ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงมากมายในโลกยุคปัจจุบัน ผู้คนจำต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบชีวิตตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่  ทั้งการรักษาระยะ Social Distance ในชีวิตวิถีใหม่ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นที่ทำให้การใช้พื้นที่และการออกแบบเปลี่ยนไป ที่ผู้ออกแบบและผู้ใช้งานอาจไม่เคยคำนึงถึงมาก่อน

เทรนด์การออกแบบของพ.ศ.ปัจจุบัน ที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม ชีวิตที่ผสานกับเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล รวมถึงเรื่องสุขอนามัย BIMSpaces ร่วมกับ Hafele เเบรนด์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของงานดีไซน์ได้ รวบรวม  4 Macro Design Trend 2021 จากผู้วิเคราะห์หลากหลายแหล่งมาเพื่อให้สถาปนิกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้การทำงานออกแบบและการก่อสร้างโดยรวมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Playful Living Trend

นักวิเคราะห์เทรนด์หลายเจ้าต่างวิเคราะห์ร่วมกันว่า “บ้าน” จะเป็นพื้นที่ติดเทรนด์นับแต่ปี 2021 เมื่อเราพบว่าหลายกิจกรรมการใช้ชีวิตสามารถประสานรวมกันอยู่ได้ในพื้นที่เดียว แต่แม้ไม่จำเป็นต้องใช้นักวิเคราะห์เทรนด์ใดๆ เราก็บอกได้ว่า นับแต่เกิดเหตุการณ์ระบาดของโรค Covid-19 บ้านก็ได้กลายเป็นพื้นที่ที่ทุกกิจกรรมในชีวิตได้ถูกประสานรวม ทั้งการอยู่อาศัย และการทำงาน จนการใช้พื้นที่ต้องปรับไปสู่การเป็น “Hybrid” หรือการใช้ชีวิตวิถีใหม่ที่ไร้เส้นแบ่ง

นักวิเคราะห์เทรนด์จึงเห็นกันว่า การสร้างสรรค์พื้นที่ใช้ชีวิตในบ้านจึงต้องมีชีวิตชีวาขึ้น สนุกสนานขึ้น เพื่อสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้กับผู้อยู่อาศัยที่ไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน สไตล์จัดจ้านอย่าง “Maximalism” ที่มาพร้อมคติ “more is more” จึงกลับมามีบทบาท หรือการหวนไปเล่นกับ Pop Culture ที่มาพร้อมกับกราฟฟิกดีไซน์ในรูปแบบต่างๆ จึงจะมีบทบาทในอินทีเรียดีไซน์มากขึ้น รวมไปถึงวัฒนธรรมการ D.I.Y ที่มีการกระจายข้อมูลแบบ Open Source ช่วยส่งเสริมการประดิดประดอยและความคิดสร้างสรรค์ ก็จะมีบทบาทมากขึ้นในพื้นที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

ตัวอย่างสินค้าที่ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบ Hybrid ทั้งในบ้านและในสำนักงานจาก Hafele ยกตัวอย่างเช่น ประตูบานเลื่อนที่ช่วยผสานกลืนพื้นที่ใช้งานต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือ Hafele Smart Table Fridge โต๊ะกลาง แช่เย็นอัจฉริยะ ความบันเทิงแบบใหม่ที่ช่วยสร้างความสุข ความสะดวกสบาย ที่รวมเฟอร์นิเจอร์ ตู้เย็น เครื่องเล่นเพลง และสายชาร์จยูเอสบี ในเครื่องเดียว   เพื่อส่งเสริมชีวิตที่มีชีวิตชีวาสำหรับการพบปะของคนทุกกลุ่ม หรือ นวัตกรรม XTRON ระบบรางจ่ายไฟที่ช่วยให้ชีวิตสะดวกในการจ่ายไฟให้กับทุกอุปกรณ์ และในภาพรวมยังช่วยจัดการพื้นที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างลงตัวอีกด้วย

Becoming Human Trend

นอกจากเส้นแบ่งด้านพื้นที่ใช้สอย เส้นแบ่งระหว่างโลกความจริงกับโลกดิจิทัลก็เริ่มพร่าเลือนขึ้นด้วยเช่นกัน เหมือนที่มีการยกให้สี A.I Aqua เป็น Color of the Year ของปี 2021 โดยนักวิเคราะห์เทรนด์ WGSN ด้วยการชี้ให้เห็นชีวิตวิถีใหม่ที่ผสมผสานอยู่ในโลกดิจิทัลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานออนไลน์ พักผ่อนบนโลกออนไลน์ รวมถึงเดทบนโลกออนไลน์ สี A.I Aqua ถูกยกย่องว่าเป็นสีที่แสดงการผสมกลืนของโลกทั้งสอง ที่นักวิเคราะห์เทรนด์กล่าวว่า เป็นสีที่มีคุณสมบัติความเป็น “Digitally Friendly”

นอกจากเรื่องสี ชีวิตของคนเราก็พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการอุปกรณ์ในบ้านผ่านสมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีตอบรับคำสั่งการด้วยเสียงอย่าง Google Home หรือ Alexa ของ Amazon เหล่านี้ล้วนทำให้สถาปนิกผู้ออกแบบต้องคิดถึงการออกแบบหรืองานระบบที่เปลี่ยนไป นอกจากนั้น ผู้คนยังนิยมซื้อหาเพื่อนคู่ใจเป็น “หุ่นยนต์” หรือ Robot Pet แทนสัตว์เลี้ยง ที่แน่นอนว่านอกจากมันจะสามารถช่วยดูแลบ้าน หุ่นยนต์เหล่านี้ก็กำลังจะกลายเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน ที่ครอบครองพื้นที่ทั้งในโลกจริงและโลกดิจิทัลของพื้นที่อยู่อาศัยนั้นๆ

โดยนอกจากนั้น เทคโนโลยีที่มีส่วนสำคัญในวิชาชีพออกแบบอย่าง BIM (Building Information Modeling) ที่เป็นเทคโนโลยีการจัดการข้อมูล และช่วยขึ้นภาพ 3 มิติที่มีข้อมูลครบถ้วนจากการแชร์ข้อมูลร่วมกันจากทุกฝ่าย ก็เป็นตัวอย่างของการผสานนวัตกรรมสมัยใหม่ในกระบวนการออกแบบก่อสร้าง ที่ช่วยเชื่อมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในกระบวนการก่อสร้างเพื่อให้งานออกแบบก่อสร้างนั้นๆ ทำได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

BIM Model จาก Hafele มีครบทุกประเภทสินค้าเปิดให้บริการเเล้วใน BIMobject Thailand

Designing Well-Being Trend

สุขอนามัยเป็นหัวข้อที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เมื่อทั้งโลกกำลังผ่านความท้าทายด้านโรคระบาดร่วมกันแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหลายสิบปี การออกแบบที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยนี้ มีทั้งการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านให้เป็นแบบ Touchless เพื่อลดการสัมผัส รวมถึงการออกแบบให้เป็น Universal Design เพื่อผู้ใช้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ วัย และสภาพร่างกาย

นอกจากนั้น นักวิเคราะห์เทรนด์ยังมีการกล่าวถึงเทรนด์การออกแบบประสาทสัมผัสที่ให้ความรู้สึกถึงคุณภาพชีวิตหรือ Well-Being ที่ดี อย่างการออกแบบให้รู้สึกถึงความ “นุ่มนวล” ที่ไม่เพียงแต่พูดถึงเรื่องพื้นผิวอย่างการใช้ผ้าหรือไม้ แต่ยังรวมไปถึงเรื่องแสง กลิ่น และเสียง สร้างความนุ่มนวลในทุกประสาทสัมผัส ซึ่งกล่าวได้ว่า คล้ายการดึงผู้อยู่อาศัยให้ใส่ใจต่อร่างกาย จิตใจ และสุขภาพของตัวเองมากขึ้น รวมไปถึงการการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับต้นไม้และธรรมชาติหรือ “Biophilia” ที่ก็อยู่ในเทรนด์ที่กำลังมาถึงเช่นเดียวกัน

ผลิตภัณฑ์ของ Hafele ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การคำนึงถึงสุขอนามัย และการออกแบบในเชิง Universal Design  เช่นผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ในห้องน้ำแบบ Touchless ที่นอกจากจะช่วยลดการสัมผัสเพื่อลดการกระจายเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้พื้นที่อยู่อาศัยภายในบ้านสวยงามน่าอยู่ขึ้นด้วย หรืออุปกรณ์ Fitting ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการหยิบจับอุปกรณ์ของทุกคนในบ้าน

 

The Future is Circular Trend

มีการพูดถึงการหมุนเวียนใช้วัสดุในอุตสาหกรรมงานออกแบบและการก่อสร้างหรือ “Circular Economy” มายาวนานพอสมควร เห็นได้จากความนิยมในการนำวัสดุเหลือใช้มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์หรือเฟอร์นิเจอร์ในหลายแบรนด์ แต่การหมุนเวียนวัสดุนี้จะกลายเป็นแนวทางในกระแสหลักมากขึ้น เช่นแคมเปญ Ultraboost DNA Loop ของแบรนด์รองเท้า Adidas ที่เป็นความพยายามผลิตรองเท้าใหม่จากวัสดุที่หมุนเวียนที่เก็บจากรองเท้าคู่เก่า

นอกจากนั้น เทรนด์การใช้วัสดุที่มาจากเส้นใยธรรมชาติจริงๆ เช่น กัญชง หรือพืชชนิดต่างๆ ในเทรนด์ “Biomaterials” ก็กำลังถูกพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยการเป็นวัสดุที่ “เติบโต” ทดแทนได้ และอาจลดขยะส่วนเกิดจากการผลิต ซึ่งย่อมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าวัสดุจากระบบอุตสาหกรรม เหล่านี้ล้วนอยู่ในเทรนด์ที่โลกทุกวันนี้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจาก Hafele ได้แก่ สินค้า Kaldewei Bathtub ผลิตจากวัสดุเหล็ก ทำให้สามารถหลอมเเละนำกลับมาใช้ใหม่ได้นอกจากมีดีไซน์ที่สวยงามเเล้วยังช่วยส่งเสริมเทรนด์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ของ Hafele ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์ต่างๆที่น่าสนใจ สามารถดาวน์โหลดสินค้าที่ตอบโจทย์กับดีไซน์เทรนด์ได้ที่

ติดตามเทรนด์ด้านงานออกแบบ และข่าวสารทั้งหมดจาก Hafele ได้ที่  www.hafelethailand.com

ที่มา:

2020- 2021 DESIGN TRENDS | Top macro trends to impact design now (italianbark.com)

10 Key Trends for 2021 & Beyond | WGSN – WGSN