เพื่อนๆรู้มั้ยครับ ภาวะโลกร้อนปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์ที่กู่ไม่กลับอีกต่อไปแล้ว…จากสถิดิเดิมช่วงปี 1880 – 1980 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นทำสถิติใหม่ มีความถี่เฉลี่ยอยู่ที่ 13 ปีจนกระทั่งช่วงปี 1981 – 2016 สถิติถูกลดลงมาอยู่ที่ 3 ปีและตั้งแต่ช่วงปี 2017 จนถึงปัจจุบัน ความถี่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นลดลงมาเหลือเพียง 1 ปี พูดง่ายๆก็คือโลกเราร้อนขึ้นทุกวันนับตั้งแต่นี้ไป สังเกตได้อย่างชัดๆเลยว่าหน้าหนาวบ้านเราสั้นลงทุกปี สภาพอากาศวิปริตแปรปรวนเป็นอย่างมาก ดังนั้นนอกจากจะต้องช่วยกันลดการใช้พลังงาน หรือหันมาสนับสนุนพลังงานสะอาด งดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอาคารที่เราอยู่อาศัยนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้พลังงานมหาศาล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องคำนึงตั้งแต่ ขั้นตอนการออกแบบอาคารให้อนุรักษ์พลังงาน และมีความสามารถในการป้องกันความร้อนจากภายนอก นอกจากผู้อยู่อาศัยจะอยู่สบายแล้วยังช่วยลดการเปิดแอร์ ลดการใช้พลังงาน ส่งผลดีกลับมาต่อโลกเราด้วยการช่วยลดต้นเหตุของภาวะเรือนกระจกนั่นเอง

สถาปนิกหรือใครที่กำลังวางแผนจะสร้างบ้านก็อย่าลืมคำนึงถึงดีเทลที่ช่วยรับมือกับสภาพอากาศให้บ้านอยู่สบายคลายความกังวลจากสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้นๆทุกปี วันนี้ผมเลยนำปัจจัยที่สามารถลดความร้อนภายในอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพมาฝากทุกๆคนกันครับ เริ่มตั้งแต่การวางผังการออกแบบไปจนถึงการเลือกวัสดุเลยครับเพราะการหวังพึ่งเครื่องปรับอากาศเพียงอย่างเดียวมันไม่พอแล้วแถมยังเป็นการย้อนกลับมาทำร้ายโลกให้ร้อนยิ่งขึ้นไปอีกด้วยครับ

1. ทิศทางแสงแดด

การออกแบบอาคารให้ตำแหน่งห้องและการใช้งานสอดคล้องสัมพันธ์กับทิศแดดก็สามารถช่วยเรื่องกันความร้อนแก่บ้านได้อย่างดี

  • ทิศตะวันออกเป็นทิศที่รับแดดช่วงเช้าตลอดทั้งปี จะร้อนในช่วงสายและเย็นลงช่วงเย็น หากเป็นคนที่ไลฟ์สไตล์เข้าทำงานตั้งแต่เช้าควรจัดห้องนอนไว้ที่ทิศตะวันออกมากที่สุด
  • ทิศตะวันตกจะได้รับแดดช่วงบ่ายตลอดปี ดังนั้นควรใช้เป็นห้องที่ใช้งานในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ห้องน้ำห้องครัว ห้องเก็บของหรือที่จอดรถ
  • ทิศใต้เป็นทิศที่รับแดดเกือบตลอดทั้งวันและจะร้อนมากในตอนกลางวันและช่วงบ่าย ควรใช้เป็นห้องนอนและมีระเบียงเพื่อรับแสงแดดแทนผนังห้องโดยตรง
  • ทิศเหนือจะได้ร่มเงาและเย็นเกือบตลอดปี ห้องไหนที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น ห้องพักผ่อน ห้องนอน ห้องรับประทานอาหารและห้องรับแขก เหมาะสำหรับที่จะอยู่ทิศนี้

สรุปง่ายๆก็คือการวางด้านแคบของบ้านหันหน้าเข้าทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก็จะช่วยจำกัดพื้นที่ ที่จะรับความร้อนสู่ภายในอาคารได้ ในขณะเดียวกันด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกควรมีช่องเปิดน้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นควรออกแบบบ้านให้โปร่ง โล่ง กั้นภายในอาคารแต่น้อย ทรงหลังคาสูง ลาดเอียง สามารถช่วยกันแดดและกันฝนได้ดียิ่งขึ้น

2. ทิศทางลม

ในหน้าร้อนลมพัดมาจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนหน้าหนาวลมจะพัดจากทางทิศเหนือและทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเราสามารถลดอุณหภูมิในบ้านได้ด้วยการเจาะช่องเปิดตามทิศทางลม ให้เกิดการไหลเวียนของลมและอากาศในบ้าน ทั้งนี้ควรเจาะช่องเปิดให้ลมออกด้วย การตัดแต่งกิ่งไม้ใบไม้ที่บังทิศทางลมก็สำคัญเช่นกัน นอกจากนั้นยังสามารถตัดแต่งต้นไม้เป็นแนวรั้วหรือเป็นแผงต้นไม้เพื่อเปลี่ยนทิศทางลมได้อีกด้วย

 

3. ระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ

การมีช่องเปิดที่บ้านชั้นล่างและหลังคาจะช่วยสร้างการระบายอากาศตามธรรมชาติเพราะเมื่อภายในบ้านมีอุณหภูมิสูงมวลอากาศร้อนจะลอยขึ้นสูงออกทางปล่องระบายอากาศบนหลังคา ส่วนอากาศเย็นก็จะไหลเข้ามาในบริเวณหน้าต่างชั้นล่างแทนมากไปกว่านั้นหากมีพื้นที่ว่างอยู่ทิศเหนือและทิศใต้ สามารถออกแบบให้พื้นที่ว่างด้านใดด้านหนึ่งอยู่ใต้ร่มเงาเพื่อบรรจุความเย็นของอากาศไว้ให้มากที่สุด ส่วนอีกด้านก็ปล่อยให้ถูกแสงแดดมากที่สุดเพื่อสร้างความแตกต่างของอุณหภูมิอากาศเมื่อพื้นรับความร้อนอย่างเต็มที่ อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นจากนั้นก็จะดึงอากาศเย็นให้ไหลผ่านเข้าไปในตัวบ้าน

4. พื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำ

การปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับความร้อน เป็นร่มเงาให้บ้านและผู้อยู่อาศัยในตอนกลางวัน อีกทั้งยังช่วยสร้างออกซิเจนออกสู่บรรยากาศอีกด้วย ส่วนลานบ้านที่อยู่ในทิศทางลมควรเป็นลานดิน สนามหญ้าหรือปลูกต้นไม้แทนเพราะลานคอนกรีตจะดูดซับความร้อนและจะกลายเป็นแหล่งผลิตความร้อนเข้ามาภายในบ้านนั่นเอง การสร้างแหล่งน้ำไว้รอบอาคาร อาทิเช่น บ่อน้ำ สระน้ำ ก็สามารถช่วยคลายร้อนได้เพราะเมื่อลมพัดผ่านน้ำจะพาความเย็นจากน้ำเข้ามาสู่ตัวอาคาร

5. การออกแบบและเลือกวัสดุอาคาร

ข้อนี้สำคัญที่สุดกับสามจุดที่เป็นตัวแปรสำคัญในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ภายในอาคารครับผม

หลังคา

ควรใช้วัสดุมุงหลังคาที่ไม่เป็นตัวนำความร้อน อาทิเช่น กระเบื้องคอนกรีต กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ กระเบื้องดินเผา นำมาทาสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนหรือเลือกใช้กระเบื้องสำเร็จรูปรุ่นพิเศษที่ช่วยสะท้อนความร้อนได้ในตัวจะช่วยลดการดูดซับแสงส่วนบริเวณใต้หลังคาควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยอาจใช้แผ่นโฟมฉนวนกันความร้อน อลูมิเนียม ฟอยล์ ฉนวนใยแก้ว และ ไม้อัด เป็นต้น หรือถ้าต้องการฉนวนจากธรรมชาติก็สามารถประยุกต์โดยการปลูกเถาไม้เลื้อยปก คลุมผนัง หลังคา หรือทำเป็นระแนงได้เช่นกัน ซึ่งนอกจากจะป้องกันแสงแดดแล้วยังป้องกันฝุ่นและเก็บเสียงอีกด้วย

หน้าต่าง

ใช้กระจกที่มีคุณสมบัติตัดแสง ไม่ดูดซึมความร้อน กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง หรือกระจกสองชั้นก็สามารถกันความร้อนได้หรือวิธีการที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีกว่ากระจกตัดแสงหรือม่าน มู่ลี่ในอาคาร ก็คือการใช้แผงบังแดดนอกอาคารและผนัง 2 ชั้น (Double Facade)

ผนัง-สีทาอาคาร

ควรเลือกสีตามหลักการสะท้อนของสี การใช้สีที่อ่อนก็ย่อมให้ค่าการสะท้อนแสงมากกว่าสีที่เข้ม ในขณะที่สีเข้มนั้นจะให้ค่าการสะท้อนแสงที่น้อยกว่าสีอ่อนนั่นก็คือสีเข้มนั้นจะดูดซับแสงจากภายนอกเข้ามามากกว่าสีอ่อน เหมือนกับเวลาเราใส่เสื้อผ้าสีเข้มออกไปนอกบ้านจะรู้สึกร้อนมากกว่าใส่เสื้อสีขาวนั่นเป็นเพราะสีดำของเสื้อจะดูดซับแสงจากดวงอาทิตย์ไว้จึงทำให้เรารู้สึกร้อนนั้นเอง

โดยจุดสำคัญที่มีผลกับอุณหภูมิภายในห้องไม่ใช่โทนสี แต่เป็นระดับความอ่อนเข้มของสีนั้นๆ สีโทนเข้มสามารถดูดซับความร้อนได้มากกว่าสีโทนอ่อนพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือบ้านที่ทาสีเข้มจะสะสมความร้อนได้ดีกว่าบ้านที่ทาด้วยสีอ่อนหรือหากจะเปรียบเทียบความเข้าใจผิดเรื่องโทนสีให้เห็นภาพชัดๆอย่าง สีน้ำเงินเป็นสีโทนเย็น มีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนได้มากกว่าสีชมพูซึ่งเป็นสีโทนร้อน บ้านที่ทาสีด้วยสีน้ำเงินแม้จะเป็นกลุ่มสีโทนเย็นแต่อุณหภูมิภายในบ้านกลับร้อนกว่าบ้านที่ทาด้วยสีชมพูที่เป็นสีโทนร้อน

เพราะว่าความเข้มของสีมีผลต่อคุณสมบัติการดูดซับความร้อน เช่น ถ้าเราไปยืนในที่ที่มีแสงแดดจ้าหากเรามองไปยังวัตถุสีเข้มจะไม่รู้สึกแสบตามากนัก แต่หากมองไปยังวัตถุใดๆในโทนสีอ่อน ยิ่งอ่อนไปถึงจุดสีขาวจะยิ่งแสบตามากขึ้น นั่นเป็นเพราะสีอ่อนมีคุณสมบัติสะท้อนแสงออก การสะท้อนแบบนั้นก็เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันความร้อนนั่นเองเพราะฉะนั้นหากคุณต้องการให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็น การเลือกสีโทนอ่อนจึงเย็นกว่าสีโทนเข้มอย่างแน่นอนและสีที่สามารถสะท้อนความร้อนได้ดีที่สุดคือสีขาว

ก็คงจะน่าเบื่อไม่น้อยเลยใช่มั้ยครับ ถ้าตัวเลือกในการทาสีบ้านมีเพียงแค่สีอ่อน ทาง Nippon Paint เค้าจึงได้คิดค้นนวัตกรรมสีทาบ้าน “Nippon Paint Weatherbond” สีทาบ้านคุณภาพสูงที่มาพร้อมกับ NIPPON CROSS-LINK เทคโนโลยีสี ครบ จบ ทน จากประเทศญี่ปุ่น เสริมสร้างความแข็งแกร่งของฟิล์มสีผนังบ้านภายนอก ทนทานทุกสภาวะอากาศให้สียึดเกาะกับตัวบ้านได้อย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี Solar Reflect ที่จะช่วยสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 94% สามารถลดอุณหภูมิพื้นผิวได้ถึง 12 องศาเซลเซียส ต่อไปนี้จะเข้มจะอ่อนก็เลือกได้สบายหมดปัญหาเรื่องโทนสี ถูกใจสถาปนิกเค้าเลยล่ะครับ สวย คุณภาพดี แถมยังกันความร้อนได้สุดยอดอีกด้วยเหมาะกับสถานการณ์ภาวะโลกร้อนในบ้านเราเป็นอย่างมากครับ

สามารถดูคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่
https://weatherbond.nipponpaintdecor.com/