีกทั้งลมแอร์ที่ถูกปล่อยออกมาอาจกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “แอร์ออก” หรือลมแอร์ไม่ได้กระจายอยู่ในห้องแต่ออกไปตามประตูหรือหน้าต่างนั่นเอง

หากคุณกำลังมองหาเครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานอยู่ล่ะก็ Eminent Wall-Mounted Type R32 เป็นตัวเลือกที่คุณพลาดไม่ได้ ด้วยสารทำความเย็น R32 ที่ทำให้อุณหภูมิคงที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม 30-50% เมื่อใช้งานร่วมกับการติดตั้งแอร์ที่เหมาะสม ค่าไฟของคุณจะไม่พุ่งสูงอย่างแน่นอน สามารถดูได้เลยที่นี่

เปิดแอร์ทั้งวันแบบไหนให้ค่าไฟไม่พุ่ง

1. อย่าเปิดๆ ปิดๆ แอร์

การเปิดแอร์ทั้งวันที่อุณหภูมิ 25 องศาอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้แอร์มีการทำงานอย่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง การที่เปิดปิดเปรียบเสมือนการกระตุ้นให้แอร์ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลาทุกครั้งที่เปิดจนกว่าห้องจะเย็น ทำให้มีโอกาสที่ค่าไฟจะพุ่งสูงมากขึ้น

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แอร์ส่วนใหญ่เริ่มเปลี่ยนเป็นระบบ Inverter ที่ช่วยรักษาความเย็นคงที่และมีตราประหยัดไฟเบอร์ 5 1 ดาวขึ้นไป การเลือกเปิดแอร์ตลอดการใช้งานก็เป็นตัวเลือกที่ประหยัดไฟมากกว่า

2. เปิดพัดลมไล่ลมร้อนออกก่อนเปิดแอร์

โดยเฉพาะสำหรับแอร์รุ่นเก่าที่การกระจายความเย็นยังทำได้ไม่ดีนัก การเปิดพัดลมเพื่อเป่าลมร้อนออกจากห้องให้ไวขึ้นจะช่วยให้แอร์สามารถสร้างความเย็นในห้องอย่างทั่วถึงได้รวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องทำงานหนักเป็นเวลานานๆ

3. ติดม่านหรือฟิลม์กันความร้อน

เรื่องนี้จำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่แดดแรงอย่างเมืองไทย หากบ้านไหนมีห้องที่มีกระจกหน้าต่างขนาดใหญ่ หรืออยู่ในแนวที่แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้ามาทุกวัน การเลือกติดฟิลม์ทึบเพื่อป้องกันความร้อน หรือติดม่านเพื่อกันแดดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ลดความร้อนภายในบ้าน ทำให้แอร์ไม่ทำงานหนักจนเกินไป ค่าไฟในแต่ละวันก็จะไม่พุ่งสูงเกินความจำเป็น

BIMobject-position-for-air-conditioner-02

4. ล้างแอร์ทุก 3-6 เดือน

การล้างแอร์มีหลายรูปแบบ สำหรับคนที่ทำความสะอาดแอร์เองนั้นก็จะคุ้นชินกับการถอดฟิลเตอร์ต่างๆ ออกมาล้าง ซึ่งนั่นเป็นการล้างเล็ก ที่ควรทำทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้ฝุ่นไม่เกาะคอยล์หนาจนเกินไปจนกลายเป็นเมือกภายใน และทำให้แอร์เย็นอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับการล้างใหญ่คือการถอดอุปกรณ์ภายในแอร์ลงมาเพื่อทำความสะอาด ในบางครั้งยังรวมถึงการล้างคอลย์ร้อนข้างนอกด้วยเพื่อให้การทำงานทั้งหมดของแอร์สมบูรณ์ที่สุด การรักษาแอร์ที่ดีควรล้างใหญ่ทุกๆ 6 เดือน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาระยะยาวกับแอร์ เช่น ท่อแอร์ตัน ลมแอร์กระจายไม่สม่ำเสมอจนถึงปัญหาเกี่ยวกับความชื้นและเชื้อโรคหมักหมมในแอร์

5. เลี่ยงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อนสูงภายในห้องเดียวกับแอร์

ข้อนี้สัมพันธ์กับในส่วนของการติดตั้งแอร์ในจุดที่ไกลจากความร้อน ที่นอกจากแสงแดดจากหน้าต่างจะทำให้เซนเซอร์แอร์จับความร้อนตลอดเวลาแล้วนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทตู้เย็น คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นเกมที่มีอุณภูมิสูงอาจต้องมีการวางในจุดที่อยู่ห่างจากแอร์พอสมควร เพื่อทำให้แอร์ทำงานคงที่ตลอดเวลาและลดค่าไฟของเราได้ในระยะยาว

5 ข้อที่กล่าวมาคือการเปิดแอร์อย่างเหมาะสมเพื่อทำให้ค่าไฟไม่พุ่งเกินความจำเป็น อย่างไรก็ตามปัจจัยหลักในการลดค่าไฟคือ “การมีแอร์ที่ดีมีคุณภาพเหมาะกับห้อง” อยู่นั่นเอง

เครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง (Wall type) ขนาดใหญ่พิเศษ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีจาก Eminent Air ทำให้มีการประหยัดพลังงาน (ระดับเบอร์ 5 1 ดาว) พร้อมกระจายความเย็นได้ทั่วพื้นที่ คงที่ และทั่วถึง มีทั้งขนาด 36,100 BTU และ 31,000 BTU สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

สรุป

การประหยัดไฟช่วง Work From Home ที่ดีสามารถเริ่มได้ตั้งแต่การวางแผนติดตั้งแอร์ในห้องทำงาน การติดตั้งให้ลมพัดผ่านในแนวยาว มีการเปิดในอุณภูมิที่เหมาะสมและใช้แอร์ดีมีคุณภาพจะช่วยประหยัดค่าไฟของคุณ ทำให้การทำงานที่บ้านเป็นไปได้อย่างราบรื่นอย่างแน่นอน

หากคุณไม่มั่นใจว่าแอร์ที่อยากใช้งานจะเข้ากับห้องหรือไม่ หรือควรติดตั้งในมุมไหนดี สามารถดาวน์โหลดโมเดล 3 มิติ เพื่อทดลองวางในมุมต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์BIMobjectเลย