ไหน ๆตอนนี้ประเทศไทยก็เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว วินาทีนี้ที่บ้านใครไม่มีเครื่องปรับอากาศดีๆซักตัวก็คงจะอยู่ยากกันแล้วใช่ไหมครับ วันนี้เลยนำเคล็ด (ไม่) ลับดีๆ ในการเลือกเครื่องปรับอากาศให้คุ้มค่า และเหมาะสมกับพื้นที่ มาฝากผู้อ่านกันครับ

เลือกประเภทเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับสถานที่และการใช้งาน

เครื่องปรับอากาศติดผนัง มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย มีรูปลักษณ์การดีไซน์ที่ทันสมัย และมีขนาดกะทัดรัด อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย โดยเครื่องปรับอากาศชนิดนี้เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็ก สามารถติดตั้งตามบ้านหรือคอนโดทั่วไป

เครื่องปรับอากาศฝังในฝ้า ติดฝังภายในบริเวณฝ้าเพดาน ทั้งส่วนของตัวเครื่องแอร์ ท่อน้ำทิ้ง และท่อน้ำยา ซึ่งเหมาะสำหรับการออกแบบที่เน้นในเรื่องความสวยงาม จะไม่มีมวลเครื่องปรับอากาศมารกสายตา แต่มักจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเครื่องปรับอากาศประเภทอื่นๆ

เครื่องปรับอากาศแขวนใต้ฝ้า สามารถกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง มีอายุการใช้งานนาน เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง และมีใช้งานเยอะ เช่น ร้านค้า หรือ อาคารสำนักงาน

เครื่องปรับอากาศตั้งพื้น สามารถกระจายความเย็นได้สูง มีอายุการใช้งานนานกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่และมีผู้ใช้งานหนาแน่น ข้อเสียคือเปลืองพลังงานกว่าเครื่องปรับอากาศชนิดอื่น

เลือกขนาดเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมต่อขนาดพื้นที่

หัวใจในการเลือกเครื่องปรับอากาศให้ใช้งานได้ยาวนาน และไม่เปลืองพลังงาน คือการเลือกขนาดและความสามารถในการทำความเย็น หรือที่เรียกกันว่า BTU ให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ จะไม่ทำให้เกิดปัญหาแอร์เย็นไม่ทั่วถึง หรือ เครื่องทำงานหนักนั่นเอง

  • พื้นที่ขนาด 9-12 ตารางเมตร ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 9,000 BTU
  • พื้นที่ขนาด 12-16 ตารางเมตร ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 12,000 BTU
  • พื้นที่ขนาด 16-24 ตารางเมตร ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 18,000 BTU
  • พื้นที่ขนาด 24-32 ตารางเมตร ควรใช้เครื่องปรับอากาศ 24,000 BTU

เลือกเครื่องปรับอากาศแบบประหยัดพลังงาน

เลือกเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 และล่าสุดในปี 2019 ได้มีการเพิ่มระดับดาวเข้ามาในฉลาก ดาวยิ่งเยอะยิ่งประหยัดพลังงาน หรืออาจจะพิจารณาจากค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) หรือที่เรียกว่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลที่ปรากฎบนฉลากเบอร์ 5 ยิ่งค่าสูงยิ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานนั่นเอง

คุณสมบัติหรือฟังก์ชันพิเศษของเครื่องปรับอากาศ

นอกจากฉลากประหยัดไฟที่เราต้องคำนึงถึงแล้ว เครื่องปรับอากาศ บางแบรนด์ในปัจจุบันยังมีระบบช่วยประหยัดพลังงานที่เรียกว่าอินเวอร์เตอร์ (Inverter)

ระบบอินเวอร์เตอร์ คือระบบควบคุมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่จะแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ซึ่งการทำงานของเครื่องปรับอากาศอินเวอเตอร์จะแตกต่างจากเครื่องปรับอากาศทั่วไปตรงที่ อินเวอร์เตอร์เมื่อเริ่มเปิดเครื่องอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงถึงระดับที่ตั้งไว้ หลังจากนั้นคอมเพรสเซอร์จะปรับรอบการทำงานลงเพื่อคงอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ตลอดเวลา

ในขณะที่เครื่องปรับอากาศธรรมดา เมื่อเริ่มเปิดเครื่องอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ประมาณ 1-2 องศา หลังจากนั้นคอมเพรสเซอร์จะตัดการทำงาน จากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆสูงขึ้น เกินระดับที่ตั้งไว้ 1-2 องศา คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มกลับมาทำงานอีกครั้ง ทำให้อุณหภูมิภายในห้องอาจจะเย็นเกินไปสลับกับร้อนเกินไปอยู่ตลอดเวลา อาจจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกไม่สบายตัว นอนหลับๆ ตื่นๆได้

เครื่องปรับอากาศอินเวอร์เตอร์ที่ดีจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

  • แผงวรจร ที่ควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์และมอเตอร์โดยการปรับเปลี่ยนความถี่ในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้พลังงาน
  • คอมเพรสเซอร์กระแสตรง ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบในการทำงานของเครื่องปรับอากาศให้สัมพันธ์กับอุณหภูมิของห้อง
  • วาล์วอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Expansion Valve (EEV) คอยควบคุมอัตราการไหลและการจ่ายสารทำความเย็นให้วงจรสารทำความเย็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมที่สุด
  • มอเตอร์กระแสตรง ที่มีความแม่นยำในการควบคุมความเร็วและเปลี่ยนแปลงความเร็วรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากระบบอินเวอร์เตอร์แล้ว แต่ละแบรนด์ก็จะมีการคิดค้นและนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ และฟังก์ชันใหม่ๆของเครื่องปรับอากาศ ที่ตอบรับกับการใช้งานของคนในปัจจุบันโดยเฉพาะ MITSUBISHI ที่ทางแบรนด์ได้ออกผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมกับดีไซน์และเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เรียกว่า ECO EYE INVERTER เพิ่มในส่วนของเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในห้อง ที่เมื่อตรวจพบว่าไม่มีการเคลื่อนไหวของบุคคลในห้องภายในระยะเวลา 20 นาที เครื่องปรับอากาศจะปรับเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน และถ้ายังตรวจพบว่าไม่มีการเคลื่อนไหวภายในระยะเวลา 40 นาทีต่อมา เครื่องปรับอากาศจะปิดอัตโนมัติ เมื่อผู้ใช้งานกลับเข้ามาในห้องเครื่องปรับอากาศก็จะเปิดใช้งานอัตโนมัติ เพื่อลดการใช้พลังงานเกินความจำเป็น ในกรณีที่ผู้ใช้งานไม่อยู่ในห้องเป็นระยะเวลานานๆ เหมาะกับการติดตั้งในอาคารสำนักงานที่มีผู้ใช้งานเครื่องปรับอากาศหลากหลาย และไม่สะดวกมาเปิด-ปิด หลายๆครั้ง

MITSUBISHI ELECTRIC ยังได้เพิ่มฟังก์ชัน Fast Cooling ที่ทำความเย็นได้เร็วขึ้นทันใจ ด้วยโหมวดการสั่งการปรับรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ช่วยปรับอุณหภูมิให้ลดลงได้ในเวลาอันรวดเร็วและกลับสู่โหมดทำความเย็นปกติโดยอัตโนมัติเมื่อผ่านไป 15นาที ชิ้นส่วนภายในได้ออกแบบให้เป็น Dual Barrier Coating ที่ช่วยลดภาระการล้างเครื่องปรับอากาศ เคลือบสารพิเศษลงบนชิ้นส่วนภายในเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการเกาะติดของฝุ่นและละอองน้ำมันให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และหากใครยังกังวลในเรื่องของฝุ่นควันพิษ PM2.5 ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกในปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศ ECO EYE INVERTER XT SERIES รุ่นใหม่ล่าสุดของทาง MITSUBISHI ELECTRIC ก็ยังเพิ่มตัวฟิลเตอร์กรองจับ Microparticle และสิ่งเจือปนอนุภาคขนาดเล็ก 2.5 ไมครอนในอากาศด้วยประจุไฟฟ้าได้มากถึง 99%  ให้ผู้ใช้งานได้รู้สึกถึงอากาศที่สะอาดสดชื่นแม้อยู่ภายในห้อง

มากไปกว่านั้น ยังคงเพิ่ม Sleep Mode ที่ช่วยลดอุณหภูมิเล็กน้อยระหว่างหลับและปรับเข้าสู่อุณหภูมิปกติหลังจากนั้น เพื่อความสบายตลอดการนอนหลับ พร้อมรับความสดชื่นในเช้าวันใหม่ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของฟังก์ชัน Auto Vane Control ที่สามารถกำหนดทิศทางลมได้ตามต้องการ, Quiet Mode ทำงานเสียงเงียบสุด 18 เดซิเบล , Error Code ที่ง่ายต่อการเช็คอาการเสีย และยังมีฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอีกมากมาย

ทำให้เครื่องปรับอากาศ MITSUBISHI ELECTRIC ECO EYE INVERTER XT SERIES กลายเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่สนใจที่สุดในปี2021นี้เลยทีเดียว ใครที่กำลังมองหาเครื่องปรับอากาศดีๆไปช่วยคลายความร้อนซักเครื่อง ผมมั่นใจเลยว่า MITSUBISHI ELECTRIC ECO EYE INVERTER XT SERIES เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ควรอยู่ในลิสต์อันดับต้นๆของผู้อ่านเลยหล่ะครับ ส่วนสถาปนิก มัณฑนากรคนไหนสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ของทาง MITSUBISHI ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติม และดาวน์โหลด 3D model ไปไว้ในผลงานของคุณได้ที่ BIMobject (Thailand) เลยครับผม