รูปแบบการใช้ชีวิตทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเปิด – ปิดประตู เปิด – ปิดสวิตช์ไฟ หรือเปิด – ปิดล็อกบ้านในยามที่เราไม่อยู่ ล้วนดำเนินตามครรลองที่จะถูกควบคุมโดยมนุษย์มายาวนาน หากในพ.ศ.ปัจจุบันนี้ โลกได้เปลี่ยนไปเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีส่วนควบคุมระบบต่างๆ ในอาคารได้ แต่ที่มากกว่าการสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด เทคโนโลยีเหล่านี้กำลังพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มมีส่วนตัดสินใจให้ได้ด้วยว่าจะควบคุมระบบต่างๆ ในอาคารอย่างไร และเมื่อไหร่ เพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งการประหยัดพลังงาน และความปลอดภัย เราเรียกระบบควบคุมอาคารโดยไม่ใช้มนุษย์โดยรวมนี้ว่า “Smart Living”

แต่เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น Hafele ได้คุยกับคุณนภาวัลย์โสภาสรรค์ Portfolio Director ด้าน Workplace จาก Design Worldwide Partnership หรือ DWP บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและออกแบบภายในระดับสากล ผู้ที่ใกล้ชิดกับงานออกแบบเพื่อคนจำนวนมาก และได้มีการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะทั้งหลายมาใช้เสมอ ที่จะมาช่วยอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้นว่า Smart Living นั้นเป็นประโยชน์กับนักออกแบบในแง่ไหนบ้าง และใกล้ชิดกับผู้อยู่อาศัยมากเพียงใดในทุกวันนี้ โดยที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว

Smart Living คืออะไร

“ยุคสมัยเดิมของเราทุกอย่างจะเป็นแบบ Manual เช่น การเปิด – ปิดประตู เปิด – ปิดไฟ จะต้องกระทำโดยคนเท่านั้น ในแง่ของ Smart Living ก็จะเข้ามาช่วยดูแลและก็ตอบโจทย์ว่ามีอะไรที่ช่วยทำให้เราไม่ต้องควบคุมด้วยตัวเองไหม แล้วก็สามารถตั้งค่าต่างๆ ผ่านแอพลิเคชั่น เพื่อเสริมเรื่องความปลอดภัย รวมถึงเรื่องประหยัดพลังงาน คล้ายๆ ว่าเรามีหุ่นยนต์หรือ AI ที่ช่วยตรวจตราการใช้ชีวิตของเรา แล้วก็ช่วยทำให้การใช้ชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันง่ายขึ้น

“เช่น ในบ้านเราอาจจะมีห้องนอนสองห้อง แล้วลืมปิดไฟห้องหนึ่ง Smart Living จะทำให้เราสามารถเช็คได้ว่ามีจุดไหนในบ้านลืมปิดไฟไหม หรือเราสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดไฟไว้ก็ได้ ซึ่งตรงนี้ก็จะช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าไฟของเรา และเป็นผลดีต่อการประหยัดทรัพยากรของโลกด้วย”

Smart Living กับการออกแบบอาคารสาธารณะ

“สมมุติเราทำอาคารสำนักงาน ด้านล่างจะเป็นส่วนอนุญาตให้คนขึ้นไปเฉพาะชั้น ปกติก็อาจจะเป็นระบบคีย์การ์ดแตะบัตรพนักงานแล้วเข้าได้ จนปัจจุบันก็พัฒนามาเป็น QR Code ที่ให้ความสะดวกมากขึ้น หรืออีกแบบหนึ่งที่ตอนนี้คิดว่ากำลังมาในตลาดก็คือระบบ Face Recognition ขนาดใหญ่ คือจะมีเครื่องสแกนหน้า เวลาคนเดินผ่านปุ้บถ้าเป็นพนักงานก็จะสามารถเดินเข้าไปได้เลยโดยไม่ต้องจับหรือแตะอะไรเลย ไปจนถึงจำได้ทันทีว่าเราอยู่ชั้นไหนแล้วเราได้รับอนุญาตไปชั้นไหนบ้าง

“นอกจากนั้น ในแต่ละชั้นก็จะมีระบบสนับสนุน ที่ปัจจุบันมี Smart Lighting หมายความว่าถ้าไม่ใช่วันธรรมดา เป็นช่วงเวลานอกการทำงาน เมื่อมีคนเข้ามาทำงานเราไม่จำเป็นต้องเปิดไฟทั้งชั้น แล้วก็อย่างห้องเก็บของหรือห้องที่ไม่มีคนใช้ตลอดเวลา ตรงนี้เราก็สามารถใช้ Motion Censor ได้ว่าเมื่อไม่มีใครอยู่ในนั้นไฟก็จะดับอัตโนมัติ ซึ่งก็รวมไปถึงม่านอัตโนมัติต่างๆ เช่นม่านไฟฟ้าที่อาจมีเซ็นเซอร์ว่าช่วงนี้แดดแรงเกินเท่าไหร่ ม่านจะตกลงมาโดยอัตโนมัติ รวมถึง ถ้าความสว่างภายนอกอาคารลดลง ระบบแสงสว่างภายในก็จะเพิ่มความสว่างโดยอัตโนมัติด้วย”

Smart Living ในบ้านพักอาศัย

“เริ่มต้นเลยตั้งแต่เราจะออกจากบ้าน หรือเรากลับบ้านจากที่ทำงาน ก็มีอุปกรณ์หลายอย่างรองรับ เช่น สามารถใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ว่าเรากำลังจะถึงแล้วให้ประตูบ้านเปิดไว้เลย หรือว่าตั้งเปิด-ปิดแอร์ในบ้านโดยตั้งจากทางไกลก็ได้ พอเข้าไปถึงข้างในบ้านก็จะมีโปรแกรมในส่วนของการให้สุนทรียะ เช่นเพลง หรือเรื่องสีของไฟ ก็มีการนำเข้ามาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ

“รวมไปถึงในแง่ผู้สูงอายุ ในฐานะที่ประเทศเราก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การออกแบบเพื่อผู้สูงอายุความก็มักจะเน้นที่เรื่องความปลอดภัย ตั้งแต่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หรือช่วยให้เมื่อเกิดเหตุแล้วคนอื่นสามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะมีตั้งแต่อุปกรณ์มอนิเตอร์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์สวมใส่ เช่นถ้าติดไว้กับตัวแล้วเกิดการเปลี่ยนตำแหน่งกะทันหันก็จะมีการแจ้งเตือนไปที่หมายเลขติดต่อฉุกเฉิน ว่ามีการล้มนะ ก็จะรับรู้และแก้ปัญหาได้ในทันที

“หรือระบบไฟที่ติดอัตโนมัติในตอนกลางคืน พอผู้สูงอายุเท้าแตะไปที่พื้นปุ๊บ Motion Censor จับได้ปั้บ ไฟที่พื้นก็จะเปิดโดยอัตโนมัติ ซึ่งมากกว่านั้นความสว่างก็ต้องมีการควบคุมด้วยเพราะว่าสายตาของผู้สูงอายุจะไม่เหมือนตาของคนวัยทำงานทั่วไป เพราฉะนั้นจริงๆ แล้วดีไซเนอร์จึงควรจะศึกษาความรู้ใหม่เพิ่มเติมเสมอ เพื่อให้รู้ว่ามีอะไรบ้างที่เราจะทำงานให้ลูกค้าได้ดีขึ้น รวมถึงผู้ผลิตเองก็สามารถช่วยให้ความรู้ รวมถึงแนะนำให้สังคมรู้ว่าตอนนี้มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าทำงานประสานกันแล้วก็น่าจะได้วิธีการที่ดีเพื่อตอบโจทย์ให้กับทุกคนค่ะ”

ดังที่ Hafele เล็งเห็นความจำเป็นในการผสานเทคโนโลยีเข้ามาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ด้วยความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย และด้านการประหยัดพลังงาน Hafele จึงได้นำเสนออุปกรณ์ที่จะช่วยเสริมการออกแบบในวิถีชีวิตแบบ Smart Living มากมายหลายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านลดการสัมผัส เช่น อุปกรณ์ดิจิตอลล็อกที่ใช้ระบบบลูทูธผ่านโทรศัพท์มือถือได้ หลอดไฟ LED ระบบ Motion Censor เปิด-ปิดตามการเคลื่อนไหวของคนในห้อง รวมถึงประตูบานเลื่อนสำหรับอาคารสาธารณะ ทั้งหมดเพื่อลดการจับสัมผัสลง

นวัตกรรมด้านสุขอนามัย ที่นอกจากจะลดการสัมผัสเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรค ยังช่วยในเรื่องการประหยัดทรัพยากร อย่างก๊อกน้ำและสุขภัณฑ์อัจฉริยะของ Hafele ที่มีให้เลือกมากมายหลายแบบ

และนวัตกรรมด้านเชื่อมต่อสิ่งอำนวยความสำดวกกับเทคโนโลยี เพื่อความสะดวกสบายและสุนทรียะในการใช้ชีวิต อย่างตู้เย็นผสานโต๊ะกลางที่เป็นได้ทั้งที่ชาร์ตโทรศัพท์มือถือ และเครื่องควบคุมเพลงได้ รวมถึงกระจกอัจฉริยะในห้องน้ำ ที่มาพร้อมระบบไฟ LED ปรับได้ ยังเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเพื่อเปิดเพลงสร้างบรรยากาศได้ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของนวัตกรรมและอุปกรณ์อัจฉริยะใช้ในบ้าน Hafele ยังมีอุปกรณ์ที่ช่วยส่งเสริมการออกแบบและวิถีชีวิตแบบ Smart Living อีกหลายประเภท ที่จะช่วยให้วิถีชีวิตแสนสบาย ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เกิดขึ้นได้จริง

ท่านสามารถติดตามเเละดาวน์โหลดสินค้า Smart Living จาก Hafele ได้ที่ https://bit.ly/3jQtEry

ที่มา:

www.riluxa.com/en_GB/blog/how-robotics-and-automation-are-changing-interior-design?___store=en_GB